กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารปลอดภัยไร้ขยะโฟม
รหัสโครงการ 62-L3020-04-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านเตี้ย หมู่ที่ 4
วันที่อนุมัติ 5 พฤศจิกายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 23,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางส่วยบ๊ะ ปูลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.677,101.266place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ขยะประเภทโฟมในปัจจุบันจากการสำรวจปริมาณขยะประเภทโฟมจากสถิติช่วง 5 ปี (พ.ศ.2556-2560) ปริมาณขยะประเภทโฟมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจาก 56 ล้านใบ/วันเป็น 61 ล้านใบ/วัน หรือคนไทยสร้างขยะประเภทโฟมเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 1 ใบ/คน/วัน (ข้อมูลกรมควบคุมมูลพิษ) ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า วิถีชีวิต สังคมและพฤติกรรมของคนไทยในปัจจุบันตระหนักถึงความสะดวกสบาย และความรวดเร็วไม่คำนึงถึงผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเพราะโฟมเป็นพลาสติกที่ฟูหรือทำให้ขยายตัวขณะขึ้นรูปโดยใช้ก๊าซ เป็นของเสียเหลือทิ้งจากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ประกอบด้วยสารสไตรีน (Styrene) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ภาชนะบรรจุอาหารที่ทำจากโฟมนั้นมีอันตราย เพราะมีสารสไตรีน ซึ่งสามารถปนเปื้อนกับอาหารที่บรรจุในกล่องโฟมได้ หากสะสมอยู่ในร่างกายเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดมะเร็งเต้านม ในเพศหญิง มะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชาย ในหญิงมีครรภ์มีโอกาสทำให้ลูกสมองเสื่อม อวัยวะบางส่วนพิการและการรับประทานอาหารจากกล่องโฟมอย่างน้อยวันละ 1 มื้อ ติดต่อกันเป็นเวลานาน 10 ปี จะทำให้มีความเสี่ยงโรคมะเร็งสูงกว่าคนปกติถึง 6 เท่า (นพ.วีรฉัตร กิตติรัตนไพบูลย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ บริษัทบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม) และต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 1,000 ปี กว่าที่จะย่อยสลายตามธรรมชาติได้หมด   เพื่อมุ่งเน้นส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน ของคนในชุมชนตำบลม่วงเตี้ย จึงขอดำเนินโครงการ "อาหารปลอดภัยไร้ขยะโฟม" ในชุมชน หมู่ที่ 4 ตำบลม่วงเตี้ย เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับชาวตำบลม่วงเตี้ยโดยการใช้ถาดหลุมบรรจุอาหารแทนการใช้โฟมบรรจุอาหาร ในการจัดอาหารกลางวันที่มีการจัดขึ้นในการประชุมของส่วนราชการและภาคีเครือข่ายต่างๆ ในบ้านม่วงเตี้ย หมู่ที่ 4 ตำบลม่วงเตี้ย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 70 23,600.00 1 23,600.00
1 ต.ค. 62 รณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้ 70 23,600.00 23,600.00

กิจกรรมที่ 1 ประชุมแกนนำชุมชน และภาคีเครือข่าย ถึงเป้าหมายวัตถุประสงค์ -แต่งตั้งคณะกรรมการ -ประชุมชี้แจงแกนนำชุมชน หมู่ที่ 4 ต.ม่วงเตี้ย และภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง -ให้ความรู้แกนนำและภาคีเครือข่าย 70 ราย โดยวิทยากรจากศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลแม่ลาน   1.พิษภัยจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร   2.สถานการณ์ขยะโฟมในปัจจุบัน   3.เมนูอาหารที่มีประโยชน์ต่อคนกลุ่มวัยต่างๆ กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ และดำเนินการ -จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ "อาหารปลอดภัยไร้ ขยะโฟม" หมู่บ้านต้นแบบ หมู่ที่ 1 ต.ม่วงเตี้ย   *ป้ายไวนิล "โครงการอาหารปลอดภัยไร้ ขยะโฟม" ขนาด กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร จำนวน 1 ป้าย -เอกสาร แผ่นพับ ความรู้เรื่องพิษภัยจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร,สถานการณ์ขยะโฟมในปัจจุบัน,เมนูอาหารที่มีประโยชน์ต่อคนกลุ่มวัยต่างๆ -จัดซื้อถาดหลุมสแตนเลสแบบ 3 หลุม จำนวน 30 ชุด -จัดซื้อแก้วน้ำพลาสติก  จำนวน 30 ใบ -จัดซื้อช้อนสแตนเลส จำนวน 5 โหล -ประกาศ รณรงค์เสียงตามสาย   *มัสยิด วันละ 2 ครั้ง ทุกวัน   *โรงเรียนบ้านม่วงเตี้ย วันละ 2 ครั้ง ทุกวันจันทร์-ศุกร์ -แจ้งข่าว ประสานติดตามโครงการ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ที่มัสยิด หลังการละหมาดวันศุกร์ -ติดตามความก้าวหน้าในโรงเรียน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง วันอังคารบ่าย กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการดำเนินงาน ร้อยละหน่วยงานที่มีการจัดอาหารกลางวันในการประชุมของส่วนราชการและภาคีเครือข่ายต่างๆ ในบ้านม่วงเตี้ย ม.4 ตำบลม่วงเตี้ยที่ปลอดโฟม และใช้บริการถาดหลุม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในชุมชนมีความรู้ในการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพในการบรรจุอาหารแทนการใช้โฟม 2.ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในตำบลม่วงเตี้ยตระหนักและร่วมมือกันลดขยะโฟมจากบรรจุภัณฑ์บรรจุอาหาร 3.หมู่ที่ 4 ต.ม่วงเตี้ย เป็นต้นแบบในการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพในการบรรจุอาหารแทนการใช้โฟมตามนโยบาย ตำบลม่วงเตี้ยตำบลปลอดโฟมบรรจุอาหาร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2562 09:55 น.