กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมผู้สูงวัยสุขภาพดี ชีวีมีสุข
รหัสโครงการ 62-L8406-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุตำบลควนโดน
วันที่อนุมัติ 19 กรกฎาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสอาด หมาดทิ้ง
พี่เลี้ยงโครงการ นานวรวิทย์ กาเส็มสะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.814,100.06place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงวัยคือ มีประชากรอายุ ๖๐ ปี คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ ๑๐        ของประชากรทั้งหมด และผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่ผ่านมา พบว่าประเทศไทยมีจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ข้อมูลจำนวนผู้สูงอายุจังหวัดสตูลจากการสำรวจและคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดสตูล  มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ในจังหวัดสตูล จำนวน ๓๒,๙๔๙ คน เมื่อเทียบกับประชากรคิดเป็นร้อยละ ๑๐.๔๙ สำหรับพื้นที่อำเภอควนโดน มีผู้สูงอายุจำนวน 2,665 คน เมื่อเทียบกับประชากรทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 13.33 ซึ่งถือว่าอำเภอควนโดนเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ จำนวนผู้สูงอายุในเขตตำบลควนโดนมีทั้งหมด 722 คน ติดสังคม 711 คน ( ร้อยละ 98.47 ) ติดบ้าน 9 คน (ร้อยละ 1.25) ติดเตียง จำนวน 2 คน (ร้อยละ 0.28)
รัฐบาล จึงให้ความสำคัญกับการที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีนโยบายมุ่งเน้นในการดูแลผู้สูงอายุเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ มีการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิต ที่ดีอย่างยั่งยืน ปัญหาผู้สูงอายุ คือการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพด้วยความยากลำบาก และในการดำเนินชีวิตประจำวันต้องพึ่งพาผู้ดูแล ซึ่งบางคนขาดคนดูแลและพักอาศัยอยู่โดยลำพังในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม มีการปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมกับโรคที่เป็น ดังนั้นเพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการดูแลของชุมชนในการออกเยี่ยมดูแลสุขภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาวะที่ดี สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้โดยพึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่า รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และมีความสุขในการดำเนินชีวิตต่อไป การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุและสภาพปัญหาของผู้สูงอายุจึงเป็นประเด็นสำคัญของพื้นที่ตำบลควนโดน
    ดังนั้นชมรมผู้สูงอายุตำบลควนโดนได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในกลุ่มผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมผู้สูงวัยสุขภาพดี ชีวีมีสุข ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ ๒๕62

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ร้อยละของผู้สูงอายุได้รับ การพัฒนาทักษะทางกายและใจ มากกว่า ร้อยละ 80

0.00
2 2. เพื่อเป็นการสร้างขวัญ และกำลังใจให้ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า

ร้อยละของผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์                    ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30

0.00
3 ๓. เพื่อสร้างแกนนำด้านการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ให้มีความรู้ ทักษะในการดูแล ส่งเสริม ฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบ

จำนวนของผู้สูงอายุที่  ติดบ้าน ติดเตียงได้รับการเยี่ยมบ้านและดูแลตามเกณฑ์ มากกว่าร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 25,000.00 0 0.00
26 ส.ค. 62 1. กิจกรรมสานสัมพันธ์ผู้สูงวัยและฝึกทักษะอาชีพ 0 21,300.00 -
26 ส.ค. 62 2. กิจกรรมอบรมฟื้นฟูแกนนำด้านการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 0 3,700.00 -

๑. ประชุมชี้แจง คณะทำงาน สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ 2. ประชาสัมพันธ์โครงการ เพื่อสร้างกระแสในการจัดทำโครงการ ๓. สำรวจปัญหาสุขภาพเบื้องต้นของผู้สูงอายุ และแยกประเภทผู้สูงอายุ 4. จัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ผู้สูงวัยและฝึกทักษะอาชีพ อบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุทางด้านกาย และจิต
5. อบรมฟื้นฟูแกนนำด้านการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และฝึกทักษะการเยี่ยมติดตาม ผู้สูงอายุที่บ้าน
      6.สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ออกเยี่ยมให้กำลังใจผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียง     7. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการดูแลสุขภาพทางกาย และจิตที่ดีสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข       2. ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของชมรม มีการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพตนเอง       3. ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่ป่วยด้วยโรคหรือได้รับอุบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติตนที่ไม่ถูกต้อง       4. แกนนำมีส่วนร่วมในการดูแล ส่งเสริม ฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2562 10:40 น.