กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กท่าสาปมีคุณภาพด้วยกระบวนการกิน กอด เล่น เล่า เฝ้าดูฟัน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ท่าสาป
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 32,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนูฮายาตี มะแซ
พี่เลี้ยงโครงการ นางยูนัยดะห์ กะดะแซ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.538,101.235place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 13 พ.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 32,900.00
รวมงบประมาณ 32,900.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ           จาการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาปในปี 2559-2561 ผลการดำเนินงานความครอบคลุมของการเฝ้าระวังทางโภชนาการเด็ก 0-5 ปี และมีส่วนสูงระดับดีรูปร่างสมส่วน (ปีงบประมาณ 2559-2561) ในเขตรับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป พบว่าค่าเฉลี่ยปีงบประมาณที่เด็ก 0-5 ปี มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนมากที่สุด คือ ปีงบประมาณ 2560 มีเด็กอายุ 0-5 ปี ในเขตพื้นที่ตำบลท่าสาปได้รับการคัดกรองโภชนาการ ร้อยละ 80.69 มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน คิดเป็นร้อยละ 63.63 รองลงมา คือ ปีงบประมาณ 2559 ร้อยละ 59.29 และปีงบประมาณ 2561 ร้อยละ 51.39 ตามลำดับและในการคัดกรองพัฒนาการ เด็กอายุ 9,18,30 และ 42 เดือน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป (ปีงบประมาณ 2559 – ปีงบประมาณ 2562 ตั้งแต่ตุลาคม 2561 –กุมภาพันธ์ 2562) พบว่า เด็ก 4 กลุ่มวัยที่มีพัฒนาการสมวัยมากที่สุดในปีงบประมาณ 2560 มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 97.06 รองลงมา ปี 2561 คิดเป็นร้อยละ 97.76 , ปีงบประมาณ 2559 คิดเป็นร้อยละ 97.76 และปีงบประมาณ 2562 คิดเป็นร้อยละ 91.84 ตามลำดับ และเด็ก 0-5 ปี ในตำบลท่าสาป ปีงบประมาณ 2562 (ตุลาคม 2562-กุมภาพันธ์ 2562) ปราศจากฟันผุ คิดเป็นร้อยละ 44.76 ซึ่งจากผลการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป จึงได้จัดทำโครงการเด็กท่าสาปมีคุณภาพด้วย กระบวนการ กิน กอด เล่น เล่า เฝ้าดูฟัน เพื่อสร้างรากฐานและสร้างความรู้ ความตระหนักแก่ผู้ปกครองในการดูแลบุตรหลานให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ได้รับความรู้ด้านอาหาร โภชนาการ พัฒนาการ และการดูแลฟันตั้งแต่ซี่แรก  การสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ ในกลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ

1.เด็กที่มีอายุ 0-5 ปี ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ พัฒนาการสงสัยล่าช้าได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการและพัฒนาการ ร้อยละ 80        .

1.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้เด็กที่มีอายุ 0-5 ปี มีสุขภาพช่องปากที่ดี ปราศจากฟันผุ

2.เด็กที่มีอายุ 0-5 ปี มีสุขภาพช่องปากที่ดี ปราศจากฟันผุ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 32,900.00 0 0.00
26 ก.ค. 62 2. อบรมผู้ปกครองเด็กและบุคลากรในศูนย์เด็กเล็ก จำนวน 50คน โภชนาการ พัฒนาการ และสุขภาพช่องปากนั้น สำคัญ 0 7,300.00 -
30 - 31 ก.ค. 62 1. อบรมผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี ในพื้นที่ตำบลท่าสาป ด้วยกระบวนการ กิน กอด เล่น เล่า เฝ้าดูฟัน จำนวน 100 คน 0 25,600.00 -

1 . ขั้นเตรียมการ (Plan)           1.1 เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะโภชนาการ พัฒนาการ และสุขภาพช่องปากเด็ก 0 – 5 ปี ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา           1.2 ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าหน้าที่รพ.สต.   1.3 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 2. ขั้นดำเนินการ (Do)   2.1 ประสานงานกับ อสม. 6 หมู่บ้าน เพื่อเตรียมชุมชน สถานที่ เด็ก 0-5 ปี และผู้ปกครองเด็ก
  2.2 ประชุมชี้แจงแก่คณะทำงาน   2.3 จัดอบรมผู้ปกครองในเขตพื้นที่ตำบลท่าสาป จำนวน 80 คน   2.4 ติดตามชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก แปลผลโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์ อ้างอิงการเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 0-5 ปี WHO   2.5 ติดตามเยี่ยมในรายที่มีปัญหาทุพโภชนาการพร้อมให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการพื้นฐาน
  2.6 ในรายที่พบขาดสารอาหารรุนแรงประสานงานกับโรงพยาบาลศูนย์ยะลาเพื่อส่งเข้าคลินิกรักษาต่อ   2.7 ติดตามเยี่ยมในรายที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้า พร้อมให้ความรู้ด้านการกระตุ้นพัฒนาการพื้นฐาน   2.8 ในรายที่มีปัญหาทางพัฒนาการหรือพัฒนาการล่าช้าไม่สมวัย จะมีการประสานงานกับโรงพยาบาลศูนย์ยะลาเพื่อส่งเข้าคลินิกรักษาต่อ
        3. ขั้นการประเมิน (Check) และรายงานผล   3.1 ประเมินผลของโครงการ (เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ)           3.2 จัดประชุมสรุปผลการดำเนินงานแก่ผู้เกี่ยวข้อง   3.3 ตรวจสอบการดำเนินงานแต่ละขั้นตอนตามแผนที่ได้วางไว้ 4. ขั้นนำผลประเมินไปใช้พัฒนา (Act)           4.1 ดำเนินงานเพื่อหาข้อสรุปและข้องบกพร่อง           4.2 นำผลการติดตามไปใช้พัฒนารูปแบบ วิธีการของโครงการ/กิจกรรม ดำเนินการในครั้งต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กที่มีอายุ 0-5 ปี ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ พัฒนาการสงสัยล่าช้าได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการและพัฒนาการ
    1. เด็กที่มีอายุ 0-5 ปี มีสุขภาพช่องปากที่ดี ปราศจากฟันผุ
    2. ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ด้านโภชนาการ พัฒนาการ และการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรตั้งแต่ซี่แรก ในเด็ก 0-5 ปี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2562 10:24 น.