กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชาวม่วงงามร่วมใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ป้องกันโรคไม่ติดต่อด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน สู่การจัดการสุขภาพอย่างยั่งยืน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม
วันที่อนุมัติ 15 สิงหาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 สิงหาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 178,820.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.347,100.476place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลก(WHO) เล็งเห็นว่ากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง นั้น ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สังเกตจาก สถิติผู้เสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ พบว่าสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลกทั้งหมด มีถึง ร้อยละ ๖๓ ที่เกิดจากกลุ่มโรค ไม่ติดต่อเรื้อรัง และที่สำคัญกว่านั้นคือ กว่า ร้อยละ ๘๐ เป็น ประชากรของประเทศที่กำลังพัฒนา
สำหรับประเทศไทยเอง สถิติล่าสุดพบว่ามีถึง ๑๔ ล้านคนที่เป็นโรค ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และที่สำคัญยังถือเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต โดยจากสถิติปี พ.ศ. ๒๕๕๒ พบว่า มีประชากรเสีย ชีวิต จากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มากกว่า ๓๐๐,๐๐๐ คน หรือร้อยละ ๗๓ ของประชากรไทยทั้งหมดในปี ๒๕๕๒ คิดเป็นมูลค่า ความเสียหายทางเศรษฐกิจถึง ๒๐๐,๐๐๐ ล้านบาทต่อปี ทั้งสถิติการ เสียชีวิตดังกล่าวยังแสดงว่าประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตมากกว่าค่าเฉลี่ย ของทั้งโลกและมีแนวโน้มจะสูงขึ้น เรื่อยๆ ในอนาคต ซึ่งโรคในกลุ่ม โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่มีอัตราผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตสูงสุด ๖ โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนลงพุง
    จากผลการสำรวจในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ กับกลุ่มเป้าหมายประชากรไทยวัยผู้ใหญ่ พบว่า ร้อยละ ๒๑.๔ เป็นโรคความดันโลหิตสูง และที่น่าเป็นห่วงคือ อัตราการรับรู้ว่า ตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูง อัตราการเข้าถึงบริการ และอัตราการควบคุม โรคความดันโลหิตสูงได้นั้นค่อนข้างต่ำร้อยละ๖.๙ ( ๓.๒ ล้านคน ) มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อัตราการควบคุมได้ในกลุ่ม ผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงยังอยู่ในเกณฑ์ไม่น่าพอใจ โดยเฉพาะประชากร ชายที่มีน้ำตาลในเลือดสูง พบว่า ร้อยละ๕๖.๗ ที่รู้ตัว และมีเพียง ร้อยละ ๒๗.๑ ที่สามารถ ควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดได้ร้อยละ๑๙.๔หรือเกือบ ๙ ล้านคน มีภาวะไขมันคลอเรสเตอรอลสูง โดยผู้หญิงมี ความชุกมากกว่าผู้ชาย ประชากรไทยเกือบ ๑ ใน ๓ เข้าข่ายภาวะน้ำหนักเกิน ส่วนอีก ๘.๕% เข้าข่ายโรคอ้วน     จากข้อมูล HDC รายงานสถาการณ์โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของตำบลม่วงงามย้อนหลัง ๓ ปี ตั้งแต่ ปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๑ ของตำบลม่วงงาม พบว่ามีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ คิดเป็นร้อยละ ๑.๓ ,๐.๘๘ และ ๑.๕๙ ตามลำดับ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ คิดเป็นร้อยละ ๔.๗๐ ,๔.๐๐ และ ๑.๗๕ ตามลำดับ ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (ร้อยละ ๔๐) คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๒๑ ,๖.๐๘ และ ๑๑.๒๙ ตามลำดับ ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ร้อยละ ๓๖.๒๘ ,๓๑.๔๔ และ๓๑.๔๔ ตามลำดับ ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน (ร้อยละ ๕๐ ) นอกจากข้อมูลดังกล่าวแล้ว ผลการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชาการอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ปี ๒๕๖๒ พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ๕๕๖ คน (ร้อยละ ๑๑.๗๐) และเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง ๒๑๐ คน (ร้อยละ ๔.๓๔ ) ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้น     แม้ค่าสถิติการป่วยและเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจะสูงมาก แต่แท้จริงแล้ว กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง นั้นสามารถป้องกันได้ เพราะ สาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงหลักนั้น เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงของตัวเรานั่นเอง อาทิ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารหวานมันเค็ม และความเครียด ซึ่งหาก เราสามารถลด หรือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ได้ ก็จะเป็นการลด โอกาสเสี่ยงในการเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ มากถึง ร้อยละ ๘๐ เลยทีเดียว ลดโอกาส ในการเป็นมะเร็งได้ ร้อยละ ๔๐ โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ และโรคเบาหวาน ประเภทที่ ๒ ได้ถึงร้อยละ ๘๐ ดังนั้น รพ.สต.ม่วงงามจึงเล็งเห็นว่าการกระตุ้นให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จะเป็นวิธีลดอัตราผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตที่ต้นเหตุและ มีความยั่งยืนที่สุด จึงได้จัดทำโครงการชาวม่วงงามร่วมใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ป้องกันโรคไม่ติดต่อด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนสู่การจัดการสุขภาพที่ยั่งยืนขึ้น เพื่อให้ชุมชนร่วมกำหนดมาตรการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ประชากรกลุ่มปกติกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพไปในทางบวกและเกิดบุคคลต้นแบบ ผู้นำต้นแบบ ชุมชนต้นแบบ แปลงผักปลอดสารพิษต้นแบบรวมถึงปิ่นโตสุขภาพต้นแบบ ส่งผลให้ประชาชนตำบลม่วงงามมีสุขภาพร่างกายและจิตใจดี เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังลดลง มีคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจของครอบครัว ชุมชนดีขึ้น สามารถนำรูปแบบ แนวปฏิบัติไปปรับใช้กับตำบลอื่นๆในอำเภอสิงหนคร เพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เกิดมาตรการในชุมชนเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  • ทุกหมู่บ้านในพื้นที่ตำบลม่วงงามมีมาตรการชุมชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
0.00
2 ประชากรกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางบวก
  • ประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป มีค่าดัชนีมวลกาย ค่าความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด อยู่ในเกณฑ์ปกติไม่น้อยกว่าร้อยละ  ๘๐
0.00
3 เกิดแกนนำสุขภาพ บุคคลต้นแบบ ผู้นำชุมชนต้นแบบ ชมรมต้นแบบ แปลงผักปลอดสารพิษต้นแบบและปิ่นโตอาหารสุขภาพต้นแบบ
  • เกิดแกนนำสุขภาพ  บุคคลต้นแบบ  ผู้นำชุมชนต้นแบบ  ชมรมต้นแบบ  แปลงผักปลอดสารพิษต้นแบบและปิ่นโตอาหารสุขภาพต้นแบบทุกหมู่บ้านในตำบลม่วงงาม
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 178,820.00 0 0.00
19 ส.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป 0 0.00 -
19 ส.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 เวทีประชาคมคืนข้อมูลสู่ชุมชน 0 12,500.00 -
19 ส.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (๓ อ ๒ ส) แก่กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยทุกหมู่บ้าน 0 96,320.00 -
19 ส.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมออกกำลังกายเดิน-วิ่ง-เต้น (แอร์โรบิค/บาสโลบ) เพื่อสุขภาพ 0 0.00 -
19 ส.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ อย่างน้อย ๕ ชนิดในครัวเรือน 0 0.00 -
19 ส.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมรณรงค์โดย อสม. ผู้นำชุมชน ประชาชนทั่วไปเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 0 20,000.00 -
19 ส.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมเสียงตามสายต้านภัยโรคเรื้อรัง โดยบุตรหลาน อสม. 0 0.00 -
19 ส.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมติดตามเยี่ยมประเมินพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงหลังเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 0 0.00 -
19 ส.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 มหกรรมสุขภาพหมู่บ้านปรับเปลี่ยนเพื่อสุขภาพ 0 50,000.00 -

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมคณะทำงาน เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อพิจารณาขออนุมัติสนับสนุนงบประมาณ 2. จัดเตรียมเอกสาร คู่มือและแบบฟอร์มต่างๆ ขั้นดำเนินการ ๑. คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ๒. จัดเวทีประชาคม คืนข้อมูลผลการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงสู่ชุมชน เพื่อสะท้อนปัญหาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไขนำไปสู่การกำหนดมาตรการทางสังคม ทั้ง ๑๐ หมู่บ้าน กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้นำชุมชน คณะกรรมการและตัวแทนหมู่บ้านละ ๕๐ คน รวมจำนวน ๕๐๐ คน ๓. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (๓ อ ๒ ส) แก่กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยทุกหมู่บ้าน หมู่บ้านละ ๘๐ คน รวม ๘๐๐ คน พร้อมทั้งแนะนำทีมสุขภาพในการดูแลทุกกลุ่มเป้าหมาย ๔. กิจกรรมออกกำลังกายเดิน-วิ่ง-เต้น (แอร์โรบิค/บาสโลบ) เพื่อสุขภาพ โดยแกนนำแต่ละหมู่บ้าน เป็นการออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ วัน พร้อมผลักดันให้เกิดชมรมเพื่อสุขภาพ สู่การประกวด “ชมรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพดีเด่น”โดยใช้กติกาความสามารถในการระดมสมาชิกเข้าร่วมการออกกำลังกายได้มากที่สุด มีความต่อเนื่องในการทำกิจกรรมและความคิดสร้างสรรค์ในการดัดแปลงลีลาท่าทางในการออกกำลังกาย ซึ่งจะจัดประกวดในงานมหกรรมสุขภาพ ๕. กิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ อย่างน้อย ๕ ชนิดในครัวเรือน ทั้งนี้มีการประกวดแปลงผักปลอดสารพิษของแต่ละหมู่บ้านพร้อมมอบรางวัลในงานมหกรรมสุขภาพ ๖. จัดกิจกรรมรณรงค์โดย อสม. ผู้นำชุมชน ประชาชนทั่วไป พร้อมแจกเอกสารแผ่นพับการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคเรื้อรัง ควบคู่กับการใช้รถประชาสัมพันธ์ของเทศบาลเมืองม่วงงามและ รพ.สต.ม่วงงามให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรัง ๗. กิจกรรมเสียงตามสายต้านภัยโรคเรื้อรัง โดยบุตรหลาน อสม. ในแต่ละหมู่บ้านทุกวันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์ เวลา ๑๗.๐๐ น.- ๑๗.๓๐ น. พร้อมบันทึกการทำกิจกรรมเสียงตามสาย ๘. กิจกรรมติดตามเยี่ยมประเมินพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงหลังเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพร้อมสรุปผล ๑ เดือน ,๓ เดือน และ ๖ เดือน ตามลำดับ ๙. จัดมหกรรมสุขภาพหมู่บ้านปรับเปลี่ยนเพื่อสุขภาพ มอบรางวัลให้กับบุคคลต้นแบบ หมู่บ้านต้นแบบ ผู้นำชุมชนต้นแบบ แปลงผักปลอดสารพิษต้นแบบ ชมรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพต้นแบบและปิ่นโตอาหารสุขภาพต้นแบบ เพื่อเสริมพลังในการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หมุนเวียนให้บุคคลดังกล่าวพูดคุย เล่าเรื่องราวความประทับใจของความสำเร็จที่เกิดขึ้น กลุ้มเป้าหมาย หมู่ละ ๕๐ คน จำนวน ๑๐ หมู่บ้าน รวม ๕๐๐ คน ๑๐. สรุปผลการดำเนินกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนตำบลม่วงงามมีสุขภาพร่างกายและจิตใจดี เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังลดลง ส่งผลให้คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจของครอบครัว และชุมชนดีขึ้น สามารถนำรูปแบบ แนวปฏิบัติไปปรับใช้กับตำบลอื่นๆในอำเภอสิงหนคร เพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนสืบต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2562 23:32 น.