กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพ และการดูแลร่างกายกลุ่มประชาชนทั่วไปในหมู่บ้าน
รหัสโครงการ 2562-L1490-2-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มชุมชนตำบลโคกหล่อ
วันที่อนุมัติ 4 กรกฎาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 27,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอติพร อินทรทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.524,99.615place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การมีสุขภาพดี เริ่มต้นที่การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง การที่จะมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ต้องอาศัยตัวเราเองและการมีส่วนร่วมของครอบครัวและหมู่บ้าน/ชุมชนเป็นสำคัญ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยให้ความสำคัญกับกรอบแนวความคิดการมีส่วนร่วมของหมู่บ้าน/ชุมชนในการขับเคลื่อนการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน จะเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างยั่งยืน

        การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นความรู้ที่เหมาะสมกับแกนนำปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพระดับหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จะเป็นประโยชน์ในแง่การดำเนินงานเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคลให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และหากเข้าใจถึงปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อและการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ จะทำให้การส่งเสริมสุขภาพประสบผลสำเร็จ ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มเป้าหมายและนำไปสู่สุขภาวะที่สมบูรณ์ สาระสำคัญประกอบด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพเกิดขึ้นได้อย่างไร จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างไร แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยหมู่บ้าน/ชุมชน และหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีลักษณะอย่างไร

        กลุ่มสตรีตำบลโคกหล่อ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญต่อกระบวนการขับเคลื่อนพฤติกรรมสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มสตรีและประชาชนทั่วไปในหมู่บ้าน/ชุมชนขึ้นมา เพื่อมุ่งหวังจะให้เกิดการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยมีเป้าหมายนำร่องในกลุ่มสตรีตำบลโคกหล่อ ขยายผลไปสู่ประชาชนทั่วไปในทุกหมู่บ้าน/ชุมชนของเทศบาลตำบลโคกหล่อ เพื่อการมีสุขภาวะที่ดีทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ตลอดจนสามารถทำให้หมู่บ้าน/ชุมชนพึ่งพาตนเองในด้านสุขภาพได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สมาชิกกลุ่มสตรีทุกหมู่บ้านของตำบลโคกหล่อ ได้รับความรู้ความเข้าใจด้านการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ร้อยละ 100 ของประชากรกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรมความรู้ด้านการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

1.00
2 เพื่อให้ประชาชนทั่วไปในหมู่บ้าน/ชุมชนของตำบลโคกหล่อ ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการอบรมความรู้ด้านการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

1.00
3 หมู่บ้าน/ชุมชนให้ความสำคัญด้านแนวความคิดการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน

ร้อยละ 80  ของกลุ่มเป้าหมาย เกิดแนวคิด เกิดการมีส่วนร่วม ได้รับการขับเคลื่อนด้านการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนอย่างเหมาะสม

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ

1) วิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย

2) จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ

ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินงาน

    1) สำรวจ และจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายทุกหมู่บ้าน/ชุมชนในตำบลโคกหล่อ

    2) ประชาสัมพันธ์โครงการ

    3) ประชุมชี้แจง/อบรมให้ความรู้ความเข้าใจด้านการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ แก่กลุ่มสตรีและประชาชนทั่วไปในทุกหมู่บ้าน/ชุมชนของตำบลโคกหล่อ ได้แก่

      - หมู่ที่ 1 บ้านไชยมงคล และหมู่ที่ 2 บ้านพรุชี

      - หมู่ที่ 3 บ้านโคกยูง และหมู่ที่ 4 บ้านโคกหล่อ

      - หมู่ที่ 5 บ้านโคกหล่อ และหมู่ที่ 6 บ้านนาหมื่นราษฎร์

      - หมู่ที่ 7 บ้านโคกหล่อ และหมู่ที่ 8 บ้านโคกยูง

      - หมู่ที่ 9 บ้านโคกพลา และหมู่ที่ 10 บ้านโคกพลาออก

      - หมู่ที่ 11 บ้านสะพานไทร และหมู่ที่ 12 บ้านคลองลำเลียง

ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล

1) ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน

2) สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สมาชิกกลุ่มสตรีทุกหมู่บ้านของตำบลโคกหล่อ ได้รับความรู้ความเข้าใจด้านการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อสนับสนุนให้เป็นแกนนำในการต่อยอดขยายผลโครงการให้เกิดความยั่งยืนเป็นรูปธรรม
  2. ประชาชนทั่วไปทุกหมู่บ้าน/ชุมชนของตำบลโคกหล่อ ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมการปรับ-เปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
        3. หมู่บ้าน/ชุมชนให้ความสำคัญกับกรอบแนวความคิดการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานปรับ- เปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2562 11:20 น.