โครงการคู่บัดดี้ รักษ์สุขภาพ
ชื่อโครงการ | โครงการคู่บัดดี้ รักษ์สุขภาพ |
รหัสโครงการ | 62-L3020-04-07 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 |
วันที่อนุมัติ | 5 พฤศจิกายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2562 |
งบประมาณ | 18,300.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสมจิตร บุญยอด |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.677,101.266place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 64 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ กำลังเป็นปัญหาทางด้านสุขภาพที่จำเป็นและจะต้องได้รับการแก้ปัญหา เนื่องจากเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังแล้วจะต้องได้รับการรักษาที่เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูง ถ้าเป็นในระยะเวลานานและไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไม่มีการเฝ้าระวังที่ดี จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ไตวาย ต้อกระจก แผลเรื้อรัง บางรายถึงขั้นจะต้องตัดอวัยวะ เช่น ขา หรือเท้า ซึ่งสาเหตุโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพทีึ่ไม่ถูกต้อง คือขาดการออกกำลังกาย มีการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมแม้ประชาชนจะมีความรู้ แต่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง ส่งผลให้ประชากรในพื้นที่มีภาวะอ้วนลงพุง ปัญหารอบเอวเกิน การส่งเสริมประชาชนให้ปฏิบัติตนถูกต้องตามพฤติกรรม 3 อ. 2 ส. ปรับพฤติกรรมการบริโภค,การออกกำลังกาย และการจัดการความเครียด รวมทั้งไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มสุรา ได้นั้นจะลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่่างๆ ได้ จากกการดำเนินงานในพื้นที่ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ขาดแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยข้ออ้างไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่สำหรับการออกกำลังกาย และมีพฤติกรรมการกินอาหารหวาน อาหารทอด อาหารเค็ม และไม่มีใครคอยกระตุ้นเดือนให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ส่งผลให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน จากพฤติกรรมข้างต้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี โดย ตัวแทน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านปลักปรือ เล็งเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ เน้นการป้องกันให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงจับคู่กันเองในการดูแลสุขภาพ คอยช่วยเหลือกันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันสามารถดูแลตนเองเพื่อไม่ให้กลายเป็นกลุ่มป่วย โดยมี อสม.คอยช่วยเหลือดูแลในการตรวจประเมินสุขภาพเพื่อเป็นการเฝ้าระวังไม่ให้ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง จึงได้จัดทำโครงการคู่บัดดี้ รักษ์สุขภาพ ปีงบประมาณ 2562
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
4 ต.ค. 62 | รณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้ | 64 | 18,300.00 | ✔ | 18,300.00 | |
รวม | 64 | 18,300.00 | 1 | 18,300.00 |
1.ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่และสมาชิกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ให้ทราบถึงโครงการ ปรึกษาและวางรูปแบบกิจกรรม 2.ประชาสัมพันธ์โครงการ 3.ดำเนินงานตามโครงการ -เขียนโครงการ -เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ -ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน -ประสานงานขอใช้สถานที่ -ประชาสัมพันธ์โครงการ -อสม. รับสมัครประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบ และจับคู่บัดดี้ในการช่วยดูแลสุขภาพ -ทำข้อตกลงระหว่างคู่บัดดี้ มอบหมายภารกิจในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการกระตุ้นเตือนการดูแลสุขภาพ -จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ 3 อ 2 ส 1 ฟ และติดตามพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เดือนละ 1 ครั้ง ระหว่าง คู่บัดดี้และ อสม.ผู้ดูแล -จัดทำแบบบันทึกสุขภาพ -การตรวจสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต ของสมาชิก 4.สรุปผลการดำเนินโครงการ -ประเมินโครงการ ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ -ประเมินสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินดัชนีมวลกาย ตรวจความดันโลหิต ของผู้เข้าร่วมโครงการเปรียบเทียบก่อนและหลังร่วมกิจกรรม
1.เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างประชาชนในหมู่บ้าน 2.ประชาชนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากพฤติกรรม 3.ประชาชนมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปรารถนา
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2562 15:23 น.