กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากจากแรกคลอดสู่ผู้สูงวัย ประจำปี 2562
รหัสโครงการ 62-L5192-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ท่าไทร
วันที่อนุมัติ 23 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซัลมา การดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.721,100.93place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปาก เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ โรคฟันผุ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของอาการเจ็บปวดและการสูญเสียฟันทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ จากผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 พ.ศ. ๒๕60 พบว่าเด็กก่อนวัยเรียนอายุ 3 ปี และ 5 ปี โดยพบเด็กอายุ 3 ปี มีฟันผุร้อยละ 52.9 ในเด็กอายุ 5 ปี
มีฟันผุร้อยละ 75.6 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กก่อนวัยเรียน ทั้ง 2 กลุ่มอายุประมาณร้อยละ 40.0 มีคราบจุลินทรีย์อยู่ในระดับเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ พบฟันผุ ระยะเริ่มต้นในเด็กอำยุ 3 ปี และ 5 ปี ร้อยละ 31.1 และร้อยละ 31.3 ตามลำดับ
กลุ่มเด็กอายุ 12 ปีมีประสบการณ์โรคฟันแท้ผุร้อยละ52.0ค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุด1.4 ซี่ต่อคนและเมื่อเปรียบเทียบผลการสำรวจข้อมูลผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากจังหวัดสงขลา ปี 2561 พบว่าเด็กอายุ 12 ปีมีประสบการณ์โรคฟันแท้ผุร้อยละ54.5ซึ่งสูงกว่าระดับประเทศดังข้อมูลที่ข้างต้น กลุ่มเยาวชนอายุ 15 ปีมีประสบการณ์โรคฟันผุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ62.7 ค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุด2.0 ซี่ต่อคนกลุ่มวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่มีประสบการณ์การเป็นโรคฟันแท้ผุครอบคลุมเกือบทั้งกลุ่มประชากรในกลุ่มอายุ 35-44 ปีปัญหาหลักที่พบคือการสูญเสียฟันโดยพบว่าลุ่มวัยทำงาน ร้อยละ 85.3 มีการสูญเสียฟันโดยเฉลี่ย 3.6 ซี่/คน โดยมีผู้ที่มีฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษาร้อยละ 43.3 มีปัญหาสภาวะเหงือกอักเสบและสภาวะปริทันต์ พบเหงือกอักเสบร้อยละ 62.4และในกลุ่มวัยสูงอายุ 60-74 ปี และ 80-85 ปี ผู้สูงอายุ 60-74 ปี ร้อยละ 56.1 มีฟันถาวรใช้งาน ได้อย่างน้อย 20 ซี่ เฉลี่ย 18.6 ซี่/คน ร้อยละ 40.2 มีฟันหลังสบกันอย่างน้อย 4 คู่สบ และลดลง ในผู้สูงอายุตอนปลายอายุ 80-85 ปี มีเพียงร้อยละ 22.4 ที่มีฟันถาวรใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ เฉลี่ย10 ซี่/คน และมีฟันหลังสบกัน 4 คู่สบ เพียงร้อยละ 12.1 ทำให้ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวลดลงชัดเจน แม้ว่ากลุ่มผู้สูงอายุตอนต้น จำนวนมากกว่าครึ่ง มีฟันถาวรใช้งานได้ 20 ซี่ แต่ฟันถาวรที่เหลืออยู่นี้ยังมีปัญหารอยโรคและความผิดปกติในช่องปากที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสม ซึ่งนอกจากจะเสี่ยงต่อการอักเสบ ปวดบวม ติดเชื้อ และสูญเสียฟันแล้ว ยังสัมพันธ์กับความรุนแรงของเบาหวานด้วย เพื่อป้องกันการลุกลามที่นำไปสู่ความเจ็บปวดและการสูญเสียฟันสาเหตุสำคัญของปัญหาสุขภาพช่องปาก เกิดจากประชาชนยังขาดความตระหนัก ความรู้ รวมไปถึงพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากที่เหมาะสม และการจัดบริการสุขภาพช่องปากอาจจะยังไม่ครอบคลุมในทุกกลุ่มวัย ทำให้ประชาชนมีการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
ดังนั้นเพื่อให้มีการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่มีความครอบคลุมและมีคุณภาพแก่ประชาชนทุกกลุ่มวัย ส่งเสริมป้องกันไม่ให้โรคในช่องปากลุกลามและทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิมมีความจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในชุมชนทั้งทันตบุคลากร ผู้ปกครองผู้ดูแลเด็กอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตลอดถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร จึงร่วมกับเทศบาลตำบลลำไพลและหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ โดยมี กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลเทพา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพล และคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนศูนย์ 3 จัดทำโครงการนี้ขึ้นโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กและของตนเองได้อย่างยั่งยืนและเผยแพร่สู่ชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กและของตนเองอย่างเหมาะสม
  1. ร้อยละ ๘๐ ของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และฝึกทักษะการแปรงฟันและควบคุมแผ่นคราบจุลินทรีย์
  2. ร้อยละ 8๐ ของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจทั้งปาก ได้รับบริการทันตกรรม
  3. ร้อยละ 80 ของหญิงตั้งครรภ์มีระดับคะแนนของแบบทดสอบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กและของตนเองเพิ่มขึ้น
  4. ร้อยละ 80 ของหญิงตั้งครรภ์มีค่าแผ่นคราบจุลินทรีย์เฉลี่ยลดลง
80.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้เด็กเล็กแรกคลอด – 2 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและทาฟลูออไรด์วาร์นิชโดยทันตบุคลากร

1.ร้อยละ 60ของเด็ก๐-๒ ปีได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก 2. ร้อยละ 100 ของเด็กที่มีฟันขึ้นแล้ว ได้รับการทาฟลูออไรด์วาร์นิช

60.00
3 ข้อที่ 3เพื่อให้ผู้ดูแลเด็กเล็กแรกคลอด – 2 ปีมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กตามช่วงอายุ
  1. ร้อยละ 80 ของผู้ดูแลเด็กมีระดับคะแนนของแบบทดสอบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กตามช่วงอายุเพิ่มขึ้น
  2. ร้อยละ 80 ของผู้ดูแลเด็ก สามารถสาธิตวิธีการทำความสะอาดช่องปากเด็กได้อย่างถูกต้องตามแบบประเมิน 4 ใน 5 ข้อ
80.00
4 ข้อที่ 4 เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/ผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กและของตนเองอย่างเหมาะสม
  1. ร้อยละ 80 ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/ผู้ดูแลเด็ก มีระดับคะแนนของแบบทดสอบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กเพิ่มขึ้น
  2. ร้อยละ 80 ของผู้ดูแลเด็ก สามารถสาธิตวิธีการทำความสะอาดช่องปากเด็กได้อย่างถูกต้องตามแบบประเมิน 4 ใน 5 ข้อ
80.00
5 ข้อที่ 5เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ทาฟลูออไรด์วาร์นิชบริการอุดฟัน SMART Technique ตลอดจนส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม และแปรงฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน
  1. ร้อยละ 100ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และทาฟลูออไรด์วาร์นิช
  2. ร้อยละ 80 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จำเป็นต้องอุดฟันได้รับบริการอุดฟัน SMART Technique
  3. ร้อยละ 100 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเข้าร่วมกิจกรรม“แปรงฟันคุณภาพเช้าและก่อนนอน”
80.00
6 ข้อที่ 6 เพื่อให้เด็กในโรงเรียนประถมศึกษาได้รับตรวจสุขภาพช่องปาก ตลอดจนส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมและแปรงฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน
  1. ร้อยละ 80ของเด็กในโรงเรียนประถมศึกษาได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และเข้าร่วมกิจกรรมให้ความรู้ “แปรงฟันคุณภาพเช้าและก่อนนอน”
  2. ร้อยละ 80 ของเด็กในโรงเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมอบรม “หวานน้อย หรอยได้”มีระดับคะแนนของแบบทดสอบความรู้เพิ่มขึ้น
80.00
7 ข้อที่ 7เพื่อให้เด็กในโรงเรียนมัธยมศึกษาชั้น ม.1 ได้รับตรวจสุขภาพช่องปาก ตลอดจนส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม และแปรงฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน
  1. ร้อยละ 80ของเด็กในโรงเรียนมัธยมศึกษาชั้น ม.1 ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และเข้าร่วมกิจกรรมอบรม“ฟันสะอาด เหงือกแข็งแรง”
80.00
8 ข้อที่ 8 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้รับตรวจสุขภาพช่องปาก ตลอดจนส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม
  1. ร้อยละ ๕๐ ของผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
50.00
9 ข้อที่ 9 เพื่อให้อสม. ได้รับตรวจสุขภาพช่องปาก ตลอดจนส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม
  1. ร้อยละ 80 ของอสม. ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
80.00
10 ข้อที่ 10 เพื่อให้อสม.มีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของแต่ละกลุ่มวัยและของตนเองอย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถคัดกรองรอยโรคมะเร็งเชิงรุกด้วยการเยี่ยมบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  1. ร้อยละ 80 ของอสม. มีระดับคะแนนของแบบทดสอบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้น
  2. ร้อยละ 80 ของอสม.เข้าร่วมประชุมประจำเดือนเป็นประจำทุกเดือน
  3. ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียง  ได้รับการคัดกรองรอยโรคมะเร็งเชิงรุกด้วยการเยี่ยมบ้านโดย อสม.
  4. ร้อยละ 20 ของผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองรอยโรคมะเร็งเชิงรุกด้วยการเยี่ยมบ้าน โดย อสม.
80.00
11 ข้อที่ 11 เพื่อให้อสม.ตระหนักและให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพช่องปาก และพัฒนาการดำเนินงานเพื่อเป็นตัวแทนการประกวดอสม. เชี่ยวชาญด้านทันตสุขภาพระดับอำเภอเทพา
  1. มี อสม. เชี่ยวชาญด้านทันตสุขภาพอย่างน้อย 1 คน
  2. อสม. เชี่ยวชาญด้านทันตสุขภาพ จัดทำนวัตกรรมด้านทันตสุขภาพอย่างน้อย 1 เรื่อง
  3. อสม. เชี่ยวชาญด้านทันตสุขภาพจัดทำสื่อด้านทันตสุขภาพอย่างน้อย 1 เรื่อง
80.00
12 ข้อที่ 12 เพื่อให้สมาชิกชมรมผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ตลอดจนส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม และเข้าร่วมประชุมประจำเดือนเป็นประจำ ส่งผลให้เกิดความเข็มแข็งภายในชมรม
  1. ร้อยละ 80 ของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
  2. ร้อยละ 80 ของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุเข้าร่วมประชุมประจำเดือนเป็นประจำทุกเดือน
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,000.00 0 0.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 จัดซื้อชุดอุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปากประชากรทุกกลุ่มวัย 0 18,450.00 -
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 จัดมุมทันตสุขศึกษาภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 0 1,500.00 -
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 จัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนชั้น ป.1- ป.6 และชั้น ม.1- ม.3 0 2,050.00 -
7 มิ.ย. 62 จัดอบรมให้ความรู้แก่ ผู้ดูแลเด็กเล็ก/ครูในศพด. และอสม 0 8,000.00 -
  1. ประชุมคณะทำงานเครือข่ายหน่วยงานสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพล และคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน 3 เพื่อชี้แจงโครงการและกำหนดบทบาทความรับผิดชอบขออนุมัติโครงการ
  2. ดำเนินงานตามแผน กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมสุขภาพช่องปากในหญิงตั้งครรภ์
  3. ประชุมชี้แจงและให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากในกลุ่มแม่และเด็กแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
  4. ตรวจสุขภาพช่องปาก ให้ทันตสุขศึกษาและฝึกทักษะการแปรงฟันแก่หญิงตั้งครรภ์
  5. ประเมินความรู้ก่อน (pre-test) และหลังให้ความรู้ (post-test) ควบคู่กับประเมินประสิทธิภาพการแปรงฟันของหญิงตั้งครรภ์โดยเปรียบเทียบจากการติดสีเมื่อย้อมด้วย Ezy Gel
  6. ให้บริการทันตกรรมแก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ ๔-๖ เดือน
  7. จัดประกวด “คุณแม่มือใหม่ ใส่ใจดูแลฟัน”
  8. ติดตามและประเมินผล กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กเล็กแรกคลอด – 2 ปี
  9. ประชุมชี้แจงและให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากในกลุ่มแม่และเด็กแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
  10. ประเมินความรู้ก่อน (pre-test) และหลังให้ความรู้ (pos-test) ควบคู่กับประเมินทักษะการแปรงฟันและการดูแลช่องปากเด็กเล็กที่ถูกวิธีในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ดูแลเด็ก
  11. ให้ทันตสุขศึกษา แจกแผ่นพับความรู้และฝึกทักษะการแปรงฟันให้เด็กแก่ผู้ปกครอง(hands-on)
  12. จัดกิจกรรมอบรม“ขวดนมเก่า แลกแก้วหัดดื่ม” และ “ลูกรักฟันดี เริ่มที่ผู้ดูแล”
  13. รณรงค์การตรวจสุขภาพช่องปากและทาฟลูออไรด์วาร์นิชแก่เด็ก๐-๒ ปี
  14. ติดตามและประเมินผล กิจกรรมที่ 3ส่งเสริมสุขภาพช่องปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  15. ประชุมชี้แจงการดำเนินงานและให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากแก่ครูผู้ดูแลเด็ก
  16. จัดอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากแก่ผู้ดูแลเด็ก และประเมินความรู้ก่อน (pre-test) และหลังให้ความรู้ (post-test) ของครูผู้ดูแลเด็ก
  17. ตรวจสุขภาพช่องปาก ให้ทันตสุขศึกษา ฝึกการแปรงฟันให้กับเด็ก 3.1จัดกิจกรรม “แปรงฟันแห้ง ฟันแข็งแรงกว่าเดิม” เพื่อปรับคุณภาพการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่โรงเรียนด้วยวิธีการแปรงแห้งตามหลักการ 222
    3.2 จัดกิจกรรม “แปรงฟันคุณภาพเช้าและก่อนนอน” เพื่อปรับคุณภาพการแปรงฟันตอนเช้าและก่อนนอนที่ด้วยวิธีการแปรงแห้งตามหลักการ 222 โดยมีผู้ปกครองเป็นควบคุมกำกับดูแล และรายงานข้อมูลตามแบบบันทึก
  18. รณรงค์การทาฟลูออไรด์วานิช ให้บริการอุดฟันSMART Technique แก่เด็ก และส่งต่อเด็กที่มีปัญหาเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม
  19. จัดอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากเด็กแก่ เด็ก ผู้ดูแลเด็กใน ศพด.ประเมินความรู้ก่อน (pre-test) และหลังให้ความรู้ (post-test) ควบคู่กับประเมินทักษะการแปรงฟันและการดูแลช่องปากเด็กเล็กที่ถูกวิธีในรูปแบบที่เหมาะสม
  20. จัดประกวด “แปรงฟันป้องกันอนาคตลูกผุ”“หนูน้อยฟันดีศรีลำไพล” และ “ครอบครัวฉัน ฟันไม่ผุ”
  21. ติดตามและประเมินผล กิจกรรมที่ ๓ ส่งเสริมสุขภาพช่องปากในโรงเรียนประถมศึกษา
  22. ให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากแก่ครู
  23. ตรวจสุขภาพช่องปาก ให้ทันตสุขศึกษาและฝึกการแปรงฟันแก่นักเรียน ป.๑-ป.๖ 2.1 จัดกิจกรรมอบรม เรื่อง“หวานน้อย หรอยได้” เพื่อทดสอบความไวการรับรสหวาน 2.2 จัดกิจกรรมให้ความรู้“แปรงฟันแห้ง ฟันแข็งแรงกว่าเดิม” เพื่อปรับคุณภาพการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่โรงเรียนด้วยวิธีการแปรงแห้งตามหลักการ 222
    2.3 จัดกิจกรรมประชุมเรื่อง“แปรงฟันคุณภาพเช้าและก่อนนอน” เพื่อปรับคุณภาพการแปรงฟันตอนเช้าและก่อนนอนที่ด้วยวิธีการแปรงแห้งตามหลักการ 222 โดยมีผู้ปกครองเป็นควบคุมกำกับดูแล และรายงานข้อมูลตามแบบบันทึก
  24. รณรงค์การให้บริการเคลือบหลุมร่องฟันแก่นักเรียนชั้น ป.๑ และให้บริการทันตกรรมแก่นักเรียนชั้นป.๒-ป.๖ตามความจำเป็น
  25. ติดตามและประเมินผล กิจกรรมที่ ๔ ส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กในโรงเรียนมัธยมศึกษา
  26. ตรวจสุขภาพช่องปาก ให้ทันตสุขศึกษาและฝึกการแปรงฟันแก่นักเรียนชั้น ม.๑ 1.1 จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่อง“แปรงฟันแห้ง ฟันแข็งแรงกว่าเดิม” เพื่อปรับคุณภาพการแปรงฟันและส่งเสริมกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่โรงเรียนด้วยวิธีการแปรงแห้งตามหลักการ 222 1.2 จัดกิจกรรมอบรม “ฟันสะอาด เหงือกแข็งแรง” เพื่อปรับระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพทุกโรงเรียน และวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนสะท้อนข้อมูลแก่ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และชุมชนรวมทั้งมีการให้บริการรักษาทางทันตกรรมแก่นักเรียน และการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม
  27. ติดตามและประเมินผล กิจกรรมที่ ๕ ส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
  28. ตรวจสุขภาพช่องปาก ให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในหน่วยบริการปฐมภูมิ
  29. ส่งต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม
  30. ติดตามและประเมินผล กิจกรรมที่ ๖ ส่งเสริมสุขภาพช่องปากในอสม.
  31. ตรวจสุขภาพช่องปากและนัดรักษาทางทันตกรรมแก่อสม.
  32. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากให้ทันตสุขศึกษาแก่อสม.และประเมินความรู้ก่อน (pre-test) และหลังให้ความรู้
  33. จัดกิจกรรมอบรม“อสม.ห่วงใย เยี่ยมบ้าน เยี่ยมใจผู้สูงอายุ” 7.1 เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียง
    7.2 อสม. คัดกรองรอยโรคมะเร็งและส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม
  34. คัดเลือกอสม. เชี่ยวชาญด้านทันตสุขภาพเพื่อส่งประกวดระดับอำเภอ 8.1 จัดทำนวัตกรรมด้านทันตสุขภาพอย่างน้อย 1 เรื่อง 8.2 จัดทำสื่อด้านทันตสุขภาพ เพื่อให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสมแต่ละกลุ่มวัย
  35. จัดรณรงค์การการแปรงฟันแบบแห้งการแปรงฟันตามหลักการ 222 และการใส่ฟันเทียม
  36. จัดประชุมอสม. เป็นประจำทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อร่วมกันวางแผนและติดตามการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในชุมชนตามที่ได้รับมอบหมาย กิจกรรมที่ ๖ ส่งเสริมสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ
  37. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก ตรวจสุขภาพช่องปากและนัดรักษาทางทันตกรรม และให้บริการใส่ฟันทียมแก่สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ
  38. ประชุมสมาชิกชมรมผู้สูงอายุเป็นประจำทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อร่วมกันวางแผนและติดตามการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในชุมชนร่วมกับ อสม.
  39. จัดประกวด “คู่หูต่างวัยฟันดี”
  40. คัดเลือกผู้สูงอายุฟันดีเพื่อส่งประกวดระดับจังหวัด
  41. ติดตามและประเมินผล
  42. กำกับ ติดตามการดำเนินงานรายไตรมาสและรายปี
  43. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนแต่ละกลุ่มวัย ตั้งแต่หญิงตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัย เด็กวัยเรียนและวัยรุ่น กลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้รับการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่เหมาะสม มีสุขภาพช่องปากที่ดี นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
  2. ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็ก และเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและเด็ก
  3. เกิดมุมทันตสุขศึกษาเพื่อสร้างความตระหนักและส่งเสริมการให้ความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก ภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2562 14:42 น.