กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 62-L5162-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระแสสินธุ์
วันที่อนุมัติ 12 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 31 ธันวาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2562
งบประมาณ 8,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประกิต กัลยา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกระแสสินธุ์ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2930 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)
2,930.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา     อำเภอกระแสสินธุ์ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน ในปี 2559-2561 เท่ากับ 84.50, 352.56 และ 146.15 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ    การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน  มีนาคม – กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน เทศบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในวัด โรงเรียนและชุมชน ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย

ค่าดัชนีลูกน้ำไม่เกินเกณฑ์ (HI<=10 CI=0)

0.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ ๑๖ ของค่า มัธยฐาน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 47,500.00 0 0.00
??/??/???? จัดประชุมและอบรมให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออก 0 47,500.00 -
  1. จัดประชุมและอบรมให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออก
    • จัดประชุมและอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่ ครู อสม. ผู้นำชุมชน ประชาชนทั่วไป
    • ให้สุขศึกษา โดยการแจกแผ่นพับโรคไข้เลือดออก และทรายกำจัดลูกน้ำ
  2. สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์พร้อมทำลายลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนผนึกกำลังเยาวชนด้านภัยไข้เลือดออก
    • ประสานกับครูเพื่อให้นักเรียนสำรวจบ้านของนักเรียน
    • พ่นหมอกควัน ในอาคารเรียน ห้องเรียน 2 ครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์ ปีละ 2 ครั้ง
  3. สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ในเขตพื้นที่ชุมชนหมู่บ้านโดยอาสาสมัครสาธารณสุข
    • ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่ประชาชนทั่วไป
    • ให้สุขศึกษา โดยการแจกแผ่นพับโรคไข้เลือดออก และทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย
    • รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกวันศุกร์  และสำรวจบ้านทุกหมู่บ้านทุกครัวเรือนโดย อสม.
      4.รณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดยุงลาย โดยวิธี 4.1 ทางกายภาพ รณรงค์ให้ชุมชนร่วมโรงเรียน ร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในชุมชนและโรงเรียน 4.2 ใช้สารเคมี ใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน และโรงเรียนโดย อสม. และ พ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย 4.3 ทางชีวภาพ สนับสนุนให้ชุมชนปลูกพืชไล่ยุง เช่นตะไคร้หอมไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง 5.ติดตาม ประเมินผล 6.จัดประชุมทีมเคลื่อนที่เร็ว SRRT ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข สื่อมวลชน ครูอนามัยโรงเรียน เพื่อสร้าง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในเขตรับผิดชอบมีความรู้ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
  2. ประชาชนในเขตรับผิดชอบมีส่วนร่วมและรณรงค์ในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
  3. ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออก
  4. การมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ก.ค. 2562 11:53 น.