กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
อบรม17 สิงหาคม 2017
17
สิงหาคม 2017รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองพัทลุง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

๑.  ชื่อโครงการ  โครงการโรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย  ปีงบประมาณ  ๒๕๖๐

๒.  วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้ครูและนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและมีความตระหนักในการป้องกันการเกิด   โรคไข้เลือดออกในโรงเรียน                   ๒. เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนดำเนินกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่                       โรงเรียน บ้านและชุมชนของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง       ๓. เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน ๓.  งบประมาณ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองพัทลุง  เป็นเงิน  ๑๘,๖๖๐  บาท  ได้ใช้จ่ายงบประมาณทั้งสิ้น  ๑๑,๒๐๐  บาท  ซึ่งมีค่าใช้จ่าย  ดังนี้ ๓.๑ ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมประชุม  จำนวน ๗๐ คน  จำนวน ๑  มื้อ ๆ ละ
      ๕๐ บาท  เป็นเงิน  ๓,๕๐๐  บาท ๓.๒ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม  จำนวน ๗๐ คน จำนวน ๒  มื้อ
      มื้อละ  ๒๕  บาท  เป็นเงิน  ๓,๕๐๐  บาท ๓.๓ ค่าตอบแทนวิทยากร  จำนวน ๖ ชม. ๆ ละ ๖๐๐ บาท  เป็นเงิน  ๓,๖๐๐ บาท ๓.๔ ค่าป้ายไวนิลโครงการ  จำนวน  ๑  ป้าย  เป็นเงิน  ๖๐๐  บาท                                                   รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  ๑๑,๒๐๐ บาท                 คงเหลือเงินเมื่อหักค่าใช้จ่าย  ๗,๔๖๐ บาท

๔.  ระยะเวลาดำเนินการ วันที่  ๑๗  สิงหาคม  ๒๕๖๐  ณ  ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลเมืองพัทลุง ๕.  ผลการดำเนินงาน จัดประชุมให้ความรู้  คำแนะนำและแนวทางการดำเนินงานโรคไข้เลือดออกแก่ผู้บริหารโรงเรียน  และครูอนามัยโรงเรียน  ในวันที่  ๑๗  สิงหาคม  ๒๕๖๐  ณ  ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลเมืองพัทลุง  โดยมีกิจกรรมดังนี้ ๕.๑  นายสุเมธ  บุญยก  นายกเทศมนตรีเมืองพัทลุง  เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม
๕.๒  ผู้เข้าร่วมประชุม  ประกอบด้วย  ผู้บริหารโรงเรียนและครูอนามัยโรงเรียนในเขตเทศบาลจำนวน  ๒๙  โรงเรียน  และ  เจ้าหน้าที่จากเทศบาลเมืองพัทลุง  โรงพยาบาลพัทลุง  ศูนย์แพทย์ชุมชนทั้ง  ๓  ศูนย์  จำนวน  ๗๐  คน

๕.๓  การอบรมครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนวิทยากรจาก  โรงพยาบาลพัทลุงและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง  บรรยายให้ความรู้  โดยมีเนื้อหาในการอบรม  ดังนี้
-  สถานการณ์โรคไข้เลือดออก -  โรคไข้เลือดออกแลโรคติดต่อที่พบบ่อยในโรงเรียน -  การดำเนินงานโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน ๖.  ข้อเสนอแนะการดำเนินงานโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนจากผู้เข้าร่วมประชุม ๖.๑  ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขลงไปให้ความรู้แก่นักเรียนอย่างน้อยภาคเรียนละ  ๑  ครั้ง ๖.๒  มีแกนนำนักเรียนหรืออาสาสมัครนักเรียน  สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ               ยุงลายทุกวันศุกร์  สัปดาห์ละ  ๑  ครั้ง ๖.๓  ควรมีครูผู้รับผิดชอบแต่ละอาคารเรียน ๖.๔  มีการเรียนการสอนเรื่องโรคไข้เลือดออกบูรณาการกับวิชาอื่น ๆ ๖.๕  มีแบบสำรวจลูกน้ำยุงลายให้กับนักเรียนทั้งที่โรงเรียนและบ้าน  เพื่อใช้ในการสำรวจ       แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย  เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการดำเนินงานควบคุม       โรคไข้เลือดออกในโรงเรียน ๖.๖  จัด  camp  ให้ความรู้แก่นักเรียน ๖.๗  มีการตรวจติดตาม  ประเมินผล  สุ่มสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน       อย่างน้อยภาคเรียนละ  ๑  ครั้ง ๗.  แนวทางการดำเนินงานหลังการประชุม  เพื่อให้เกิดกิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในโรงเรียน  คือ ๗.๑  ประชุมคณะทำงาน  ประกอบด้วย  เจ้าหน้าที่งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ  ฝ่ายบริการสาธารณสุข  กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม  เทศบาลเมืองพัทลุง  เจ้าหน้าที่งานป้องกันควบคุมโรคและระบาดวิทยาโรงพยาบาลพัทลุง  และเจ้าหน้าที่ศูนย์แพทย์ชุมชนดอนยอ  ศูนย์แพทย์ชุมชนคูหาสวรรค์  ศูนย์แพทย์ชุมชนท่ามิหรำ เพื่อกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานโรคไข้เลือดออก  ในโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง

๗.๒  จัดประกวดโรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลาย  โดยมีคณะกรรมการลงประเมินตามเกณฑ์การประกวด ๗.๓  ติดตามประเมินผลโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลายในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง  เดือนละ  ๑  ครั้ง  เพื่อให้มีกิจกรรมการป้องกันและควบคุม
      โรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน  เป็นโรงเรียนต้นแบบในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง  และดำเนินการให้ทุกโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงเป็นโรงเรียนปลอดลูกน้ำยุงลายอย่างถาวร

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 70 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย