กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพฤติกรรมดี ระดับน้ำตาลดี คุณภาพชีวิตดี๊ดี ประจำปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพสต.ตำบลบ้านกลาง
วันที่อนุมัติ 23 กรกฎาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 12,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอัมราน เบ็ญอิสริยา
พี่เลี้ยงโครงการ คณะกรรมการ สปสช.
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.839,101.521place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 26 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานถือเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของทั่วโลกและประเทศไทย สหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติรายงานว่าในปี พ.ศ. 2558 มีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลก 415 ล้านคน มีกลุ่มเสี่ยงที่จะเปลี่ยนเป็นผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 318 ล้านคน และมีการคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2583 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 642 ล้านคน จากข้อมูลการสำรวจสุขภาพคนไทยครั้งที่ 5 ในปี พ.ศ. 2557 พบอัตราความชุกของผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 8.9 หรือมีผู้เป็นเบาหวานจำนวนกว่า 5 ล้านคน และเบาหวานยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับ 2 ของผู้หญิงในประเทศไทย (สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค, 2560) ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องจะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบของร่างกาย ได้แก่ จอตาผิดปกติจากเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง และ ภาวะแทรกซ้อนที่เท้าและขา ส่งผลกระทบต่อวิถีการดำรงชีวิต ภาระเศรษฐกิจของผู้ป่วย ครอบครัว และ ประเทศชาติ การดูแลตนเอง (Self-care) เป็นการปฏิบัติในกิจกรรมที่บุคคลกระทําด้วยตนเอง เพื่อที่จะรักษาไว้ซึ่งชีวิต สุขภาพ และเมื่อกระทําอย่างมีประสิทธิภาพ (Orem, 2001 ) การดูแลตนเองมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการรักษาเบาหวานที่ประสบความสำเร็จจะต้องได้รับความร่วมมือที่ดีจากผู้ป่วย จากผลการดําเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลางในปีงบประมาณ 2561 พบว่า ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานทั้งสิ้น 64 คน โดยแบ่งกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ตามเกณฑ์ ปิงปองจราจร 7 สี พบว่า อยู่ในกลุ่มสีเขียว 15 คน สีเหลือง 14 คน สีส้ม 12 คน สีแดง 20 คน และสีดำ 5 คน และเมื่อดูแนวโน้มของผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ โดยในปี 2558-2561 มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้โดยประเมินจากค่า HbA1C จำนวน 1, 10 ,4และ 2 คน คิดเป็นร้อยละ 1.66, 16.67, 6.67 และ 3.12 ตามลำดับ (รพ.สต.บ้านกลาง, 2561) แม้ว่าโรคเบาหวานจะเป็นโรคที่ไม่หายขาด แต่ความร่วมมือและความเอาใจใส่ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้สามารถควบคุมภาวะของโรคและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ รพ.สต.บ้านกลาง จึงเห็นความสำคัญของพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการ พฤติกรรมดี ระดับน้ำตาลดี คุณภาพชีวิตดี๊ดีขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้เห็นความสำคัญของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้านต่างๆ สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้เหมือนกับคนปกติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน อาหาร การออกกำลังกาย และภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน 2. เพื่อติดตามตรวจสุขภาพ และตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนประจำปี 3. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจจอประสาทตาและการตรวจเท้า 4. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูแลเท้าของตนเอง ป้องกันการเกิดแผลที่เท้าได้ 5. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเข้าถึงบริการและได้รับการดูแลต่อเนื่องแบบองค์รวม

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 91 12,450.00 3 12,450.00
18 ก.ค. 62 - 8 ส.ค. 62 เยี่ยมบ้านเพื่อประเมินอาการและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 5 1,600.00 1,600.00
30 ก.ค. 62 ประชุมเจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านกลางและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อสำรวจกลุ่มเป้าหมาย และชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ 26 650.00 650.00
18 ก.ย. 62 จัดอบรมให้ความรู้เรื่อโรคเบาหวาน อาหาร การออกกำลังกาย และภาวะแทรกซ้อนต่างๆจากโรคเบาหวาน 60 10,200.00 10,200.00
  1. ประชุมเจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านกลางและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อสำรวจกลุ่มเป้าหมาย และชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ
  2. สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่มีอยู่จริงในพื้นที่ โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
  3. จัดทำโครงการเสนอขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านกลาง
    1. เยี่ยมบ้านเพื่อประเมินอาการและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
    2. จัดอบรมให้ความรู้เรื่อโรคเบาหวาน อาหาร การออกกำลังกาย และภาวะแทรกซ้อนต่างๆจากโรคเบาหวาน
    3. ติดตาม และประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำในเลือดได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนประจำปี ร้อยละ 90
  3. ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจจอประสาทตาและการตรวจเท้า ร้อยละ 70
  4. ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูแลเท้าของตนเอง ป้องกันการเกิดแผลที่เท้าได้
  5. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เข้าถึงบริการและได้รับการดูแลต่อเนื่องแบบองค์รวม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2562 15:12 น.