กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนตำบล ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L8422-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลจวบ
วันที่อนุมัติ 10 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2560
งบประมาณ 110,620.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะยากี ดอแม
พี่เลี้ยงโครงการ นางปารีดพ แก้วกรด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.256,101.817place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 56 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นกลไกสำคัญต่อความสำเร็จของการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพราะคณะกรรมการเป็นบุคคลสำคัญในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนที่จะทำให้เกิดการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนและเรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาการดำเนินงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดีทั้งกายและจิต
ในปี 2559 กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลจวบ มีเงินคงเหลือสะสมจากปี 2557- 2559 จำนวน 1,043,214.31.- บาท เนื่องจากที่ผ่านมาทางกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลจวบถูกตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอก เช่น สำนักการตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดนราธิวาส อันส่งผลให้ผู้ขอรับทุนดำเนินงานโครงการด้านการสร้างเสริมสุขภาพขาดความมั่นใจในการทำโครงการเพื่อรับทุน นอกจากนี้ด้วยการเปลี่ยนแปลงของระเบียบว่าด้วยการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล ตามประกาศฉบับ ปี พ.ศ.2557 มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม ส่งผลต่อความรู้และความเข้าใจของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที ด้วยแนวโน้มและทิศทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ ที่ สปสช.เขต 12 สงขลากำหนดเพื่อการบริหารจัดการกองทุนฯ ที่มีประสิทธิภาพ เน้นในประเด็นให้ทุกกองทุนฯ จะต้องจัดทำแผนสุขภาพชุมชน เพื่อเป็นกรอบหรือทิศทางการจัดการระบบสุขภาพของชุมชน ผ่านกองทุนฯระยะ 3-5 ปี การกำหนดให้กองทุนฯ มีการจัดทำแผนงานสุขภาพและโครงการที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพระดับพื้นที่กองทุนสุขภาพตำบลจวบเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนตำบล ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ 2560 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพิจารณาอนุมัติแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน 2. เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่รายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ 3. เพื่อบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ 4. เพื่อกำกับดูแลให้หน่วยงาน หรือกลุ่มหรือองค์กรผู้ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด

1.กองทุนสุขภาพตำบลสามารถออกเงินสนับสนุนโครงการแก่ผู้รับทุน ภายใน เดือน ม.ค. จำนวนร้อยละ 60 และภายใน เดือน ก.ค.59 ร้อยละ 90 2.จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จมากกว่าร้อยละ80 3.จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพร้อยละ100 4.จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ (กลุ่ม/หน่วยงาน) เพิ่มขึ้น

56.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 53,241.00 0 0.00
26 ธ.ค. 59 ค่าตอบแทนในการประชุมกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลจวบ 0 12,600.00 -
30 ม.ค. 60 - 1 ก.พ. 60 ค่าใช้จ่ายในกสนเดินทางไปราชการของเจ้าหน้าที่กองทุน จำนวน 6 คน 0 17,661.00 -
21 - 27 มี.ค. 60 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ 0 7,880.00 -
21 ก.ย. 60 ค่าตอบแทนในการประชุม และค่าเลี้ยงรับรอง ในการประชุมกองทุนฯ 0 15,100.00 -

วิธีดำเนินการ 1.จัดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่กองทุน โดยการประชุมร่วมกับทีมพี่เลี้ยงกองทุน 2.จัดการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำแผนสุขภาพของกองทุน ร่วมกับทีมพี่เลี้ยงกองทุน กิจกรรมที่4 จัดซื้อวัสดุ และคุรุภัณฑ์ วิธีดำเนินการ 1.ประชุมปรึกษาคณะกรรมการการทุนในเวทีประชุมคณะกรรมการเพื่อขอความเห็นชอบจัดซื้อวัสดุ-ครุภัณฑ์ 2.จัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบพัสดุ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ได้รับการอนุมัติและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
  2. มีจำนวนโครงการเพิ่มขึ้น 3.การบริหารจัดการกองทุนมีประสิทธิภาพ 4.หน่วยงาน กลุ่มหรือองค์กรที่ได้รับอนุมัติงบประมาณมีความรู้และจัดทำแผนงาน โครงการทีคณะกรรมการกองทุนอนุมัติ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2562 12:05 น.