กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการห้องเรียนพันปี ตำบลนิคมพัฒนา ปี ๒๕๖๒
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลนิคมพัฒนา
วันที่อนุมัติ 5 กรกฎาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 64,240.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลนิคมพัฒนา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อาคารชมรมผู้สูงอายุตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล และพื้นที่ในชุมชนหมู่ที่ 1 - 9 ตำบลนิคมพัฒนา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (64,240.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หนึ่งในปัญหาสุขภาพหลักในกลุ่มคนวัยสูงอายุ คือปัญหาเรื่องการลงลืม ความจำเสื่อม หรืออาจรุนแรงมากจนเกิดภาวะอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม ซึ่งเกิดจากหลายๆ ปัจจัยบางเรื่องเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ อายุที่เพิ่มมากขึ้น การใช้ยาต่อเนื่องในกลุ่มที่มีปัญหาโรคเรื้อรังต่างๆ แต่บางปัจจัยสามารถชะอการเกิดภาวะปัญหาดังกล่าวได้ คือการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการกระตุ้นเซลล์สมองอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโดยไม่ทันเตรียมตัว เตรียมใจ จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุข ปี ๒๕๕๙ พบว่ามีผู้สูงอายุป่วยเป็นอัลไซเมอร์ กว่า ๖๐๐,๐๐๐ ราย ทั้งนี้ โรคอัลไซเมอร์ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การตรวจพบในระยะเริ่มต้นจะช่วยชะลอความเสื่อมของสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากผลการตรวจคัดกรองทดสอบสภาพสมองตามแบบทดสอบสภาพสมอง ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขในปี ๒๕๖๑ จากผู้สูงอายุตำบลนิคมพัฒนา ทั้งหมด จำนวน ๗๔๕ คน พบว่ามีการรู้คิดผิดปกติ จำนวน ๑๐๖ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๒๓ และได้ดำเนินการคัดกรองทดสอบภาวะสมองเสื่อมตามแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย MMSE-Thai ๒๐๐๒ พบว่ามีผู้สูงอายุที่ต้องส่งต่อเพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม จำนวน ๑๙ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๙๒ ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคสมองเสื่อมแล้ว จำนวน ๕ ราย ซึ่งการรักษามีแบบประคับประคองโรคทางกายและจิต การป้องกันโรคแทรกซ้อน การดูแลบำบัดด้านจิตใจและปัญหาพฤติกรรม ฟื้นฟูสุขภาพกายและจิต สร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เน้นคุณภาพชีวิต โดยให้ผู้ดูแลมีส่วนร่วม ปัจจุบันยังไม่มียาเฉพาะ มีเพียงการใช้ยาเพื่อเพิ่มระดับสารสื่อประสาทในสมองที่ช่วยเพิ่มความจำให้ดีขึ้น และลดปัญหาด้านพฤติกรรมที่เกิดจากตัวดรค สิ่งที่สำคัญคือการดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ การฝึกบริหารสมองเป็นประจำจะลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค จึงควรหากิจกรรมร่วมกัน วาดภาพ คิดเลข จะช่วยชะลอความเสื่อมของสมองได้ รวมถึงกิจกรรมการออกกำลังกายและนันทนาการเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาอารมณ์ให้มีความสุข สนุกสนาน เพลิดเพลิน คลายความเครียด ส่งผลต่อสุขภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ โดย สสส.แนะนำ "กีฬาวู๊ดบอล" ซึ่งเป็นกีฬายอดฮิตของผู้สวูงอายุ เนื่องจากเป็นกีฬาที่มีทักษะการเล่นง่ายเหมาะสมกับทุกวัย ทุกเพศ อีกทั้งยังเป็นการฝึกสมาธิให้มั่นคง มีสายตาดีในการคาดคะเนการตีลูกให้แม่นยำ และยังนำมาซึ่งความแข็งแรงของร่างกายอีกด้วย ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลนิคมพัฒนา เล็งเห็นถึงความสำคัญในการร่วมดูแลส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยสูงอายุเพื่อคงไว้ซึ่งสุขภาพกายและใจที่ดี ลดการเกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรง จึงได้จัดทำโครงการห้องเรียนพันปี ตำบลนิคมพัฒนา ปี ๒๕๖๒ ขึ้น เพื่อส่งเสริมการพํมนาคุภาพชีวิตและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ รวมทั้งสนับสนุนการทำกิจกรรมร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ และส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มของผู้อายุ 2.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้อย่างต่อเนื่องในการดูแลสุขภาพกายและจิตใจ 3.เพื่อส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มของผู้สูงอายุ

1.ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุ เข้าร่วมอบรมตามเกณฑ์กิจกรรมกลุ่มทั้งหมด 1 ครั้ง/สัปดาห์ 2. ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพกายและจิตใจได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ร้อยละ 90 (ก่อน-และหลังอบรม) 3. ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมอบรมมีคะแนนความพึงพอใจอยู่ในระดับดีขึ้นไป

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 30 64,240.00 1 64,240.00
30 ก.ค. 62 - 26 พ.ย. 62 ห้องเรียนพันปี ณ อาคารสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ นิคมพัฒนา 30 64,240.00 64,240.00

1.ประชุมชี้แจง เสนอแผนโครงการแก่คณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลนิคมพัฒนา และเสนอโครงการเพื่ออนุมัติ 2. จัดเตรียมเอกสารและวัสดุอุปกรณ์สำหรับกิจกรรมการเรียน 3. จัดกิจกรรมการเรียนรู้สัปดาห์ละ 1 วันๆละ 6 ชั่วโมง(ทุกวันอังคารของเดือน) โดยพัฒนาปรับใช้หลักสูตรโปรแกรม 16 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาความสุข 5 มิติ ในผู้สูงอายุของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขและกิจกรรมกีฬาวู๊ดบอลสำหรับผู้สูงอายุมาปรับใช้ 4. ประเมินผลการเรียนรู้ทุก 2 สัปดาห์ จำนวน 5 ครั้ง ตลอดโปรแกรมการเรียนรู้ 5. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีรูปแบบการดูแลส่งเสริมสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุที่สามารถเตรยมรับสถานการณ์ผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นไป 2.ลดอัตราการเกิดปัญหาด้านสุขภาพกายและจิตใจในกลุ่มผู้สุงอายุ 3.ผู้สูงอายุเกิดการรวมกลุ่มในการจัดกิจกรรม เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นและชุมชน 4.ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดและชะลอการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดตามวัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2562 14:22 น.