กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0 –5 ปี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
รหัสโครงการ 62-L6957-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านคลอแระ
วันที่อนุมัติ 6 สิงหาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 14,325.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุทธิมา โตะหะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเระใต้ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.539,101.693place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนางานสุขภาพในปัจจุบันและอนาคต มีรูปแบบสำคัญ คือ เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ แก่ประชาชน โดยมีเป้าหมายสำคัญ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และประชาชนสามารถพึ่งตนเอง  ด้านสุขภาพได้ โดยรัฐเป็นผู้ให้การสนับสนุน และมีระบบบริการสุขภาพที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การบริการมีคุณภาพ ประชาชนสามารถเข้าถึงได้สะดวก มีประสิทธิภาพ ตลอดจนได้รับประโยชน์สูงสุด จากการบริการ การส่งเสริมสุขภาพด้านอนามัยแม่และเด็ก เป็นเป้าหมายสำคัญประการหนึ่งในแผนงานสร้างสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข นโยบายสร้างสุขภาพแห่งชาติ มีประเด็นสำคัญที่มุ่งเน้นให้ประชาชนทุกคน มีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้น อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่าง ๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัยทั้ง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ฯ โดยเฉพาะ ในเด็กแรกเกิด-72 เดือนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ 2 ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนา ในเด็กแรกเกิด-72 เดือน  ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก  โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม  การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง  การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง
      ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลอแระได้เล็งเห็นความสำคัญการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กแรกเกิด-72 เดือน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง  มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย  เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กแรกเกิด-72 เดือน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กแรกเกิด-72 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ

เด็กแรกเกิด-72 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ≥ร้อย 90

0.00
2 เพื่อลดอัตราน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ในเด็กแรกเกิด-72 เดือน

น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ในเด็กแรกเกิด-72 เดือน ไม่เกินร้อยละ 7

0.00
3 เพื่อให้เด็กแรกเกิด-72 เดือนมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน และมีพัฒนาการที่ดี และสมวัย
  1. ร้อยละของเด็กแรกเกิด-72 เดือนมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน ไม่น้อยร้อยละ 55
  2. ร้อยละของเด็กแรกเกิด-72 เดือน มีพัฒนาการตามวัย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,325.00 2 14,325.00
6 ส.ค. 62 จัดประชุมอบรมให้ความรู้ 0 4,400.00 4,400.00
6 ส.ค. 62 ออกติดตามชั่งน้ำหนักเด็กอายุ 0 – 5 ปี 0 9,925.00 9,925.00

ขั้นเตรียมการ ๑. จัดทำโครงการเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติ ๒. ประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้รับผิดชอบงานและ อสม. เพื่อให้เข้าใจวัตถุประสงค์ ขั้นดำเนินการ ๑. สำรวจข้อมูลเด็กอายุ ๐ – ๗๒ เดือน ในเขตรับผิดชอบ ๒. ติดตามชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเด็กอายุ ๐ – ๗๒ เดือนครอบคลุมทุกพื้นที่รับผิดชอบ ๓. ติดตามชั่งน้ำหนักทุก ๓ เดือนในเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ขั้นประเมินผลงานและกิจกรรม ๑. สรุปผลการดำเนินงานและนำเสนอความครอบคลุมการได้รับชั่งน้ำหนักแต่ละงวดเป็นรายหมู่บ้าน ๒. ให้โภชนาศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็ก ๓. จ่ายยาถ่ายพยาธิและวิตามิน ๔. พาไปพบแพทย์ในรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรค

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็ก 0 - 5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการครอบคลุมร้อยละ ๙๐ ๒. ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก 0 -5 ปี ลดลงไม่เกินร้อยละ๑๐ ๓. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลเด็กด้านโภชนาการและการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ๔. เด็ก0-5 ปีมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 85

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2562 20:40 น.