กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย
รหัสโครงการ 60-L4127-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 120,780.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสันต์เดะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวโซเฟียนี สูแว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายและยุงก้นปล่องเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำเพิ่มจำนวนของยุงลายและยุงก้นปล่องพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกและโคไข้มาลาเรียอย่างมีประสิทธิภาพควรต้องเตรียมพร้อมควบคุมกำจัดยุงลายและยุงก้นปล่องก่อนจะถึงช่วงฤดูการระบาดของโรคเพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่ต่อไป ปัจจัยการระบาดที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและมีการขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มจำนวนของประชากรเพิ่มขึ้นมีการเคลื่อนไหวของประชากรและมียุงลายและยุงก้นปล่องมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะขังน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นการคมนาคมที่สะดวกขึ้นทำให้มีการเดินทางมากขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสต่างๆ เป็นไปอย่างรวดเร็วนอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การที่พื้นที่มีเชื้อโรคไข้เลือดออกและเชื้อโรคไข้มาลาเรียชุกชุมและมีมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกัน หรือการติดเชื้อและรู้ซ้าซึ่งมีผลต่อการระบาดและแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียด้วย
ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียให้ได้ผลนั้นจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งชุมชน ครู นักเรียน องค์กรต่างๆในชุมชน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ในการควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย รวมทั้งการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในครัวเรือนและชุมชน ซึ่งกิจกรรมต่างๆนี้ เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไปทั้งสิ้น ชุมชนควรตระหนัก เห็นความสำคัญเพื่อให้เกิดการรับผิดชอบร่วมกันในหมู่บ้านส่งผลให้การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกลดลงและหมดไปในที่สุด ทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียได้ทันเหตุการณ์

๑. ร้อยละของการดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียได้ทันเหตุการณ์

2 ๒. เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธ์และภาชนะเสี่ยง ในชุมชน โรงเรียน ที่เป็นแหล่งโรค

๒. ร้อยละของกาารทำลายแหล่งเพาะพันธ์และภาชนะเสี่ยง ในชุมชน โรงเรียน ที่เป็นแหล่งโรค

3 ๓. เพื่อประชาสัมพันธ์สถานการณ์และให้ความรู้ประชาชนสร้างความตระหนักต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียในเขตตำบลบาเจาะ

๓. ร้อยละของการได้รับข้อมูลข่าวสารจากการประชาสัมพันธ์สถานการณ์และให้ความรู้ประชาชนสร้างความตระหนักต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียในเขตตำบลบาเจาะ

4 ๔. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย ในเขตรพ.สต.บาเจาะ

๔. ร้อยละของการลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย ในเขตรพ.สต.บาเจาะ

5 ๕. เพื่อสร้างความเข้มแข็งของทีมเคลื่อนที่เร็ว SRRT (SURVEILLANCE AND RAPID RESPONSE TEAM)

๕. ร้อยละของการสร้างความเข้มแข็งของทีมเคลื่อนที่เร็ว SRRT (SURVEILLANCE AND RAPID RESPONSE TEAM)

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและสำรวจภาชนะเสี่ยงต่างๆและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุข คณะกรรมการชุมชน นักเรียน และทีม SRRT ในเขตรพ.สต.บาเจาะ ๒.จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์งานควบคุมโรคผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้ครอบคลุมที่สุด
๓.จัดกิจกรรมรณรงค์ควบคุมโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออกในชุมชน โรงเรียนและสถานที่ราชการ
๔.จัดประชุมทีมเคลื่อนที่เร็ว SRRT ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข ครูอนามัยโรงเรียน เพื่อสร้างเครือข่ายควบคุมโรคเข้มแข็ง ในเขตรพ.สต.บาเจาะ ๕.สนับสนุนการรณรงค์การกำจัดลูกน้ำยุงลายโดยการวิธี ๕ป ๑ข และใช้ทรายอะเบทกำจัดลูกน้ำ
๖.ควบคุมทำลายตัวแก่โดยการพ่นสารเคมีด้วยหมอกควัน หรือการพ่นฝอยละออง ก่อนการระบาดของโรคและช่วงการระบาดของโรคไข้เลือดออก
7.มีการเจาะหาเชื้อมาเลือดหาเชื้อมาลาเรียเชิงรุก 8.สรุปปัญหาและข้อเสนอแนะ และประเมินผลการดาเนินงานทุกสัปดาห์ (War Room)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย
  2. ประชาชนมีความเข้าใจในเรื่องโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย
  3. การมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียของประชาชนโดยประเมินจากการกำจัดลูกน้ำยุง
  4. ผู้ป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียได้รับการดูและรักษาอย่างถูกต้องและทานยาครบถ้วน
  5. ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย 6.การมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ