โครงการส่งเสริมพัฒนาการและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน ศพด. ทั้ง 4 ศูนย์ ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ปี 60
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมพัฒนาการและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน ศพด. ทั้ง 4 ศูนย์ ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ปี 60 |
รหัสโครงการ | 60-L6961-03-3 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้ง 4 ศูนย์ |
วันที่อนุมัติ | 24 มีนาคม 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 440,900.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้ง 4 ศูนย์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.008,101.949place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 496 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ศพด. เป็นสถานที่ในการเตรียมความพร้อมทักษะในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทักษะด้านภาษา ด้านสังคม การปรับตัว ทักษะการช่วยเหลือตนเอง ทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ รวมถึงการรับประทานอาหารที่มี
ประโยชน์ครบทุกหมู่ ให้เด็กก่อนวัยเรียน ทั้งนี้ เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนมีสุขภาพที่แข็งแรง มีพัฒนาการที่สมวัย มีทักษะด้านกาย จิตใจ สังคม และ ภาษาที่เหมาะสมตามวัย
จากการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการทุก 3 เดือน ในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้ง 4 ศูนย์ มีเด็กทั้งสิ้น 716 ราย พบว่าเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ ผอม อ้วน เตี้ย น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ และ พัฒนาการสงสัยล่าช้า รวมทั้งหมด 202 ราย แบ่งเป็นเด็กผอม จำนวน 78 ราย เด็กอ้วน 36 ราย เด็กเตี้ย จำนวน 46 ราย เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 42 ราย และ เด็กพัฒนาการสงสัยล่าช้า จำนวน - ราย ซึ่งเป็นปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน และ เป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข เฝ้าระวังติดตามต่อเนื่อง และ ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองจึงจะสำเร็จ ถ้าหากครูผู้ดูแลเด็ก และ ผู้ปกครองละเลยไม่ได้หาทางแก้ไขก็จะกลายเป็นปัญหา
ระยะยาวต่อไป ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้ง 4 ศูนย์ฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นมา
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจ และจัดอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการแก่เด็ก
|
||
2 | 2.เพื่อให้เด็กได้รับประทานอาหารที่ครบทุกหมู่ และถูกหลักตามโภชนาการ
|
||
3 | 3.เพื่อให้เด็กได้รับ การส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการ ให้สมวัย
|
||
4 | 4.เพื่อให้ผู้ปกครอง มีความรู้ และ มีส่วนร่วมในการ กระตุ้นพัฒนาการให้สมวัย
|
||
5 | 5.เพื่อให้เด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า และ มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.ประชาสัมพันธ์ให้แก่ผู้ปกครองสำหรับเด็ก 2.จัดอบรมให้ความรู้กับผู้ปกครอง เรื่อง โภชนาการและสุขาภิบาลอาหารสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน 3.สาธิตเมนูอาหารสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนให้แก่ผู้ปกครอง 4.จัดบอร์ดประชาสัมพันธ์ เรื่อง การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ และ การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ทุกๆ 1 เดือน 5.ปรับเมนูอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการ ผอม ค่อนข้างผอม เตี้ย ค่อนข้างเตี้ย อ้วน น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ค่อนข้างน้อย และพัฒนาการสงสัยล่าช้า 6.จัดเมนูอาหารเสริมให้แก่เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ ผอม ค่อนข้างผอม เตี้ย ค่อนข้างเตี้ย อ้วน น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ค่อนข้างน้อย เช่น เมนูแซนวิชสุขภาพ เต้าฮวยฟรุตสลัด ข้าวต้มทรงเครื่อง 7.เพิ่มกิจกรรมออกกำลังกายให้เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ พร้อมแนะนำการรับประทานอาหาร ลดไขมัน เพิ่มผักผลไม้ 8.จัดกลุ่มสนทนา (Focus Group) แก่ผู้ปกครองที่มีภาวะทุพโภชนาการ ผอม ค่อนข้างผอม เตี้ย ค่อนข้างเตี้ย อ้วน น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ค่อนข้างน้อย และพัฒนาการสงสัยล่าช้า 9.ติดตามเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ ผอม ค่อนข้างผอม เตี้ย ค่อนข้างเตี้ย อ้วน น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ค่อนข้างน้อย ทุกๆ 1 เดือน 10.คัดกรองประเมินพัฒนาการเด็กกลุ่มอายุ 30 , 42 เดือน ด้วยเครื่องมือ DSPM
1.ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจ และจัดอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการแก่เด็ก 2.เด็กได้รับประทานอาหารที่ครบทุกหมู่ และถูกหลักตามโภชนาการ 3.เด็กได้รับ การส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการ ให้สมวัย 4.ผู้ปกครอง มีความรู้ และ มีส่วนร่วมในการ กระตุ้นพัฒนาการให้สมวัย 5.เด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า และ มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2560 14:11 น.