กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชาชนห้วยกระทิงใส่ใจ ต้านภัยโรคไข้มาลาเรีย และไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L4115-02-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลห้วยกระทิง
วันที่อนุมัติ 23 สิงหาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 สิงหาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 36,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรม อสม.ตำบลห้วยกระทิง
พี่เลี้ยงโครงการ มาเรียม
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 23 ส.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 36,450.00
รวมงบประมาณ 36,450.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้มาลาเรีย และโรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงเป็นพาหะนำโรค ซึ่งโรคไข้มาลาเรียจะมียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค ส่วนโรคไข้เลือดออกจะมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งทั้ง 2 โรคนี้ เป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมหาศาลในแต่ละปี และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ในทุก ๆ ปี โดยทุกภาคส่วนได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคตลอดมา ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน แต่ก็พบว่าปัญหาโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงอย่าเห็นได้ชัดมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในหลาย ๆ พื้นที่ตลอดมา การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก ต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมากด้วย เพราะอาศัยแค่ภาครัฐและเอกชนอย่างเดียว ทำให้การควบคุมและการป้องกันโรคไข้มาลาเรีย และโรคไข้เลือดออก ประสบความสำเร็จได้ล่าช้า และไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้ ซึ่งนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา ได้นำนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขมาใช้ในการรณรงค์ป้องกันโรคที่มียุงเป็นพาหะ โดยใช้มาตรการ 3 เก็บ ได้แก่ 1.เก็บบ้าน ให้สะอาด โปร่ง โล่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่อยู่อาศัยของยุง 2.เก็บขยะรอบบ้านโดยทำต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง 3.เก็บน้ำ สำรวจภาชนะใส่น้ำต้องปิดฝาให้มิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงวางไข่ และใช้มาตรการ 5 ป. 1 ข. ได้แก่ 1.ปิดภาชนะน้ำกิน น้ำใช้ให้มิดชิดหลังการตักใช้น้ำทุกครั้ง เพื่อป้องกันยุงลงไปวางไข่ 2.เปลี่ยน เปลี่ยนน้ำในแจกัน ถังเก็บน้ำ ทุก 7 วันเพื่อตัดวงจรลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุง 3.ปล่อย ปล่อยปลากินลูกน้ำ ในภาชนะใส่น้ำถาวร เช่น อ่างบัว ถังซีเมนต์เก็บน้ำขนาดใหญ่ 4.ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ปลอดโปร่ง โล่ง สะอาด ลมพัดผ่าน ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย 5.ปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นนิสัย และ 1 ข. ขจัดไข่ยุง การขัดไข่ยุงลายในภาชนะด้วย โดยใช้ใยขัดล้าง หรือแปรงชนิดนุ่มช่วยในการขัดล้าง และทิ้งน้ำที่ขัดล้างนั้นบนพื้นดินเพื่อให้ไข่แห้งตาย การระบาดของโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออกในตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง ยังคงเป็นปัญหาอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออกมีอัตราป่วยที่สูงขึ้นและลดลงในแต่ละปีสลับกันเป็นวงรอบ จากสถิติ 5 ปี ย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2557 – ปี 2561 มีอัตราป่วยโรคมาลาเรีย 1,314.2 /68.11 /1088.06 /423.09/201.25 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ และมีอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก 22.62 /45.41 /101.21 /24.88/ 67.08 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ดังนั้นการควบคุมและป้องกันโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือ ทั้งจากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินงานเชิงรุกโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคดังกล่าว การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรค จึงต้องเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ กระทิง พบว่าสถานการณ์ของโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออกยังมีผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลห้วยกระทิง เห็นถึงผลกระทบของโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะนำโรค ซึ่งจำเป็นต้องมีการควบคุมและป้องกันโรค ตลอดจนการรณรงค์ให้ประชาชนในตำบลมความรู้ และตระหนักในการดูแลตนเองและชุมชน จึงได้จัดทำโครงการประชาชนห้วยกระทิงใส่ใจ ต้านภัยโรคไข้มาลาเรีย และไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2562 ขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญในการป้องกัน ดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อควบคุมจำนวนผู้ป่วยมาลาเรียและโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ให้ลดน้อยลง
  • ผู้ป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียลดลง ร้อยละ 30 จากปีที่ผ่านมา
  • ผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ 30 จากปีที่ผ่านมา
0.00
2 ข้อที่2 เพื่อให้ประชาชนและนักเรียนมีความรู้ และมีพฤติกรรมการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และมาลาเรียที่ถูกต้อง
  • กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
  • กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ มีพฤติกรรมที่ถูกต้อง ร้อยละ 80
0.00
3 ข้อที่3 เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเพื่อลดระดับการระบาดของโรค
  • บ้านผู้ป่วยที่เป็นโรคมาลาเรียและโรคไข้เลือดออก ได้รับการพ่นหมอกควัน และพ่นสารเคมีติดผนัง  ร้อยละ 100
  • ประชาชนเข้าร่วมในการทำกิจกรรม ร้อยละ 80
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 70 36,450.00 1 36,450.00
10 พ.ค. 62 - 31 ม.ค. 63 โครงการประชาชนห้วยกระทิงใส่ใจ ต้านภัยโรคไข้มาลาเรีย และไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2562 70 36,450.00 36,450.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ๑. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตำบลห้วยกระทิง โดยมี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยกระทิง เป็นที่ปรึกษาในการจัดโครงการ ๒. ชี้แจงโครงการแก่ผู้รับผิดชอบและสมาชิกชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลห้วยกระทิง ๓. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในตำบลห้วยกระทิง ๔. อาสาสมัครสาธารณสุข ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ออกพื้นที่ประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ประชาชนทราบถึงพิษภัยของโรคไข้มาลาเรีย ไข้เลือดออก และร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง พร้อมแจกทรายอะเบท โลชั่นทากันยุง และสเปรย์ไล่ยุง ๕ .อาสาสมัครสาธารณสุข ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ออกพื้นที่ค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในพื้นที่เสี่ยง พร้อมทั้งค้นหายุงและสำรวจสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน และในชุมชน ๖. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการป้องกันโรคที่มียุงเป็นพาหะในโรงเรียนและชุมชน ๗. พ่นหมอกควันในโรงเรียน มัสยิด และในชุมชน 6 เดือนครั้ง และหากมีผู้ป่วยในพื้นที่ จะมีการพ่นหมอกควันตามมาตรการ 1 3 7 ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และพ่นสารเคมีตกค้าง ในการป้องกันโรคไข้มาลาเรีย ๘. ประเมินผลและสรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนและนักเรียน มีความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคมาลาเรีย และโรคไข้เลือดออก     ๒. จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคมาลาเรียและโรคไข้เลือดออกในพื้นที่มีจำนวนลดลง     ๓. ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ตำบลห้วยกระทิงปลอดโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก     ๔. ช่วยให้ให้ประชาชนและนักเรียน มีการตื่นตัว เฝ้าระวังในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2562 11:09 น.