กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการติดตามดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงหมู่ที่ 8
รหัสโครงการ 62-L3315-02-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่8
วันที่อนุมัติ 22 กรกฎาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2562 - 30 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่8
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ส.ค. 2562 30 ส.ค. 2562 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้สภาพปัญหาทางสุขภาพเปลี่ยนไปด้วย ปัจจุบันแนวโน้มปัญหาสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นจากสาเหตุโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน  โรคหัวใจและหลอดเลือด  โรคเหล่านี้เป็นปัญหาที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลก  ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นสถานการณ์โรคไม่ติดต่อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง       โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่เป็นปัญหาอันดับสองของจังหวัดพัทลุง รองจากปัญหาโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงเป็นภาวะความดันเลือดภายในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา  โรคความดันสูงแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ชนิดที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งไม่สามารถระบุถึงต้นเหตุการณ์เกิดได้ แต่อาจจะเป็นเพราะปัจจัย อายุ: อายุมากขึ้นจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากขึ้น  มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง: โรคนี้มีโอกาสพบได้ในคนในครอบครัวเดียวกัน รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ รับประทานเกลือ มีเกลือในอาหารที่รับประทานสูงเป็นประจำ  ขาดการออกกำลังกาย น้ำหนักเกิน อ้วน สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ความเครียด ในส่วนของโรคความดันโลหิตสูงชนิดที่ทราบสาเหตุอาจเกิดได้จากหลายสภาวะ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคไต ปัญหาต่อมไทรอยด์ เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต หลอดเลือดผิดปกติแต่กำเนิด การใช้ยาบางชนิด การใช้สารเสพติด หรือแอลกอฮอล์ อันตรายจากโรคนี้ทำให้เป็นอัมพฤกษ์และอัมพาต พิการได้  ทำให้เป็นปัญหากับตนเอง ครอบครัว ชุมชน เสียค่าใช้จ่าย ค่าดูแล และขาดรายได้ การคัดกรองโรคทำได้โดยการวัดความดันโลหิตผู้รับบริการ       อำเภอควนขนุน  มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง  ในปี 2560 - 2562 จำนวน 10,662 ,10,789 และ12,100 คน ตามลำดับ คิดเป็น 1,261.81, 1,277.57และ 1,304.43 ต่อแสนประชากร มีอัตราผู้ป่วยใหม่ ในปี 2560-2562 จำนวน 851, 89 7และ 963  คน คิดเป็น 1,007.14 ,1,062.18 และ 1,141.97 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ  ในส่วนของตำบลควนขนุน มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในปี 2560-2562 จำนวน 1,036 , 1,036 และ1,197 คน ตามลำดับ มีอัตราผู้ป่วยใหม่จำนวน 81, 81 และ 69  คน คิดเป็น 962.68 ,967.16 และ 826.25 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โดยการวัดความดันโลหิตกลุ่มเป้าหมายผู้ที่มีอายุ ๓๕ ขึ้นไป ตำบลควนขนุน ในปี 2560-2562 ผลการคัดกรอง พบกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 29.31 ,43.79 และ 47.25 ตามลำดับ พบกลุ่มเสี่ยงสูง ร้อยละ 6.6 , 9.45 และ 8.26 หมู่ที่ 8 ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน มีประชากร 192 คน มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงปี 2560-2562 จำนวน 34,31 และ 36 คน คิดเป็นร้อยละ 17.00,15.98 และ 18.75 จากการคัดกรองความดันโลหิตในประชากร 35 ปีขึ้นไป พบกลุ่มเสี่ยงร้อยละ4.76, 34.12 และ53.09 พบกลุ่มเสี่ยงสูง ร้อยละ 1.19,0 และ 0 ตามลำดับ
      ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงสูงจะต้องได้รับการติดตามดูแล โดยการให้คำแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ.2 ส. และการติดตามวัดความดันโลหิตซ้ำตามเกณฑ์ที่กำหนดในแนวทางการดูแลกลุ่มเสี่ยง คือ  กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงต้องได้รับการบริการวัดความดันซ้ำ เดือนละ ๑ ครั้ง จากอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ ถ้าความดันโลหิตสูงอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงสูงต้องส่งต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อให้การรักษาตามแนวทาง ในส่วนของกลุ่มเสี่ยงสูง ต้องได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้เข้าถึงการคัดกรองที่แม่นยำ ด้วยการวัดความดันโลหิตที่บ้าน และเพื่อให้เข้าถึงการวินิจฉัยและการดูแลรักษาตามแนวทาง การติดตามวัดความดันโลหิต ต้องวัดด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตเครื่องเดิม วัดที่บ้านคนละ ๗ วันติดต่อกัน วันละ ๒ ครั้ง ตอนเช้าและตอนเย็นทุกวัน โดยบุคคลในครอบครัว หรืออาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบ เมื่อครบแล้วอาสาสมัครสาธารณสุข จะตรวจสอบความถูกต้อง และนำผลการวัดความดันโลหิตเพื่อส่งต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อการวินิจฉัย หากพบว่า เป็นผู้ป่วยรายใหม่ อาสาสมัครสาธารณสุขจะติดตามให้มาพบแพทย์เพื่อรับยา และคำแนะนำ ในรายที่ค่าความดันโลหิตยังอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง หรือเสี่ยง ให้การดูแลติดตาม วัดความดันโลหิตต่อเนื่องตามแนวทาง ทุก 1-3 เดือน ต่อไป พร้อมกับการให้คำแนะนำเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
      จากแนวทางการดูแล กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มเสี่ยงสูงความดันโลหิต จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ในการดูแล ติดตามกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขได้มีอุปกรณ์ในการดำเนินงานติดตามเยี่ยมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูง  อาสาสมัครสาธารณสุขจึงได้จัดทำโครงการติดตามดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงหมู่ที่ 8 ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 คัดกรองความดันโลหิตสูง

1.กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตซ้ำตามเกณฑ์  ร้อยละ 80 2.กลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้านร้อยละ 50 กลุ่มเสี่ยงสูงที่ผ่านการวัดความดันโลหิตที่บ้านเข้าถึงการวินิจฉัยร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,000.00 1 10,000.00
1 - 30 ส.ค. 62 จัดชื้อครุภัณฑ์การแพทย์(เครื่องวัดความดันโลหิต) 0 10,000.00 10,000.00

จัดซื้อครุภัณฑ์การแพทย์ เครื่องวัดความดันโลหิต ให้อาสาสมัครสาธารณสุข ออกติดตามวัดความดันโลหิต กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.การเข้าถึงการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรวดเร็ว
2.ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือด
3.อัตราการเกิดผู้ป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูงลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2562 15:58 น.