กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
ดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออก เข้มข้นในช่วงระบาด28 สิงหาคม 2562
28
สิงหาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคลองขุด
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.จัดหา วัสดุอุปกรณ์ แบบรายงาน ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน 2.ประสานงานกับชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง 3.ดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออก  เข้มข้นในช่วงระบาด การป้องกันโรคไข้เลือดออกช่วงระบาด พฤษภาคม – กันยายน
- รณรงค์ สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย โดยจิตอาสา, แกนนำชุมชน, อสม. ฯลฯ • นัดวันเวลา รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย • ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย และหอกระจายข่าวในชุมชน • ทุก ๗ วัน ทุกหลังคาเรือน ในพื้นที่พบผู้ป่วยซ้ำซาก โดย จิตอาสา และ อสม. • ทุกเดือน ทุกหลังคาเรือน ในพื้นที่ปกติ โดย จิตอาสา และ อสม. - พ่นสารเคมี ฆ่ายุงตัวแก่ในรัศมี ๑๐๐ เมตรจากบ้านผู้ป่วยให้มันเวลา ตามระยะเวลาการควบคุมโรค - ค้นหาผู้ป่วยสงสัยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ส่งต่อเพื่อรับการรักษา - สุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชน ฯ โดยเจ้าหน้าที่ และคณะทำงาน อสม. - ให้สุขศึกษา และคำแนะนำแก่ประชาชนในพื้นที่ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม. 4.การติดตามประเมินผล 4.1 ประเมินผลการดำเนินงาน ในแต่ละช่วงของการรณรงค์ โดยประเมินจากค่า HI,CI
- ควบคุมลูกน้ำ ในโรงเรียน ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย  CI = ๐ - ควบคุมลูกน้ำยุงลายในชุมชน  ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย  HI ไม่เกิน ๑๐ - ประเมินผลอัตราป่วยในแต่ละหมู่บ้าน - ประเมินผลการควบคุมโรคในพื้นที่     - ความทันเวลาในการควบคุมแหล่งแพร่โรค     - ความคลอบคลุมในการควบคุมแหล่งแพร่โรค     - ควบคุมโรคให้สงบภายใน ๒ Generation (ไม่เกิน ๒๘ วัน) นับจากวันเริ่มป่วยในรายแรก

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. อัตราป่วยด้วยโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะในเขตพื้นที่ลดลง ไม่เกิน ๕๐ ต่อแสน ประชากร (ตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข)
  2. โรงเรียน วัด มัสยิด และประชาชนในชุมชนมีความตระหนักถึงอันตรายของโรคที่เกิดจากยุงลายเป็น พาหะและร่วมดำเนินกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์
  3. โรงเรียน และชุมชนมีระบบเฝ้าระวังโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะอย่างต่อเนื่อง และ มีการดำเนินมาตรการในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ การป้องกัน และควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลลัพธ์
  4. ผู้ป่วยโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะในเขตพื้นที่ลดจำนวนลงและสามารถควบคุมการ ระบาดของโรคในพื้นที่ได้
    1. โรงเรียน วัด มัสยิด และประชาชนในชุมชนร่วมดำเนินกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
    2. โรงเรียน และชุมชนมีระบบเฝ้าระวังโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ นักเรียน และประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกัน และปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสมในการป้องกันและควบคุมโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ