กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เสริมสร้าง ไอคิว อีคิว ในเด็กวัยเรียน สำหรับผู้ปกครอง
รหัสโครงการ 62-L4119-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลธารโต
วันที่อนุมัติ 16 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมารียัม แวหะยี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลธารโต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.167,101.187place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กถือว่าทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่งต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต การที่เด็กจะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพนั้น เด็กจะต้องมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบันและอนาคต และการที่เด็กจะมีความสมบูรณ์ได้ในทุกๆ ด้านนั้น ย่อมต้องมีองค์ประกอบและปัจจัยหลายๆ อย่าง และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะส่งผลต่อการพัฒนาไอคิวอีคิวเด็กนั้นก็คือผู้ปกครองหรือผู้เลี้งดูเด็ก   กระทรวงสาธารณสุขจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กทุกกลุ่มวัย ได้แก่ เด็กปฐมวัย วัยเรียน และวัยรุ่น โดยมีจุดมุ่งหมายให้เด็กวัยเรียนได้รับการส่งเสริมไอคิวและอีคิวในวัยเรียน เพื่อให้เด็กมีความฉลาดทางสติปัญญาเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 100 ถือว่าเป็นไอคิวเฉลี่ยตามเกณฑ์มาตรฐานสากล และมีความฉลาดทางอารมณ์ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 70 และผลจากการสำรวจระดับสติปัญญาเด็กไทยของกรมสุขภาพจิต พ.ศ.2559 กลุ่มตัวอย่างเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั่วประเทศจำนวน 23,641 คน พบว่าเด็กมีคะแนนไอคิวเฉลี่ยอยู่ที่ 98.2 ขณะที่เด็กในเขตอำเภอเมืองมีไอคิว 101.5 และเด็กในพื้นที่ กทม. มีไอคิวเฉลี่ย 103.4 ส่วนเด็กที่อยู่ในเกณฑ์บริการสุขภาพที่ 12 (7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง) มีคะแนนไอคิวเฉลี่ยอยู่ที่ 94.76 ซึ่งถือว่ามีไอคิวเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานสากล และผลการจากการสำรวจไอคิวของเด็กจังหวัดยะลา มีคะแนนไอคิวเฉลี่ยอยู่ที่ 93.51 โรงพยาบาลธารโตได้มีการสุ่มประเมิน คัดกรองเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในอำเภอธารโต พบว่าเด็กนักเรียนมีปัญหาเสี่ยงสงสัยในเรื่องไอคิว/อีคิว ในปี พ.ศ.2559-2561 ร้อยละ 32, 34 และ 35 ตามลำดับ กลุ่มเด็กที่มีปัญหาสงสัยเรื่องไอคิว/อีคิว จะส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก ส่งผลให้การเรียนของเด็กตกต่ำลง จากข้อมูลข้างต้นทำให้เด็กวัยเรียนเข้าสู่ระบบ การเข้าถึงบริการในโรงพยาบาลธารโต ปี 2559-2562 จำนวน 5, 15, 30 และ 39 ราย ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าการดำเนินงานที่ผ่านมากลุ่มเป้าหมายเข้าถึงบริการมากขึ้น ทั้งจากการคัดกรองในโรงเรียน และการนำส่งของครูและผู้ปกครอง   ในการนี้งานสุขภาพจิต กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวและบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลธารโต ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการส่งเสริมและพัฒนาสติปัญญาและอารมณ์ของเด็กนักเรียน และส่งเสริมเพิ่มเติมการเรียนรู้ในกลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในพื้นที่ จึงจัดทำโครงการเสริมสร้าง ไอคิว อีคิว ในเด็กวัยเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต ความฉลาดทางสติปัญญาและวุฒิภาวะทางอารมณ์ของเด็กให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและสร้างสรรค์เพื่อเป็นความหวังของคนในพื้นที่และชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักเกี่ยวกับการส่งเสริมไอคิวและอีคิวในบุตรหลาน

 

0.00
2 เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้รับการประเมิน ไอคิวและอีคิวร้อยละ 100

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. สำรวจปัญหาเรื่องการเรียนในกลุ่มเด็กวัยเรียน
  2. จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ
  3. จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานประกอบด้วย ครูประจำชั้นแต่ละโรงเรียน นักจิตวิทยา พยาบาลวิชาชีพ และนักวิชาการสาธารณสุขโรงพยาบาลธารโต เพื่อวางแผนการคัดกรองและอบรมให้ความรู้ กำหนดวันการคัดกรองและอบรมให้ความรู้ ตามความเหมาะสมและสะดวกของโรงเรียน
  4. ประสานทางโรงเรียนเพื่อชี้แจงผู้ปกครองเข้าร่วมการอบรมให้ความรู้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายดังนี้   4.1 ผู้ปกครองเด็กนักเรียนชั้น ป.1 โรงเรียนบ้านนิคมสร้างตนเองธารโต จำนวน 100 ราย   4.2 ผู้ปกครองเด็กนักเรียนชั้น ป.1 โรงเรียนนิคมสร้างตนเองธารโต 5 จำนวน 20 ราย
  5. กำหนดการจัดการอบรมให้ความรู้ ผู้ปกครองเด็กนักเรียนชั้น ป.1 ทั้ง 2 โรงเรียน
  6. ประเมินผลโครงการและติดตามเด็กนักเรียนในกลุ่มที่เสี่ยงสงสัยต่อไป
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องการส่งเสริม ไอคิวและอีคิว และไปใช้ในการสังเกตและส่งเสริมพัฒนาการด้านความฉลาดทางความคิดและอารมณ์ของบุตรหลานตนเองได้
  2. ผลจากการประเมินไอคิวและอีคิวเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 80 เฉลี่ยปกติ
  3. เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีระดับไอคิวอีคิวผิดปกติได้รับการดูแลบำบัดรักษา
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2562 09:34 น.