กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย ปลอดภัยจากไข้เลือดออก ปี 2562
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปอ
วันที่อนุมัติ 24 มิถุนายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 28,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวราตรีภรณ์ เส้งสีแดง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.33,101.804place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขของไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคระบาดที่สร้างความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมกราคม - กันยายนของทุกปี ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีอย่างต่อเนื่อง ทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้นจึงคงวรมีการดำเนินการป้องกันและควบคุม ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นะและชักนำประชาชน องค์กร ชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ดังนั้น ชมรมอาสามัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปอ จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย ปลอดภัยจากไข้เลือดออก ปี 2562 เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนร่วมมือกันกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย ซึ่งเป็นการลดจำนวนยุงที่ติดเชื้อและลด้จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราป่วยและไม่มีผู้ป่วยตาย ด้วยโรคไข้เลือดออก
  1. แกนนำอสม. และแกนนำครอบครัวประชาชนทั่วไปมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น
0.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ชุมชน และมัสยิด
  1. หมู่บ้าน/ชุมชมมีค่า HI ไม่เกิน 10 จากการสำรวจลูกน้ำยุงลายโดย อสม.และค่า CI เท่ากับ 0
0.00
3 3. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 28,300.00 3 28,300.00
26 ก.ย. 62 อบรมเชิงปฏิบัติการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน 0 8,000.00 8,000.00
26 ก.พ. 63 ค่าจัดซื้อวัสดุ 0 5,300.00 5,300.00
26 ก.พ. 63 จ้างเหมาพ่นสารเคมี(หมอกควัน) 0 15,000.00 15,000.00
  1. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อจัดทำโครงการฯ
  2. จัดทำคำสั่งพร้อมแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหลา่งเพาะพันธ์ุยุงลาย
  3. เขียนโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบางปอ เพื่ออนุมัติเงินโครงการ
  4. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบต. โรงเรียน ชุมชน รพ.สต. และอื่นๆ ร่วมกันวางแผนดำเนินการ
  5. เแจ้งผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อาสาสมัคร(อสม) และภาคีเครือข่าย ผู้เกี่ยวข้องฯ
  6. ดำเนินการประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออกให้แกนนำประจำครอบครัวทุกหลังคาเรือน
  7. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุแลพกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  8. รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านร่วมกับโรงเรียน แกนนำประจำครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม) โดยวิธี ทางกายภาพ รณรงค์เคาะประตูบ้านในชุมชนร่วมโรงเรียน พร้อมร่วมกันดำเนินการทำลายเพาะพันธ์ุยุงลายในชุมชนและโรงเรียน ใช้สารเคมี ใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน และโรงเรียน โดยอสม. และพ่นสารเคมีกำจัดยุ่งลายในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่เกิดโรคทันทีเมื่อมีการระบาด ทางชีวภาพ ส่งเสริมความรู้ให้แกนนำประจำครอบครัวในชุมชนเกี่ยวกับการปลูกพืชไล่ยุง เช่น ตะไคร้หอมไล่ยุงการเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง
  9. แกนนำประจำครอบครัวสำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยตัวเองทุกสัปดาห์ร่วมกับอาสาสมัคราสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบ
  10. ติดตามและประเมินความพึงพอใจการดำเนินกิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนและองค์กรต่างๆ ในชุมชนมีความร่วมมือ ร่วมใจในการรณรงค์ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้ปลอดลูกน้ำยุงลาย 2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และมีพฤติกรรมรที่ถูกต้อง เหมาะสมในการป้องวกันไม่ให้เกอิดโรคไข้เลือดออก 3. ไม่มีผู้ป่วยตายโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2562 15:48 น.