กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 2562 – L8010 – 3 - 01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
วันที่อนุมัติ 22 กรกฎาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มิถุนายน 2562 - 30 มิถุนายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2563
งบประมาณ 114,525.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.933,99.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรโลก ทำให้สัดส่วนของประชากรกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน เป็นเป้าหมายที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ ซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีย่อมหมายถึงบุคคลนั้นมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี มีศักยภาพในการช่วยเหลือตนเองและครอบครัว ให้ดำรงอยู่อย่างปกติสุขตามศักยภาพแห่งตน ปัจจุบันจำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุของประเทศไทยเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว ส่งผลให้ประชากรไทยเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุหรือ“ภาวะประชากรผู้สูงอายุ” อันจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง เพิ่มมากขึ้น และมีค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลปัญหาสุขภาพ

  สำหรับผู้สูงอายุนั้น ปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้นเป็นผลจากความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าประชากรผู้สูงอายุจะเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ ในอนาคตอันใกล้นี้ประกอบกลุ่มผู้สูงอายุมักเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆสูง โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุน ข้อเข่าเสื่อม โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคความจำเสื่อม ฯลฯ โดยส่วนใหญ่มักพบว่าผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวเรื้อรังมากกว่า ๑ โรคขึ้นไป สำหรับปัญหาสุขภาพของชมรมผู้สูงอายุตำบลกำแพง มีสมาชิกในชมรมจำนวน 324 คน พบว่า มีปัญหาสุขภาพ ข้อเข่าเสื่อม ร้อยละ 46.3 โรคเบาหวาน ร้อยละ 31.2 โรคความดันโลหิต ร้อยละ 76.5 เป็นต้น และจากการสุ่มสอบถามผู้สูงอายุ จำนวน 60 คน พบว่า ร้อยละ 92 ขาดความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง ขาดการออกกำลังกาย ไม่ได้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และเรื่องการบริโภคอาหาร ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ ที่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง รับประทานโปรตีนจำพวกปลา รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น อาหารควรเป็นอาหารสด สะอาดและไม่ใส่สารกันบูด ดังนั้นผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรค และควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคมและมีความสุขในปั้นปลายของชีวิต

  ชมรมผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวและให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่กับครอบครัวและบุตรหลานอย่างปกติสุขและมีสุขภาพสมบูรณ์ตามควรแก่วัย จึงได้จัดทำ “โครงการผู้สูงวัย ใส่ใจสุขภาพ” ขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้แกนนำผู้สูงอายุมีความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมตามวัย
  1. แกนนำผู้สูงอายุอย่างน้อยร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การออกกำลังกายและการบริโภคอาหารเพิ่มขึ้น

  2. แกนนำผู้สูงอายุอย่างน้อยร้อยละ 50 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสมตามวัย ตามอัตภาพ

  3. แกนนำผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ ร้อยละ 80 มีสุขภาพที่ดีขึ้นและไม่มีภาวะโรคแทรกซ้อน

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 114,525.00 5 113,175.00
1 ส.ค. 62 - 30 พ.ย. 62 กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน 0 4,400.00 4,400.00
1 - 31 ส.ค. 62 กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของแกนนำผู้สูงอายุ 0 87,675.00 87,575.00
1 ส.ค. 62 - 31 ธ.ค. 62 กิจกรรมที่ 3 การส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมให้กับผู้สูงอายุโดยใช้เพลงหรือดนตรีประกอบการออกกำลังกาย 0 12,000.00 12,000.00
1 ส.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมที่ 4 ติดตามผล 0 7,650.00 7,650.00
1 - 31 ธ.ค. 62 กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 2,800.00 1,550.00

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน

  • ประชุมวางแผนการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ รณรงค์/ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการ จำนวน 1 ครั้ง


กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของแกนนำผู้สูงอายุ

1.ตรวจประเมินสุขภาพเบื้องต้นให้กับแกนนำผู้สูงอายุ

2.ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของแกนนำผู้สูงอายุ จำนวน 4 ครั้ง (2 เดือน/ครั้ง)

  • กิจกรรมตรวจประเมินสุขภาพเบื้องต้นก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต ตรวจร่างกายทั่วไป ประเมินสุขภาพเบื้องต้น เป็นต้น โดยเจ้าหน้าที่หน่วยพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำสุขภาพในหมู่บ้าน/ชุมชน

  • กิจกรรมคลายเครียดและสันทนาการ เช่น การเล่านิทาน การละเล่นพื้นบ้าน การทายปัญหา การเล่าเรื่องตลกขบขัน การเต้นรำประกอบดนตรี การเล่าเรื่องสู่กันฟัง เป็นต้น

  • การเสริมสร้างสุขภาพจิตให้เข้มแข็ง เช่น การนั่งสมาธิ เป็นต้น

  • กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  • กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของแกนนำผู้สูงอายุ (ตามปัญหาสุขภาพและความต้องการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ)

3.กิจกรรมแกนนำผู้สูงอายุลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน/ติดเตียงในชุมชน “เพื่อนช่วยเพื่อน”

4.กิจกรรมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (สมาร์ทโฟน) ในการสื่อสาร การรายงานกิจกรรม การแนะนำการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ การคลายเครียด การถ่ายทอดความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพแก่ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นต้น

5.แกนนำผู้สูงอายุถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน/ชุมชน อย่างน้อยคนละ 5 ราย


กิจกรรมที่ 3 การส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมให้กับผู้สูงอายุโดยใช้เพลงหรือดนตรีประกอบการออกกำลังกาย

  - กิจกรรมออกกำลังกายที่เหมาะสมให้กับผู้สูงอายุ อย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละไม่น้อยกว่า 30 นาที


กิจกรรมที่ 4 ติดตามผล

  - ประชุมคณะทำงานติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการ เพื่อประเมินผลและปรับแผนการทำงาน จำนวน 2 ครั้ง



กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  • จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

  • จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น
  2. แกนนำผู้สูงอายุมีการพบปะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้มีสุขภาพกายและใจดีขึ้น
  3. แกนนำผู้สูงอายุร่วมกันออกกำลังกายกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2562 14:00 น.