กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ร่วมใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หมู่ที่ 2 บ้านโคกแค ตำบลเขาขาว
รหัสโครงการ L - 1527 - 01 -11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว
วันที่อนุมัติ 28 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 กรกฎาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 50,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาขาว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.811,99.618place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 135 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมในยุคปัจจุบัน ทำให้วิถึชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป มีการดำเนินชีวิตอย่างเร่งรีบ จึงทำให้มีพฤติกรรมต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไป นำไปสุ่การเป็นโรคร้ายต่างๆได้ง่าย เช่น โรคอ้วน ดรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของคนไทยในระดับต้นๆในจำนวนดรคติดต่อ พบว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้ก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยยวะที่สำคัญของร่างกายได้แก่ ระบบหลอดเลือด สมอง หัวใจ อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน เกิดความพิการ หรือสูญเสียอวัยวะที่ทำหน้าที่ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย ครอบครัวและสังคม ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาวก็เช่นเดียวกัน ปัจจุบันยังมีอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นปะญหาสาธารณสุขที่สำคัญของพื้นที่มาโดยตลอดและได้มีความพยายามในการดำเนินการแก้ปัญหามาและคาดหวังว่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่มีความยั่งยืน เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ประชากร 15 ปีขึ้นไป หมู่ที่ 2 บ้านโคกแค จำนวน 421 คน โรคความดันโลหิตสูง ปี 2561 กลุ่มเสี่ยง 38 คน กลุ่มป่วย 61 ปี 2562 กลุ่มเสี่ยง 29 คน กลุ่มป่วย 87 คน โรคเบาหวาน ปี 2561 18 คน ปี 2562 จำนวน 37 คน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องและมีการติดตามผลอย่างใกล้ชิด ปัญหาโรคเรื้อรังโดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานยังคงเป็นโรคเรื้อรังของคนในชุมชน และเป็นโรคที่เรื้อรังกับชุมชนมาช้านาน ทั้งนี้ก็เนื่องใสจากโรคดังกล่าว เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งมีความยากอย่างยิ่งในการที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนปัจจุบันนี้การแก้ปัญหาโดยใช้กลวิธีหรือกระบวนการต่างๆ ทุกรูปแบบทั้งในเรื่องของการค้นหากลุ่มเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง และนำกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในรายบุคคลก็จะเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยเข้าสู่กระบวนการใช้วิถีที่สอดคล้องกับชุมชน และจากปี 2561 ชุมชนหมู่ที่2 บ้านโคกแค ตำบลเขาขาว ได้ดำเนินงานโครงหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคฯ แล้วนั้น โรงพบาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว เห็นความสำคัญที่จะดำเนินงานโรคติดต่อไม่เรื้อรังอย่างต่อเนื่อง สานต่อกิจกรรม แก้ปัญหาแบบตรงประเด็น ต่อยอดด้วยกิจกรรมอื่นๆที่จำเป็น นวัตกรรมที่สอดคล้องกับบริบทชุมชน และมุ่งเน้นการสร้างชุมชนต้นแบบด้านการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจึงจัดให้มี โครงการชุมชนลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ร่วมใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปี 2562 ซึ่งจะส่งผลให้การแก้ปัญหาโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานมีความต่อเนื่อง และเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เกิดหมู่บ้านต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตำบลเขาขาว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

1.หมู่ที่ 2 เป็นหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ฯ

0.00
2 2.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และมีการออกำลังกายสมำ่เสมอ ร่วมกับการรับประทานผัก ผลไม้สด อย่างน้อยวันละ ครึ่งกิโลกรัม

2.ร้อยละ 80 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้การออกกำลังกาย และมีการปลูกผักปลอดสารพิษในการบริโภค

0.00
3 3.เพื่อให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

3.ร้อยละ 100 ของภาคีเครือข่าย ส่วนร่วมในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 799.00 0 0.00
30 ก.ค. 62 กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงวางแผนการดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยน 0 750.00 -
7 ส.ค. 62 กิจกรรมที่ 2 ประชาสมัพันธ์ค้นหาและประเมินภาวะเสี่ยงด้านสุขภาพ 0 14.00 -
20 ส.ค. 62 กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการสาธิตปลูกผักปลอดสารพิษ และการออกกำลังกายที่ถูดวิธี 0 24.00 -
3 ก.ย. 62 กิจกรรมที่ 4 แลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างสุขภาพสู่ชุมชน ตลาดนัดสุขภาพ 0 11.00 -

กิจกรรมที่ 1 -ประชุม อสม. แกนนำ ค้นหากลุ่มเป้าหมายที่สมัครใจและประชาสัมพันธ์ -แบ่งกลุ่มวิเคราะห์ปัญหาที่พบและจัดทำแผน -ประชาสัมพันธ์โครงการภายในชุมชน -ประชุม อสม. แกนนำชุมชน และคณะทำงาน กิจกรรมที่ 2
-ประชุมกลุ่มเป้าหมาย และชี้แจงโครงการ -ค้นหาประเมินภาวะเสี่ยงด้านพฤติกรรมสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยง -ให่ อสม.คัดเลือกตัวแทนครอบครัวที่มีจิตอาสาและสนใจเข้าร่วมเป็นบุคคลต้นแบบเข้ารับการอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพที่ถูกวิธี -จัดทำทะเบียนเครือข่ายสุขภาพระดับหมู่บ้าน -คัดกรองสุขภาพเบื้องต้น -อาสาสมัครเยี่ยมบ้านผู้ป่วย/กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มเป้าหมายดูแลพิเศษที่บ้าน กิจกรรมที่ 3 -ประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มเป้าหมายและทีมสุขภาพในชุมชน -จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แกนนำสุขภาพครัวเรือน -จัดอบรมการสาธิตปลูกผักปลอดสารพิษ และการรออกำลังกายแบบถูกวิธี -ทำสื่อประชาสัมพันธ์ กิจกรรมที่ 4 -กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างสุขภาพสู่ชุมชน -ตลาดนัดสุขภาพ การแสดงการออกกำลังกาย ขั้นสรุปผล -ประเมินผลโครงการ -รายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในหมู่บ้านลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรัง 2.ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประชาชน 3.หมู่บ้านได้รับการยกย่องเชิดชูให้เป็นแบบอย่างหมู่บ้านสุขภาพดีตาวิถึชุมชน 4.เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการลดโรค ฯ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2562 08:58 น.