กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ปัญหานักเรียนที่ทีภาวะโภชนาการ อ้วน ละเริ่มอ้วน
รหัสโครงการ 62-L8020-0-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนเจริญรัตน์ศึกษาวัฒนา
วันที่อนุมัติ 30 กรกฎาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ว่าที่ ร.ต.หญิง เสาวลักษณ์ สกูลวงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.087,100.287place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ส.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 1 ส.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 12,000.00
รวมงบประมาณ 12,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 84 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจและสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทำให้วิถีชีวิตคนไทยเต็มไปด้วยความเร่งรีบ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อแบบแผนการบริโภคอาหารของครอบครัว และเด็กวัยเรียนเป็นอย่างมากการบริโภคอาหารที่ต้องอาศัยความรวดเร็วเพื่อความสะดวกต่อการดำรงชีพ ทำให้เกิดการบริโภคอาหารประเภทจานด่วน อาหารสำเร็จรูป เข้ามามีบทบาทโดยเฉพาะกับเด็กวัยเรียน ซึ่งอาหารประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีแป้ง น้ำตาล และไขมันสูง ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทันสมัย และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งการติดเกมส์ทำให้เด็กวัยเรียนมีการเคลื่อนไหวและออกกำลังกายน้อยลง องค์ประกอบเหล่านี้ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอ้วนอันตรายของโรคอ้วนในเด็กซึ่งโรคอ้วนในเด็กกำลังเป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทย จากข้อมูลระบบ HealthData Center (HDC) ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ปี 2558 เด็กวัยเรียนมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ 11.4 และปี 2559 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 12.5 เด็กวัยเรียนที่มีภาวะอ้วนมีโอกาสเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆได้มากกว่าปกติ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน ข้ออักเสบ ขาโก่ง รวมทั้งสมาธิสั้น นอกจากนี้ในกรณีที่เด็กที่ป่วยด้วยโรคอ้วนขั้นรุนแรง มีผลกระทบต่อทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คือทำให้เกิดกลุ่มอาการ Pickwickian Syndrome ส่งผลขัดขวางต่อการเรียนหนังสือทำให้ง่วงนอนทุกครั้งที่นั่งเรียน     เนื่องจากโรงเรียนเจริญรัตน์ศึกษาวัฒนา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา พบว่าสถานการณ์แนวโน้มของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะอ้วนและเริ่มอ้วนของเด็กนักเรียน ในปี 2559 ร้อยละ 14.64 ปี 2560 ร้อยละ 15.48 ซึ่งอัตราของภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนในเด็กวัยเรียนของโรงเรียนเจริญรัตน์ศึกษาวัฒนา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา สูงกว่าเกณฑ์เป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดตัวชี้วัดเด็กวัยเรียนมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนไม่เกินร้อยละ 10 ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น     โรงเรียนเจริญรัตน์ศึกษาวัฒนา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ได้เห็นความสำคัญของปัญหาภาวะอ้วนและเริ่มอ้วนในเด็กนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการแก้ปัญหานักเรียนที่มีภาวะโภชนาการ อ้วนและเริ่มอ้วน เพื่อให้เด็กเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพการดูแลสุขภาพ การบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 นักเรียนทุกคนได้ผ่านการเข้ารับการคัดกรองนักเรียนกลุ่มเสี่ยง

ร้อยละ 100 ของนักเรียนทุกคนได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ร้อยละ 82 กลุ่มผู้ปกครองของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเริ่มอ้วนและอ้วนได้รับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากเจ้าหน้าสาธารณสุข

84.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,000.00 1 12,000.00
1 ส.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมการจัดอบรมให้ความรู้ 0 12,000.00 12,000.00
  1. คัดกรอง นักเรียนกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะตั้งแต่เริ่มอ้วน และอ้วน โดยการชั่งน้ำหนัก-วัดส่วนสูง และคัดกรองโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการคำนวณ   2. จัดอบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยจัดอบรมให้กับนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนกลุ่มเสี่ยง   3. จัดกิจกรรมการออกกำลังกายทุกวัน วันละ 30 นาที และประเมินผลเป็นรายสัปดาห์   4. สรุปผลการดำเนินงาน/รายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กนักเรียน อายุ 5-14 ปี มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
  2. นักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนมีภาวะโภชนาการที่ลดลง
  3. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2562 15:52 น.