กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนสุขภาพดีมีการออกกำลังกาย
รหัสโครงการ 62-L8402-2-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 9
วันที่อนุมัติ 30 กรกฎาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2562 - 31 ตุลาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,715.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปรีดา เพชรสวัสดิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.173,100.263place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานสุรา
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา การมีสุขภาพที่ดีมิได้หมายถึง เพียงมีหลักประกันในการเข้าถึงบริการสุขภาพเท่านั้น ต้องขึ้นอยู่กับประชาชนรู้จักการดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะโรคบางโรค สามารถป้องกันได้โดยการออกกำลังกายดีกว่าการรอให้เกิดการเจ็บป่วยแล้วค่อยรักษา จะทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรและงบประมาณในการดูแลรักษาเป็นจำนวนมาก การที่คนเรามีสุขภาพที่แข็งแรงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่ดี และคนในชุมชนบ้านหัวยางอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่อายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 266 คน ซึ่งในจำนวนนี้ มีโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดัน โลหิตสูง
อัมพฤกษ์ อัมพาต จำนวน 70 คน และจำนวนคนที่มีความเสี่ยงจากการคัดกรองเมื่อเดือน พ.ย.ปี 61 ที่ผ่านมา พบกลุ่มเสี่ยงที่มีค่าความดันโลหิตอยู่ในค่า 120/80-139/89 มม. ปรอท และค่าน้ำตาลในเลือด 100-125 มก./ดล. (mg/dL) จำนวน 50 คน   ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านหัวยางได้กระตุ้นให้ประชาชน เห็นความสำคัญในการออกกำลังกายและ เน้นการปลูกฝัง ให้ทุกกลุ่มวัยได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง ผ่อนคลายอารมณ์ เสริมสร้างความสามัคคีในชุมชนและสามารถป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง โรคแทรกซ้อนต่างๆได้อีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่คนในชุมชน กลุ่มเสี่ยง (เข้าร่วมกิจกรรม)

ประเมินดัชนีมวลกายและรอบเอว หลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมตลอดระยะเวลาโครงการ 70% ของผู้เข้าร่วมจะมี ดัชนีมวลกายที่ดี เช่น ค่า BMI อยู่ระหว่า 18.5 – 25 และวัดรอบเอว ผู้ชาย ต้องไม่เกิน 90 ซม. ผู้หญิง ต้องไม่เกิน 80 ซม. หรือน้ำหนักจะลดลงสำหรับคนอ้วน

70.00
2 เพื่อให้คนในชุมชนได้มีที่ออกกำลังกาย และที่เล่นกีฬาพร้อมทั้งอุปกรณ์กีฬา

มีแกนนำในการออกกำลังกาย 2 คน มีอุปกรณ์กีฬา ,แป้นบาส, ลูกบาส, ลูกวอลเล่ย์ ฯลฯ

70.00
3 เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

-มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละไม่ต่ำกว่า 30 นาที -นับจำนวนสถิติการเข้าร่วมการออกกำลังกายของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละวัน ว่าออกกำลังกายทุกวันหรืออย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 28,715.00 0 0.00
1 ส.ค. 62 - 31 ต.ค. 62 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง เรื่อง 3อ. 2 ส. 1 ฟ. (อนามัยช่องปาก) 0 3,725.00 -
1 ส.ค. 62 - 31 ต.ค. 62 กิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกาย 0 24,990.00 -

 ขั้นเตรียมการ   1.ประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางในการดำเนินการออกกำลังกายในชุมชน   2.เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคูหาใต้  ขั้นดำเนินการ   1.จัดอบรมกลุ่มเป้าหมาย 50 คน เรื่อง 3อ. 2 ส. 1 ฟ. (อนามัยช่องปาก)   2.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และผู้นำในการออกกำลังกาย   3.ประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบและเข้าร่วมกิจกรรม   4.ดำเนินการจัดกิจกรรมเต้นแอโรบิค โดยการจัดกิจกรรม ณ ลานกีฬา หมู่ที่ 9 ซึ่งมีประชาชนในพื้นและผู้นำเต้นเข้าร่วมและจะดำเนินการในวัน เสาร์, อังคาร ,พฤหัสบดี เวลา 18.30-19.00 น.   5.เมื่อดำเนินกิจกรรมครบ 1 เดือน จะวัดดัชนีมวลกาย เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลง   6.ดำเนินการกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกาย โดยการเชิญชวนประชาชนในพื้นที่เล่นกีฬาตามประเภทที่ถนัด
เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย  ขั้นประเมินผล 1.สรุปผลการปฏิบัติงานตามโครงการ และประเมินผลโครงการ 2.สรุปปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน พร้อมเสนอแนะวิธีการแก้ไข

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. 70 % ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะมีสุขภาพที่ดีและร่างกายแข็งแรงไม่มีโรคแทรกซ้อน
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพ และรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะมีสุขภาพจิตใจและร่างกายที่ดีและเกิดความสามัคคีในชุมชน
  4. เป็นแบบอย่างการส่งเสริมสุขภาพแก่ชุมชนในพื้นที่เทศบาลตำบลคูหาใต้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2562 14:34 น.