กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ คัดกรองและตรวจมะเร็งปากมดลูก
รหัสโครงการ L-5258-2-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ห้วยบอน
วันที่อนุมัติ 18 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุพรรณี ทับทิมไทย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านโหนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.624,101.057place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสาธารณสุขในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการและระบบข้อมูลข่าวสาร ภาวะสุขภาพของประชาชนก็มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนามากขึ้น มีการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมอนามัย เช่น โรคมะเร็งต่าง ๆ สำหรับสตรีไทย โรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกมีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับ 1 และ 2 ในสตรีๆ ไทยและทั่วโลก จากข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติในปี พ.ศ. 2554 และ พ.ศ.2556 พบว่ามะเร็งเต้านมมีอุบัติการณ์มากที่สุด รองลงมือคือ มะเร็งปากมดลูก ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap Smear และหากทำทุก 2 ปี สามารถลดการเป็นมะเร็งระยะลุกลามได้ 92 % ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่าย สะดวก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการตรวจ Pap Smear ส่วนมะเร็งเต้านมผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องทำการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านร่างก่าย จิตใจ และทางเศรษฐกิจ เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมสามารถป้องกันรักษาได้ ด้วยวิธีการทำ Pap smear และส่งเสริมให้สตรีทำการตรวจเต้านมด้วยตนเองอยู่เป็นประจำ ทำให้สามารถลดอุบัติการณ์ และอัตราการตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกได้
      จากการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยบอน พบว่า สตรีในกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกยังไม่ครอบคลุมเป้าหมาย คือ ร้อยละ 20 ต่อปี และจากผลการดำเนินงาน ในรอบ 3 ปี คือ ปีงบประมาณ 2558 - 2560 ผลการคัดกรองเป็นร้อยละ 29.50 จะเห็นได้ว่ายังไม่ครอบคลุมตัวชี้วัดที่กำหนด เนื่องจาก กลุ่มเป้าหมายขาดความตระหนักในการมาตรวจคัดกรอง มีปัญหาเรื่องเครื่องมือในการตรวจคัดกรองก็ไม่เพียงพอต่อการตรวจ กลุ่มเป้าหมายมีความเขินอายไม่ให้ความร่วมมือ จากผลการคัดกรองได้น้อยก็ยิ่งทำให้การค้นหาผู้ป่วยในระยะเริ่มแรกได้น้อยด้วย ทำให้ไม่สามารถลดอัตราการป่วย การตาย ของสตรีด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกได้ จากปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยบอน จึงได้จัดทำคัดกรองและตรวจมะเร็งปากมดลูก รพ.สต.ห้วยบอน 2562 เพื่อควบคุมและป้องกันการป่วย ตาย ด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก นำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดี ของสตรีในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยบอน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี Pap Smear

100.ละ  20 ของสตรีอายุ  30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี Pap Smear

0.00
2 เพื่อให้สตรีอายุ 30-70 ปี มีความรู้และทักษะสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองโดยผ่านการประเมินจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ร้อยละ 85  ของสตรีอายุ 30 - 70 ปี สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องโดยผ่านการประเมินจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุ

0.00
3 เพื่อค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก และผู้ป่วยได้รับการ ส่งต่อ รักษาอย่างถูกต้อง ต่อเนื่อง และทันท่วงที

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติทั้งมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกได้รับการส่งต่อและรักษา

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00
1 ส.ค. 62 จัดอบรมให้ความรู้ 0 20,000.00 -
  1. กิจกรรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 1.1 ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่แกนนำ อสม.ในพื้นที่ เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานตามโครงการ 1.2 สำรวจกลุ่มเป้าหมาย และจัดทำข้อมูลกลุ่มเป้าหมายแยกเป็นรายพื้นที่ 1.3 จัดทำสื่อและสนับสนุน เพื่อประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายตามช่องทางต่าง ๆ เช่น ป้ายไวนิล เอกสารแผ่นพับ สปอร์ตวิทยุ 1.4 จัดทำแผนให้ความรู้แก่กลุ่มผู้นำในชุมชนเพื่อให้ผู้นำส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
    1.5 ประชาสัมพันธ์โครงการ ด้วยป้ายประชาสัมพันธ์ หอกระจ่ายข่าว และเสียงตามสายในหมู่บ้านและ อสม
    1.6 ดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดย
    • จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมาย
    • จัดบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยทีมกลาง
                      - ให้บริการเชิงรุกแก่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ที่ไม่สามารถมารับบริการในสถานบริการได้
    • ส่งแผ่นสไลน์ไปตรวจและอ่านผล
    • รับผลตรวจและส่งต่อผลให้สถานบริการเก็บรวบรวมข้อมูลและบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรม JHCIS
    • สถานบริการทำการส่งต่อในรายที่มีผลผิดปกติ 1.9 ติดตามผลการรักษาภายหลังในรายที่มีผลผิดปกติ และให้ตรวจเยี่ยมโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ 2.รายงานผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และตระหนักในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็ง เต้านม โดยมารับบริการตรวจคัดกรองเพิ่มมากขึ้น
    1. ทำให้สามารถตรวจพบโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ในระยะเริ่มแรกของการป่วยซึ่งทำให้รักษาหายได้ลดการสูญเสียทั้งชีวิตและงบประมาณในการรักษา
    2. ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ป่วย / ตาย จากโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมลดน้อยลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2562 11:08 น.