กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหาดทราย
วันที่อนุมัติ 5 สิงหาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 36,130.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮาซียะ เงาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.559,101.059place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 61 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
จากการสำรวจสภาวะช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหาดทราย จำนวน ๕๐ คน พบว่ามีปัญหาฟันน้ำนมผุ ๓๖ คน ซึ่งสาเหตุของการเกิดฟันผุเนื่องจากเด็กชอบรับประทานอาหารรสหวานอยู่เสมอ รวมทั้งผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กขาดการเอาใจใส่ดูแลช่องปากและฟันของเด็กจึงทำให้เกิดปัญหาฟันน้ำนมผุตามมา การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่เสีย ถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้น แทนที่ จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก
การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดย การตรวจสุขภาพช่องปาก , การให้สุขศึกษา , การแปรงฟันที่ถูกวิธี , และการติดตามประเมินผล  ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหาดทราย ได้ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังทันตสุขภาพและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการนี้เฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อแก้ปัญหาเด็กก่อนวัยเรียนให้มีฟันผุไม่เกินร้อยละ ๕๐ ๒.เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียน ๓.เพื่อให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาฟันของเด็กก่อนวัยเรียน ๔.เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดการเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการส่งเสริมทันตสุขภาพ ๕.เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดี ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล

๑.แก้ปัญหาเด็กก่อนวัยเรียนให้มีฟันผุไม่เกินร้อยละ ๕๐ ๒.ส่งเสริมให้ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียน ๓.ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาฟันของเด็กก่อนวัยเรียน ๔.ผู้ปกครองเกิดการเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการส่งเสริมทันตสุขภาพ ๕.เด็กก่อนวัยเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดี ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ๑.ขั้นเตรียมการ       ๑.๑ สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบ้านหาดทราย
      ๑.๒ ศึกษาข้อมูลทางด้านครอบครัวที่มีผลต่อทันตสุขภาพของเด็ก       ๑.๓ จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติ       ๑.๔ ขออนุมัติโครงการต่อนายกองค์การบริหารส่วนตำบลธารคีรี       ๑.๕ ประชุมบุคลากรและเจ้าหน้าที่เพื่อเตรียมการและกำหนดกิจกรรมดำเนินการ

๒.ขั้นดำเนินการ   ๒.๑ จัดอบรมให้ความรู้ทางทันตสาธารณสุขและชี้แจงโครงการ แก่ ครู , ผู้ปกครอง , คณะกรรมการ     ศูนย์ และเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
      ๒.๒ ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนโดยครูผู้ดูแลเด็ก เดือนละ ๑ ครั้ง และส่งรักษาต่อในราย     ที่พบปัญหา เร่งด่วน       ๒.๓ จัดให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้แปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน โดยมีผู้ดูแลเด็กเป็นผู้ควบคุม   ๒.๔ สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กก่อนวัยเรียนมีอนามัยช่องปากที่ดีไม่เป็นปัญหา ๒. ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน ๓. ชุมชนมีส่วนร่วมและส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน ๔. ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กมีทัศนคติที่ดีในการดูแลความสะอาดของช่องปากและฟันของเด็กก่อนวัยเรียน ๕. เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2562 10:05 น.