กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ "สี่ประสานเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย" ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L3018-1-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล
วันที่อนุมัติ 11 กรกฎาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 153,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแลร่วมกับเทศบาลตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.864,101.207place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 495 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 115 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณะสุขที่สำคัญในกลุ่มประเทศอาเซียนในภูมิภาคเขตร้อนชื้น ดังนั้น ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน ทั้ง 10 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา จึงมีมติร่วมกันกำหนดให้ทุกวันที่ 15 มิถุนายน ของทุกปีเป็น "วันไข้เลือดออกอาเซียน" ( ASEAN Dengue Day ) เพื่อร่วมมือรณรงค์ควบคุม จำกัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในครัวเรือน โรงเรียน ศาสนสถาน ชุมชน สถานที่ราชการ ศูนย์พัฒนาเด็กในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ เป็นการลดจำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตและจากข้อมูลสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี กลุ่มงานควบคุมโรค พบว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของจังหวัดปัตตานี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 25 พฤษภาคม 2562 มีจำนวนผู้ป่วย 336 ราย อัตราป่วย 47.79 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิด     จากข้อมูลการระบาด 3 ปีย้อนหลังของตำบลรูสะมิแล ตั้งแต่ปี 2559 มีจำนวนผู้ป่วย 63 ราย อัตราป่วย 396.25 ต่อแสนประชากร ปี 2560 มีจำนวนผู้ป่วย 45 ราย อัตาป่วย 283.04 ต่อแสนประชากร และปี 2561 มีจำนวนผู้ป่วย 33 ราย อัตราป่วย 189.56 ต่อแสนประชากร     ปัจจุบันตำบลรูสะมิแล ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2562 มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 22 ราย อัตราป่วย 138.37 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือ กลุ่มอายุ 5-9 ปี,อายุ 10 -14 และอายุ 25 - 34 ปี (กลุ่มอายุจำนวน 5 ราย ) รองลงมา อายุ 15 - 24 ปี (จำนวน 3 ราย) , 0-4 ปีและอายุ 35-44 ปี (กลุ่มอายุจำนวน 2 ราย) ตามลำดับ อัตราป่วยเท่ากับ หมู่บ้านที่มีอัตาป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคือ หมู่่ 5 บ้านโคกสำโรง อัตราป่วยเท่ากับ 62.90 ต่อประกรแสนคน รองลงมาคือ หมู่ที่ 1 บ้านรูสะมิแล อัตราป่วยเท่ากับ 25.16 และ หมู่ที่ 6 บ้านสวนสมเด็จ อัตราป่วยเท่ากับ 25.16 ตามลำดับ และจากผลการสำราจค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย (HI/CI) ตำบลรูสะมิแล ประจำเดือน เมษายน 2562 และพฤษภาคม 2562พบว่า ค่า HI (เกณฑ์ HI

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อรณรงค์กำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

 

0.00
2 2.เพื่อลดอัตราป่วยและตาย ด้วยโรคไข้เลือดออก

 

0.00
3 3.เพื่อส่งเสริมบทบาทองค์กรท้องถิ่น ชุมชน โรงเรียน ให้เกิดการประสานงาน และมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันไข้เลือดออก

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ     1. จัดทำโครงการเสนอ เพื่อขออนุมัติงบประมาณในการดำเนินงาน     2. ประชุมคณะทำงานสี่ประสาน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที รพสต. ตัวแทน อสม.เทศบาลตำบลรูสะมิแลและครูอนามัยโรงเรียน     3. กำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมทั้งในชุมชนและโรงเรียน ขั้นดำเนินการ     1. อาสาสมัครประจำหมู่บ้นจัดกิจกรรมสำรวจลูกน้ำยุงลายในเขตละแวกรับผิดชอบทุก 7 วัน ได้กำหนดตามนโยบายทุกวันศุกร์ (มีเครื่องมือการสำรวจ)     2. ส่งรายงานตามแบบสำรวจให้เจ้าหน้าที่ทุกวันจันทร์หลังสำรวจ เพื่อประเมินค่า HI     3. รณรงค์กิจกรรมบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกัน ควบคุมโรคไขัเลือดออก โดย โรงเรียนกับชุมชนเทศบาลตำบลรูสะมิแล และอาสาสมัครสาธารณสุข     4. จัดให้มีการพ่นหมอกควันในโรงเรียนก่อนเปิดภาคเรียนที่ 2     5. จัดกิจกรรมในโรงเรียนโดยโรงเรียนเป็นผู้กำหนดกิจกรรมและประเมินค่า CI ขั้นประเมินผล     1. ประชาสัมพันธ์รณรงค์กำจัดยุงลายด้วยมาตรการ 3 เก็บ 3 โรค ในหน่วยงาน 30 หน่วยงาน โรงแรม 3 โรงแรม และ โรงงาน 2 โรงงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในตำบลรูสะมิแลลดลง
  2. ประชาชนตำบลรูสะมิแล มีความตระหนักในการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก
  3. ท้องถิ่น ชุมชน โรงเรียนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2562 14:14 น.