กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ท่าสาป
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 20,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอาซีซะห์ สะอีดี
พี่เลี้ยงโครงการ นางยูนัยดะห์ กะดะแซ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.538,101.235place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 13 พ.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 20,400.00
รวมงบประมาณ 20,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรัง และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก ถึงแม้ว่าจะมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน แต่ความชุกและอุบัติการณ์ กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในชุมชนเมืองและในชนบท  อีกทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานนั้น ถ้ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งทางตา ไต เท้า สมอง หัวใจ หรืออาจหมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ติดเชื้อง่าย หลอดเลือดตีบหรือแตกในสมอง ทำให้เป็นอัมพาตได้ผลกระทบของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน มีทั้งกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยและครอบครัว คือ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆการรักษาพยาบาล รวมทั้งสูญเสียอวัยวะ และความพิการซึ่งเกิดขึ้นได้มาก กว่าคนปกติ รวมทั้งมีผลกระทบถึงสภาพจิตใจด้วย นอกจากนี้ผลเสียทางอ้อมอันเกิดจากภาวะแทรกซ้อนและการมีพยาธิสภาพ ซึ่งทำให้เกิดความพิการหรือไร้สมรรถภาพ เช่น ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ขาดรายได้จากการทำงาน สมรรถภาพในการทำงานลดลง การสูญเสียทรัพยากรบุคคลและอาจมีอายุสั้นกว่าปกติ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดีพอ อีกทั้งรัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเวชภัณฑ์จากต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายในด้านอุปกรณ์การตรวจโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนด้วยเหตุที่โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง การรักษาเพื่อควบคุมโรคนั้นประกอบไปด้วยการควบคุมอาหาร การใช้ยาเบาหวาน การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพทั่วไป ซึ่งถ้าผู้ป่วยรู้จักปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว ก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดใกล้เคียงกับคนปกติและสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ยืนยาวและมีความสุข
ข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานจังหวัดยะลา ปี 2559 – 2561 จำนวน 12,328 , 12,776 และ 13,770  คนตามลำดับ  และจากผลการตรวจหาค่าระดับน้ำตาลในเลือด HbA1C ผู้ป่วยเบาหวานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ( รายงาน NCD 43 แฟ้ม ) เปรียบเทียบระหว่างปี 2559ถึงปี 2561 พบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีมีแนวโน้มดีขึ้น คือร้อยละ 17.15 , 21.68 และ 27.05 ตามลำดับ ในระดับอำเภอเมืองปี 2561 ผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีมีร้อยละ 19.98
ผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาปปี 2559ถึงปี 2561 ผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีมีเพียงร้อยละ 16.99 , 19.13 และ 18.10 ตามลำดับ  และจากการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ไต ตา เท้า ปี 2559ถึงปี2561 พบว่าผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนทางไตร้อยละ 23.49 , 31.42 และ 24.69 ตามลำดับ ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนทางตาร้อยละ 12.37 , 17.8 และ 18.18 ตามลำดับ  ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนทางเท้าร้อยละ 22.40 , 23.80 และ 24.18 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานตำบลท่าสาปในกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ( ข้อมูล HbA1C ปี 2559ถึงปี 2561 ) ส่วนมากเกิดจากพฤติกรรมขาดการออกกำลังกาย ร้อยละ 82 ไม่ควบคุมอาหาร ร้อยละ 56.66 มีความเครียด ร้อยละ 22.33 ขาดยา ร้อยละ 10
    จากสถานการณ์ที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต ตา และเท้าเพิ่มขึ้นทุกปี  และส่งผลเสียต่อผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงขาดสมรรถภาพในการประกอบอาชีพด้วย ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาปจึงจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวานขึ้นเพื่อแก้ไข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน มีความรู้ ในการดูแลตนเอง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม ( HbA1c ) ไม่ให้เกิน 7 mg%

1.ร้อยละ 25 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดมีระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม ( HbA1c ) ไม่ให้เกิน 7 mg%

1.00
2 2. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ร้อยละ 5 ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้าลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
2 ส.ค. 62 อบรมให้ความรู้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 20,400.00 -
รวม 60 20,400.00 0 0.00
  1. ประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการ ทีมงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
  2. คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย 60 คน จากจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด 216 คน
  3. แบ่งกลุ่มผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2 รุ่นรุ่นละ 30คน จำนวน 2 วัน
  4. ติดตามผล น้ำตาลเฉลี่ยสะสม ( HbA1c ) หลังเข้าร่วมกลุ่มทุก 3 เดือน จำนวน 2 ครั้ง
  5. ติดตามผลการตรวจภาวะแทรกซ้อนตา ไต เท้า ประจำปี 2562
  6. ประมวลผลข้อมูลและสรุปโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.  ผู้ป่วยเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ดี 2.  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาปได้แนวทางในการดูแลผู้ป่วย 3.  เกิดบุคคลต้นแบบในการดูแลสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2562 11:14 น.