กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนและพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุน
รหัสโครงการ 62-L5292-04-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบุหลัง
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 22,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบุหลัง
พี่เลี้ยงโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งบุหลัง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งบุหลัง อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.047,99.692place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2561 30 ก.ย. 2562 8,800.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 8,800.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (8,800.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (22,000.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 18 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบุหลัง ได้จัดตั้งขึ้นในปี 2554 โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบุหลัง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยสนับสนุนการจัดบริการของหน่วยบริการสาธารณสุขในการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคและฟื้นฟูสุขภาพสำหรับประชาชน โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสในตำบล ได้เข้าถึงการบริการได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และมีคุณภาพมาตรฐานและส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายแม่และเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง และผู้ป่วยเรื้อรัง ในชุมชนสามารถเข้าถึงบริการทางการเเพทย์อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพเพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพด้วยตนเองและร่วมบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ     ดังนั้น เพื่อให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบุหลัง ขับเคลื่อนไปได้ด้วยดี จึงจำเป็นต้องจัดโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้กองทุนฯสามารถบริหารจัดการกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพิจารณาอนุมัติแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

 

0.00
2 2. เพื่อพิจารณาออกระเบียบที่จำเป็นเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารกองทุน

 

0.00
3 3. เพื่อควบคุมและกำกับดูแลการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์ในกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพเเห่งชาติกำหนด

 

0.00
4 4. เพื่อกำกับดูแลให้หน่วยงาน หรือกลุ่มหรือองค์กรผู้ที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ให้เป็นไปตามแผนงานโครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด

 

0.00
5 5. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบการจัดทำสรุปผลการดำเนินงาน รายงานการรับจ่ายและเงินคงเหลือของกองทุนหลักประกันสุขภาพ

 

0.00
6 6. เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจและพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น

 

0.00
7 7. เพื่อจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆต่างๆที่ใช้ในกองทุนฯเพื่อให้กองทุนดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน   - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุม จำนวนคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน   - กำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ ขั้นตอนการดำเนินงาน   - ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ เพื่อกำหนดนัดหมาย   - จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอยการดำเนินงาน   - จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน   - จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม 3.ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด   - จัดประชุมคณะกรรมการ และที่ปรึกษา อย่าง 4 ครั้ง/ปี   - จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุน/คณะทำงาน อย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี   - สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/คณะทำงาน 4.ดำเนินการอบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและคณะทำงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.แผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน 2.สามารถจ่ายค่าตอบแทนในการประชุมให้แก่กรรมการได้ 3.มีงบประมาณในการจ้างเหมาทำอาหารและอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 4.การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษเงินและการจัดทำบัญชีหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด 5.กองทุนมีวัสดุอุปกรณ์สำนักงานในการดำเนินการกองทุน 6.คณะกรรมการและคณะทำงานมีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2562 10:57 น.