กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ รณรงค์ ป้องกันและควบคุมการเกิดโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะนำโรค
รหัสโครงการ L-5258-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสวัสดิการสังคม
วันที่อนุมัติ 22 กรกฎาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 สิงหาคม 2562 - 12 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 12 กันยายน 2562
งบประมาณ 79,710.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกิตติ โคกเขา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านโหนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.624,101.057place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6340 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในช่วงฤดูฝนของทุกปีจะเป็นฤดูที่มีการระบาดของโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะนำโรคสูงสุด เนื่องจากฝนที่ตกมาจะทำให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงทำให้จำนวนยุงเพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงอื่น ๆ ของปี ดังนั้นโรคที่ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษในช่วงนี้ คือ โรคที่มียุงเป็นพาหะ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคไข้มาลาเลีย โรคติดเชื้อไวรัสซิกาและโรคชิคุนกุนยา โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกที่แม้ว่ายอดรวมจำนวนผู้ป่วยในปีที่แล้วจะลดลง แต่ในปีปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยกลับเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาและยังพบการระบาดของโรคติดต่ออื่นที่ยุงเป็นพาหะนำโรค เช่น ไข้มาลาเลีย ไข้ปวดข้อยุงลาย ชิคุนกุนยา และสถานการณ์ความรุนแรงเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยสถานการณ์ไข้เลือดออกในปี 2562 พบว่า มีผู้ป่วย จำนวน 44,671 ราย มีผู้เสียชีวิต จำนวน 62 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.14 ซึ่งมีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ดังนั้นการป้องกันไม่ให้ประชาชนในพื้นที่เป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะนำโรคจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ด้วยมาตรการลดแหล่งเพาะพันธ์และทำลายยุงตัวเต็มวัย เพื่อตัดวงจรชีวิตของพาหะนำโรคให้ลดลงมากที่สุด
    อาศัยอำนาจพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 7 พ.ศ.2562 ข้อ 67 (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโหนด จึงจัดทำโครงการรณรงค์ ป้องกันและควบคุมการเกิดโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะนำโรค เพื่อรณรงค์สร้างความเข้าใจให้ประชาชนในพื้นที่ตะหนักถึงปัญหา มีส่วนร่วมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุง กำจัดตัวอ่อน และพ่นหมอกควันเพื่อทำลายยุงตัวเต็มวัย ลดปริมาณและตัดวงจรชีวิตของยุง ป้องกันไม่ให้ประชาชนในพื้นที่ป่วยเป็นโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะโรค เช่น ไข้เลือดออก ไข้มาลาเลีย ไข้ปวดข้อยุงลาย ชิคุนกุนยา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

0.00
2 เพื่อทำลายยุงตัวเต็มวัย

สามารถลดปริมาณยุงในพื้นที่

0.00
3 เพื่อลดปริมาณผู้ป่วยที่เกิดจากยุงเป็นพาหะนำโรค

มีจำนวนผู้ป่วยที่เกิดจากยุงเป็นพาหะนำโรคลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 79,710.00 0 0.00
6 - 12 ส.ค. 62 รณรงค์และทำลายแล่งเพาะพันธ์ 0 30,600.00 -
6 - 12 ส.ค. 62 พ่นหมอกควันกำจัดยุงตัวเต็มวัย 0 49,110.00 -

1.จัดทำโครงการรณรงค์ ป้องกันและควบคุมการเกิดโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะนำโรค และเสนอให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ฯพิจารณา 2. ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อวางแผนการดำเนินงาน 3. จัดทำโครงการรณรงค์ ป้องกันและควบคุมการเกิดโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะนำโรค 4. สรุปและประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารทำลายแหล่งเพาะพันธ์และกำจัดตัวอ่อนยุง และป้องกันการเพิ่มปริมาณของยุง ซึ่งเป็นพาหะนำโรค 2.สามารถทำลายยุงตัวเต็มวัย ลดปริมาณและตัดวงจรชีวิตยุง 3.สามารถลดปริมาณผู้ป่วยที่เกิดจากยุงเป็นพาหะนำโรค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2562 11:39 น.