กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลาย
รหัสโครงการ 2562-L1490-1-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลโคกหล่อ
วันที่อนุมัติ 4 กรกฎาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 139,580.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายคณพศ ศรีประภา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.524,99.615place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลายเป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหะของโรค นับวันจะมีความรุนแรงและมีอัตราป่วยมากขึ้นเรื่อย ๆ ในพื้นที่ตำบลโคกหล่อ  ซึ่งถือว่าเป็นโรคระบาดที่อันตราย ในอดีตโรคไข้เลือดออกมักจะเป็นเฉพาะในกลุ่มเด็กเท่านั้น แต่ในปัจจุบันพบได้ทุกกลุ่มอายุและเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และการสาธารณสุขระดับประเทศ เนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราตาย การป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วย ชุมชน สังคมและประเทศชาติ ตามลำดับ  ซึ่งโรคไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญและมักจะระบาดในช่วงเดือน พฤษภาคม – ตุลาคม แต่ในปัจจุบันระบาดได้ในทุกเดือน ของทุกปี  ในพื้นที่ตำบลโคกหล่อ พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลาย เป็นจำนวนมาก หากไม่มีการดำเนินการควบคุมและป้องกันที่มีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง จะทำให้อัตราการแพร่ระบาดของโรคจะกระจายไปเป็นจำนวนมากยากแก่การควบคุม ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะมีประสิทธิภาพต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน  ตั้งแต่ ประชาชน  ผู้นำชุมชน กลุ่ม อสม. กลุ่มสตรี  กลุ่มประธานชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลาย โดยการควบคุมทางกายภาพ เช่น การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และการควบคุมทางเคมี เช่น การใส่ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย เป็นต้น

        กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลโคกหล่อ  อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง เล็งเห็นถึงความสำคัญและอันตรายจากโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลาย จึงจัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลายในเชิงรุก ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนองค์กรชุมชน ผู้นำชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ประชาชน  กลุ่มสตรี  กลุ่มอสม.  ผู้นำชุมชน และเทศบาลตำบลโคกหล่อมีการเดินรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง

1.00
2 เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

มีการพ่นหมอกควันป้องกันโรคไข้เลือดออกครอบคลุมทุกหลังคาเรือน สถานที่ราชการ และพ่นหมอกควันควบคุมโรค  ทุกราย

1.00
3 เพื่อจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ในการป้องกันและควบคุมโรคและสามารถรับสถานการณ์โรคได้อย่างทันท่วงที

มีวัสดุ อุปกรณ์พร้อมใช้งานในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 139,580.00 0 0.00
1 ส.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 การรณรงค์ตามโครงการฯ พ่นหมอกควันให้ครอบคุลมทั้งตำบลโคกหล่อ 0 139,580.00 -

ขั้นที่ 1 ขั้นวางแผน

    1) เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ

  2) ประชุมชี้แจงเพื่อวางแผนการดำเนินงาน

  3) จัดทำแผนการรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

  4) จัดทำแผนพ่นหมอกควันครอบคลุมทั้งตำบล

  5) จัดตั้งทีมเคลื่อนที่เร็วในการควบคุมโรค

ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินงาน

    1) จัดซื้อ/จัดจ้าง วัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินงาน

    2) ประชาสัมพันธ์โครงการฯ

3) เดินรณรงค์แจกแผ่นพับ เคมีกำจัดลูกน้ำ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในภาพรวม     ตำบล โดย อสม. นักเรียน ผู้นำชุมชน กลุ่มสตรี ประธานชุมชน และองค์กรปกครองส่วน     ท้องถิ่น จำนวน 1 ครั้ง

  4) ติดป้ายไวนิล รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก

  5) รถประชาสัมพันธ์ รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก

  6) พ่นหมอกควันป้องกันโรคไข้เลือดออกทั้งตำบล จำนวน 1 ครั้ง

  7) พ่นหมอกควันควบคุมโรคไข้เลือดออก บ้านผู้ป่วยและรัศมีบ้าน 100 เมตร

ขั้นที่ 3 สรุปผลการดำเนินโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
  2. มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ลดลง
  3. ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
  4. สามารถควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ก.ค. 2562 13:16 น.