กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีส่วนร่วม
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านปากเหมือง
วันที่อนุมัติ 26 กรกฎาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 สิงหาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 177,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุวิต เพชรทองขาว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะเต่า อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.783,99.799place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง โดยจังหวัดพัทลุงเป็นจังหวัดหนึ่งของภาคใต้ที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่องในอัตราสูง โดยข้อมูลในปี 2560 มีอัตราป่วย 147.25 รายต่อแสนประชากรซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในระดับประเทศและระดับภาคมาก (ค่าเฉลี่ยระดับประเทศเท่ากับ 25.62 รายต่อแสนประชากร และระดับภาคใต้เท่ากับ 96.23 รายต่อแสนประชากร) และยังพบว่าแนวโน้มการะบาดของโรคไข้เลือดออกในจังหวัดพัทลุงยังคงเพิ่มสูงขึ้น โดยในช่วงเดือนมกราคม 2561 พบค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี ถึงประมาณ 4เท่า

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์การระบาดและพยากรณ์แนวโน้มการระบาดตามลักษณะพื้นที่ทางภูมิศาสตร์และบริบทของชุมชน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไข้เลือดออก

1.มีรายงานข้อมูลทางวิชาการที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในบริบทของชุมชนเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

0.00
2 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม. และทีมบุคลากรที่มีหน้าที่ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

1.อสม.และทีมบุคลากรที่มีหน้าที่ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกให้มีความเข้าใจและทักษะปฏิบัติที่ถูกต้องผ่านตามมาตรฐานการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

0.00
3 3. เพื่อให้ความรู้กับประชาชนในชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้องและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค

1.ประชาชนมีความรู้ที่ถูกต้องในการควบคุมไข้เลือดออก 2. ระดับความเสี่ยงในการเกิดโรคไข้เลือดออกลดลง(ค่าHI,CI ผ่านตามเกณฑ์กำหนดของกระทรวงสาธารณสุข) 3.ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนมากกว่าร้อยละ 70

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์การระบาดและพยากรณ์แนวโน้มการระบาดตามลักษณะพื้นที่ทางภูมิศาสตร์และบริบทของชุมชน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไข้เลือดออก 2.พัฒนาศักยภาพ อสม.และบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการทำหน้าที่ป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ 3.จัดทำเอกสารเผยแพร่ ป้ายรณรงค์ต่างๆ 4.ให้คสามรู้กับประชาชนในชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อ 5.สร้างกระบวนการที่มีส่วนร่วมของประชาชนในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค 6.ประเมินผลการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อผลสำเร็จในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในระยะต่างๆ ได้แก่ ระยะก่อนเกิดโรค ระยะที่เกิดการระบาดและระยะหลังเกิดการระบาด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของไข้เลือดออก ทำให้อุบัติการของไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลงและมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในอนาคต 2.บุคลากรที่มีหน้าที่ควบคุมโรคไข้เลือดออกสามารถปฏิบัติงานควบคุมโรคได้อย่างมีมาตรฐาน 3. เกิดความยั่งยืนของระบบป้องกันควบคุมโรคในชุมชนโดยประชาชนมีส่วนร่วม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2562 10:05 น.