โครงการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลตาชี |
วันที่อนุมัติ | 1 สิงหาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 สิงหาคม 2562 - |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2562 |
งบประมาณ | 9,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางวรรลัดดา พรหมสุข |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตาชี อำเภอยะหา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.563,101.115place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ส.ค. 2562 | 30 ก.ย. 2562 | 9,800.00 | |||
รวมงบประมาณ | 9,800.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหนะนำโรค เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี ๒๕๐๑ ซึ่งมักเกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี แต่ปัจจุบันสามารถป่วยได้ทุกเพศทุกวัย หากเจ็บป่วยไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสมหรือช้าเกินไปอาจทำให้เสียชีวิตได้ แม้จะมีการรณรงค์ให้มีการป้องกันควบคุม ไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรค ทั้งภาครัฐและเอกชนอยู่เป็นประจำ แต่ก็ไม่สามารถทำให้โรคนี้หมดไปจากสังคมไทยของเราได้เลย การรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำลายภาชนะที่มีน้ำขัง หรือการใส่ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่จังหวัดยะลา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 21 กรกฎาคม 2562 (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา) จังหวัดยะลา มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในจังหวัดยะลา จำนวน 880 ราย เพิ่มขึ้น จากวันที่ 8 มิถุนายน 2562 จากรายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องจัดหาสารกำจัดลูกน้ำยุงลาย จัดหาทรายอะเบท ตามหนังสือที่ ยล 0023.3/ว 850 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2562 และตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ข้อ 10 (5) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ได้
อาสาสมัครสาธารณสุข ประจำตำบลตาชี จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกขึ้น เพื่อใช้ในการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกในตำบลตาชี กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำจัดยุงลาย ตามมาตรการเคาะโรงเรียน เคาะบ้าน พร้อมทั้งป้องกันไม่ให้มีผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกและไม่ให้มีผู้เสียชีวิตในแต่ละปี
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1 ควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก 1.มีการจัดกิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลาย/ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายโดยภาคีเครือข่าย |
0.00 | |
2 | ข้อที่ 2 ป้องกันการเกิดแหล่งเพาะพันธ์ของยุงลายในโรงเรียน 1.มีการจัดกิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลาย/ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในโรงเรียนบ้านตาชี |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ส.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 | จัดซื้อทรายอะเบท | 2083 | 9,800.00 | - | ||
รวม | 2,083 | 9,800.00 | 0 | 0.00 |
1.วางแผนการดำเนินงาน 2.การจัดหาวัสดุเคมีภัณฑ์ เพื่อใช้ในกิจกรรมการควบคุมโรค 3.การจัดกิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลาย/ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายโดยภาคีเครือข่าย 4.กิจกรรมการควบคุมโรคที่บ้านผู้ป่วย (กรณีพบผู้ป่วย) (ใช้ทรายอะเบท) 5.กิจกรรมการควบคุมโรคในโรงเรียน (ใช้ทรายอะเบท)
1.ป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก 2.ทำให้ลดการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2562 14:05 น.