กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพฤติกรรมดี ไขมันดี ความดันโลหิตดี ชีวิตดี๊ดี ประจำปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพสต.ตำบลบ้านกลาง
วันที่อนุมัติ 23 กรกฎาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 8,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอำราน เบ็ญอิสริยา
พี่เลี้ยงโครงการ คณะกรรมการ สปสช.
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.839,101.521place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 26 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคไม่ติดต่อ เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบัน ซึ่งทั่วโลกให้ความสำคัญกับการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้นเนื่องจาก สภาวะความเป็นอยู่ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชน ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากรายงานสถิติสุขภาพทั่วโลกปีพ.ศ.2556 ขององค์การอนามัยโลก พบว่า 1 ใน10 ของประชาชนในวัยผู้ใหญ่ ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และ1 ใน 3 มีภาวะความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ พบว่าประมาณร้อยละ63 ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลก เกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำหรับประเทศไทยรายงานจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ.2551 – 2553 พบความชุกของโรคความดันโลหิตสูง ในประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป พบร้อยละ21.4 โดยพบว่าร้อยละ60 ในชายและร้อยละ40 ในหญิงไม่เคยได้รับได้รับการวินิจฉัยมาก่อนและร้อยละ8-9 ได้รับการวินิจฉัยแต่ไม่ได้รับการรักษาที่ต่อเนื่อง (เอกสารข้อมูลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (fact sheet)_สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์) การที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมโรคความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และมีผู้เสียชีวิตตามมา  โรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องต่อเนื่อง ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบของร่างกาย ทั้งภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ก่อให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ภาวะเศรษฐกิจของผู้ป่วยและครอบครัว รวมทั้งประเทศชาติ จังหวัดปัตตานีพบว่าผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ปี 2557-2560 คิดเป็นร้อยละ 9.02 9.18 18.05และ15.59 ตามลำดับ เมื่อลำดับความสำคัญของปัญหาในพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านกลาง พบว่าโรคความดันโลหิตสูง เป็นปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ขึ้นทะเบียนจำนวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 8.41 และในจำนวนนี้ พบว่า ในปี 2559 และปี 2560 มีผู้ป่วยที่ควบคุมโรคความดันโลหิตสูงได้ จำนวน 38 และ 26 คน คิดเป็นร้อยละ 28.75 และ 19.4 ตามลำดับ ซึ่งลดลง ในปี 2560 ยังพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 8.89 ของผู้ป่วยที่ลงทะเบียนไว้ ซึ่งส่วนใหญ่ เกิดในกลุ่มป่วยที่ขาดการควบคุมอาหารและขาดการรับประทานยาที่ต่อเนื่อง
ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น รพ.สต.บ้านกลาง จึงได้จัดทำ โครงการ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าว ได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนประจำปี การติดตามและปรับเลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม โดยครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพแบบยั่งยืนและมุ่งหวังในการที่จะเสริมสร้างสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ให้ดียิ่งๆขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้เรื่องความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง อาหาร การออกกำลังกาย และภาวะแทรกซ้อนต่างๆจากโรคความดันโลหิตสูง 2. เพื่อติดตามตรวจสุขภาพ และตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนประจำปี ร้อยละ 90 3. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเข้าถึงบริการและได้รับการดูแลต่อเนื่องแบบองค์รวม ร้อยละ 90

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
2 - 9 ก.ค. 62 เยี่ยมบ้านเพื่อประเมินอาการและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 5 800.00 800.00
24 ก.ค. 62 ประชุมเจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านกลางและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อสำรวจกลุ่มเป้าหมาย และชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ 26 650.00 650.00
19 ก.ย. 62 จัดอบรมให้ความรู้เรื่อโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง อาหาร การออกกำลังกาย และภาวะแทรกซ้อนต่างๆจากโรคความดันโลหิตสูง 40 7,400.00 7,400.00
รวม 71 8,850.00 3 8,850.00
  1. ประชุมเจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านกลางและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อสำรวจกลุ่มเป้าหมาย และชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ
  2. สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่มีอยู่จริงในพื้นที่ โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
  3. จัดทำโครงการเสนอขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านกลาง
  4. เยี่ยมบ้านเพื่อประเมินอาการและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
  5. จัดอบรมให้ความรู้เรื่อโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง อาหาร การออกกำลังกาย และภาวะแทรกซ้อนต่างๆจากโรคความดันโลหิตสูง
  6. ติดตาม และประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับโลหิตได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10
  2. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนประจำปี ร้อยละ 90
  3. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เข้าถึงบริการและได้รับการดูแลต่อเนื่องแบบองค์รวม ร้อยละ 90
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2562 15:30 น.