กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุบ้านพรุหมาก-เกาะครก
รหัสโครงการ 62-L8287-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุหมู่ที่ 3 บ้านพรุหมาก-เกาะครก
วันที่อนุมัติ 29 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 กรกฎาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 20,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายหาหมัด บูเอียด
พี่เลี้ยงโครงการ นายกาดาฟี หะยีเด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9 ก.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 20,100.00
รวมงบประมาณ 20,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และมีการคาดการณ์ว่าในปี 2568 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนที่จะเกิดจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญคือความเจ็บป่วยและความบกพร่องในการทำงานของร่างกายในทุกๆด้าน รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับสภาพจิตใจ ซึ่งจะก่อให้เกิดรายจ่ายมหาศาลของประเทศ ดังนั้นเพื่อป้องกันและรับมือแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนในการป้องกันการเจ็บป่วย การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและการเตรียมความพร้อมของผู้สูงวัยเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีศักยภาพและมีสุขภาวะที่ดี การดูแลและการรองรับสังคมผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับสถานการณ์และทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ หากไม่มีการเตรียมการรองรับหรือการวางแผนที่ดี จะนำมาสู่การเกิดปัญหาหรือวิกฤติในการดูแลผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้น ผู้สูงอายุหลายคนมักรู้สึกเหนื่อยง่ายและเคลื่อนไหวช้าลง บางคนอาจรู้สึกอ่อนเพลียและทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันลำบากขึ้น บุคคลในครอบครัวอาจสังเกตว่าญาติผู้ใหญ่ของตนเกิดอาการของภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุหรือไม่จากอาการที่จะยกมากล่าวต่อไปนี้ หากเกิดอาการ 3 อย่างขึ้นไป อาจหมายถึงว่าผู้สูงอายุประสบภาวะดังกล่าวอยู่   - รูปร่างผอมลง โดยน้ำหนักตัวลดลงเองประมาณ 5 กิโลกรัมหรือมากกว่านั้น   - เกิดอาการอ่อนเพลีย มักยืนเองไม่ค่อยได้หรือไม่มีแรงถือของ   - รู้สึกเหนื่อยง่ายมาก โดยทำสิ่งต่าง ๆ ไม่ค่อยได้   - สมรรถภาพในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ถดถอย เช่น ออกกำลังกาย ทำงานบ้าน หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เคยชอบ แต่ทำไม่ได้เหมือนแต่ก่อน   - เดินช้าลง โดยใช้เวลาเดินในระยะทาง 5 เมตร มากกว่า 6-7 วินาที จะเห็นได้ว่าอาการของภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้การไปเที่ยว แต่งตัว ตื่นขึ้น ลุกจากเตียง หรือเข้าห้องน้ำลำบาก อีกทั้งอาจหกล้มได้ง่าย ภาวะนี้อาจเกิดจากการทำงานของร่างกายที่เปลี่ยนไป
ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ร่างกายมักเปลี่ยนแปลงและทำให้ภาวะดังกล่าวแย่ลงอย่างรวดเร็ว ผู้สูงอายุซึ่งมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคซึมเศร้า มักมีโอกาสติดเชื้อ รวมทั้งฟื้นตัวจากอาการป่วยหรือการได้รับบาดเจ็บต่าง ๆ ได้ยาก บุคคลในครอบครัวจึงควรดูแลญาติผู้ใหญ่ของตนให้ดีและถูกต้องตามหลักการดูแลผู้สูงอายุ สิ่งที่สำคัญที่เราควรตระหนักคือ เมื่อเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุแล้ว จะเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และรวดเร็ว ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทุกสิ่งมีความสัมพันธ์ต่อการรับรู้ของผู้สูงอายุอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านจิตใจ ด้วยการถูกมองว่า ด้อยคุณค่าและความสามารถ ผู้สูงอายุจึงอาจเกิดความเครียดขึ้นได้ ดังนั้นถ้ามีการเตรียมตัวก่อนย่างเข้าสู่วัยสูงอายุก็จะสามารถปรับตัวเข้าสู่ชีวิตในช่วงวัยนี้ได้ดี แต่ถ้าไม่มีการเตรียมตัวก็ปรับตัวได้ยาก อาจเกิดความรู้สึกว้าเหว่ เหงา มีอาการหลงลืม วิตกกังวล หรือเกิดอาการซึมเศร้าได้ ในบางครั้งสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ก็รุนแรงจนถึงทำให้ร่างกายอ่อนแอลง เกิดเป็นความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุในเวลาต่อมาได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกมีคุณค่าและมีส่วนร่วมนำกิจกรรมต่างๆในชุมชนเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนในการดำเนินงานกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ

การเข้าร่วมกิจกรรมของผู้สูงอายุในชมรมสัดส่วนร้อยละ ๘๐

80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้

มีการดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 6 ครั้ง

6.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ และสามารถดูแลตนเองได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

ร้อยละ 100 ของสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพพึงประสงค์ปีละ 1 ครั้ง

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 110 20,100.00 3 20,100.00
18 - 31 ก.ค. 62 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 50 14,100.00 14,100.00
1 - 31 ส.ค. 62 กิจกรรมจิตอาสาเยี่ยมบ้านเยี่ยมใจ 10 3,000.00 3,000.00
22 ส.ค. 62 กิจกรรมประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดี -ประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดี 50 3,000.00 3,000.00

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ - ให้ความรู้ในเรื่องการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ(โรคเรื้อรัง โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน สมองเสื่อม การออกกำลังกาย แพทย์แผนไทย) โดยทีมสหวิชาชีพ
- ให้ทันตสุขศึกษาตรวจสุขภาพช่องปากแก่ผู้สูงอายุโดยทันตภิบาลจากโรงพยาบาลเทพา
- ตรวจคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุประจำปี - การทำพิมเสนน้ำ โดยแพทย์แผนไทย
- การทำยางยืดในการออกกำลังกาย โดยนักกายภาพบำบัด กิจกรรมประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดี -ประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดี ค่าของรางวัลที่1 จำนวน 500 บาท ค่าของรางวัลที่ 2 จำนวน 400 บาท ค่าของรางวัลที่ 3จำนวน 300 บาท ค่าของรางวัลชมเชย 7 รางวัล จำนวน 700 บาท ค่าของรางวัลผู้เข้าร่วมแข่งขัน จำนวน 1,100 บาท กิจกรรมจิตอาสาเยี่ยมบ้านเยี่ยมใจ - เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ และผู้พิการติดบ้าน ติดเตียงและผู้ที่ด้อยโอกาส

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้สึกมีคุณค่าและมีส่วนร่วมนำกิจกรรมต่างๆในชุมชนเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนในการดำเนินงานกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ
  2. ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้
  3. ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีทุกคน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2562 15:24 น.