กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 60-L5182-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ควนขี้แรด
วันที่อนุมัติ 8 สิงหาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 พฤษภาคม 2560 - 24 พฤษภาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 33,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวเหมวดี เพรชอ่อน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.896,100.655place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 220 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางอายุเป็นประชากรสูงวัย จากการเปลี่ยนแปลงด้านภาวะการเจริญพันธุ์ และภาวะการตายของประชากร ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางอายุของประชากรไทย กล่าวคือ พลว่าในช่วง 20 -30 ปี ที่ผ่านมาทั้งจำนวนและสัดส่วนของประชากรไทยในวัยเด็ก (อายุตากว่า 15 ปี) ลดลง ในขณะที่จำนวนของประชากรในวัยแรงงาน (อายุ 15 - 29 ปี) ยังคงเพิ่มขึ้น สำหรับประชากรสูงอายุหรือประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนและสัดส่วนเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคต กล่าวคือประชากรสูงอายุเพิ่มจากประมาณ 5 ล้านคนในปัจจุบันเป็นประมาณ 10 ล้านคนในอีก 20 ปีข้างหน้า   สาเหตุของการเพิ่มจำนวนประชากรสูงอายุอย่างรวดเร็ว ทำให้พบปัญหาในผู้สูงอายุ ได้แก่ ปัญหาทางด้านสุขภาพกาย ผู้สูงอายุมักจะมีปัญหาด้านสุขภาพเสื่อมโทรม มีโรคภัยต่างๆ เบียดเบียน ทั้งโรคทางกายและทางสมอง ผู้มีอายุเกิน 65 ปี มักมีการเปลี่ยนแปลงทางสมองคือ โรคสมองเสื่อม โรคหลงลืม โรคซึมเศร้า ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุมีฐานไม่ดี ไม่มีลูกหลานดูแลอุปการะเลี้ยงดู อาจจะไม่มีรายได้ หรือรายได้ไม่เพียงพอสำหรับการเลี้ยงชีพ อาจจะไม่มีที่อยู่อาศัยทำให้ได้รับความลำบาก ปัญหาทางด้านความรู้ ผู้สูงอายถไม่มีโอกาสได้รับความรู้เพื่อการพัฒนาตนเองให้เหมาะสมกับวัย และสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และเพื่อให้เข้ากันได้กับเยาวชนรุ่นใหม่ ปัญหาทางด้านสังคมผู้สูงอายถอาจจะไม่ได้รับการยกย่องจากสังคมเหมือนเดิม โดยเฉพาะผู้ที่เคยเป็นข้าราชการ ตำแหน่งสูงซึ่งเคยมีอำนาจและบริวารแวดล้อมเมื่อเกษียณอายุราชการ อาจเสียดายอำนาจและตำแหน่งที่เสียไป เยาวชนและหนุ่มสาวหลายคนมีทัศนคติไม่ดีต่อผู้สูงอายุ เห็นคนรุ่งเก่าล้าสมัย พูดไม่รู้เรื่องและไม่มีประโยชน์ ปัญหาทางด้านจิตใจ ผู้สูงอายถจะไม่ได้รับความเอาใจใส่ และความอบอุ่นจากลูกหลานอย่างเพียงพอ ทำให้รู้สึกว้าเหว่ อ้างว้าง และอาจจะมีความวิตกกังวลต่างๆ เช่น กังวลว่าจะถูกลูกหลาน และญาติพี่น้องทอดทิ้งบ กังวลในเรื่องความตายผุ้สุงอายุมักมีอารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่น เศร้า เฉยเมย เอาแต่ใจตนเอง ผู้สูงอายุบางคนก็ยังมีความต้องการความสุขทางโลกีย์ ซึ่งไม่เหมาะสมกับวัยของตนทำให้ได้รับความผิดหวัง ปัญหาเกี่ยวกับครอบครัว ปัญหาผู้สูงอายุที่น่าเป็นห่วงคือ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม และวัฒนธรรมในอดีตจะเป็นครอบครัวใหญ่ ที่เรียกว่า ครอบครัวขยาย ทำให้มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้น และเกิดความอบอุ่นระหว่างพ่อ แม่ และลูกหลานในปัจจุบันครอบครัวคนไทย โดยเฉพาะในเขตเมืองจะเป็นครอบครัวเดี่ยวเป็นส่วนใหญ่ ลูกหลานจะมาทำงานในเขตเมืองทิ้งพ่อแม่ให้เฝ้าบ้าน ทำให้ผู้สูงอายุอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่ได้รับการดูแลและได้รับความอบอุ่นดังเช่น อดีตที่ผ่านมา ปัญหาค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันความเปลี่ยนแปลงจากภาวะทางด้านเศรษฐกิจและสังคมทำให้เยาวชนมีความกตเวทีต่อพ่อ แม่ ครูอาจารย์ น้อยลง ผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแล ต้องอาศัยสถานสงเคราะห์คนชรา ในอนาคตเมื่อประเทศไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมแบบใหม่ สังคมไทยอาจกลายเป็นสังคมตะวันตกคือ ต่างคนต่างอยู่ ไม่มีการเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน ไม่มีการทดแทนบุญคุณ บุตรหลานโตขึ้น็จะไม่เลี้ยงดูพ่อแม่เมื่อแก่ชรา   จากสภาพดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนขี้แรด เห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ประจำปี 2560 โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ซึ่งประกอบด้วย 1. การประเมินสุขภาวะผู้สูงอายุ ด้วยแบบประเมิน ADL การติดตามเยี่ยมบ้านและการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมสามารถแก้ไขปัญหาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในพื้นที่ได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองและประเมินสุขภาพของผู้สูงอายุ

 

0.00
2 เพื่อพัฒนาทักษะของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามสภาพ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมคณะกรรมการและเครือข่ายทีมงาน อสม.เพื่อชี้แจงและกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ
  2. เขียนโครงการเสนอเพื่อขอโครงการขออนุมัติงบประมาณ
  3. ประสานชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการฯ แก่ชุมชนและส่วนที่เกี่ยวข้อง
  4. สำรวจกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุในแต่ละหมู่บ้านจากข้อมูลการคัดกรองเบื้องต้น แยกกลุ่มผู้สูงอายุประกอบด้วย กลุ่มติดสังคม ติดบ้าน และติดเตียง
  5. จัดกิจกรรมอบรม ฐานสาธิตการดุแลผู้สูงอายุตามกลุ่มเป้าหมาย (แบ่งเป็น 3 รุ่น) โดยทีมงานสุขภาพจากโรงพยาบาลจะนะ
  6. ติดตามประเมินผล โดยการเยี่ยมบ้านด้านพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายทุก 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปี ตามสภาพของกลุ่มเป้าหมาย
  7. มอบเกียรติบัตรแก่ผู้ดูแลฯ ที่สามารถดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้ดีและเป็นแบบอย่างให้กับชุมชนได้
  8. ติดตาม ประเมินผล สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี
  2. ชุมชนมีระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพ เกิดเครือข่ายการพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2562 13:21 น.