กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปรี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดโรคเบาหวานและความดัน
รหัสโครงการ 62-L5192-2-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 13
วันที่อนุมัติ 23 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 23,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอซีด๊ะ หะแย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.721,100.93place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันอัตราการป่วยของโรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและเร่งด่วนของประเทศทั้งนี้สืบเนื่องจากกระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆทั้งจากภายนอกและภายในประเทศ ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การพัฒนาด้านเทคโนโลยีต่างๆซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมการดำเนินชีวิตส่งผลให้ประชาชนมี พฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ ขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ ดื่มชา กาแฟ ความเครียด ความเป็นอยู่ และภาวะสุขภาพของประชาชน ทำให้ประชาชนมีภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยมากขึ้น
จากผลการการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ของตำบลลำไพลในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่คัดกรองความดันโลหิตสูง ปี 2559 ร้อยละ 95.42 พบกลุ่มสงสัยเป็นโรคร้อยละ 3.52 และป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จำนวน 133ราย คิดเป็นอัตราป่วย 832.97 ต่อแสนประชากร ,ปี 2560 ร้อยละ 96.27 พบกลุ่มสงสัยเป็นโรคร้อยละ 4.80 และป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จำนวน 112ราย คิดเป็นอัตราป่วย 701.45 ต่อแสนประชากร, ปี 2561 ร้อยละ 98.00 พบกลุ่มสงสัยเป็นโรคร้อยละ 4.33 และป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จำนวน 100ราย คิดเป็นอัตราป่วย 626.29 ต่อแสนประชากร และ ในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่คัดกรองเบาหวาน ปี 2559ร้อยละ 86.28 พบกลุ่มสงสัยเป็นโรคร้อยละ 1.02 และป่วยเบาหวานรายใหม่จำนวน 46ราย คิดเป็นอัตราป่วย 288.09 ต่อแสนประชากร,ปี 2560 ร้อยละ 91.74 พบกลุ่มสงสัยเป็นโรคร้อยละ 1.25 และป่วยเบาหวานรายใหม่จำนวน 46ราย คิดเป็นอัตราป่วย 288.09 ต่อแสนประชากร, ปี 2561 ร้อยละ 94.27 พบกลุ่มสงสัยเป็นโรคร้อยละ 0.95 และป่วยเบาหวานรายใหม่จำนวน 33ราย คิดเป็นอัตราป่วย 206.68 ต่อแสนประชากร ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าวเห็นได้ว่า ประชาชนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นอย่างมาก ซึ่งปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวได้แก่ การบริโภคอาหารที่มีรสเค็ม ไขมันและน้ำตาลสูง น้ำหนักตัวมากเกินมาตรฐาน ความเครียด ขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ เป็นต้น อีกทั้งยังขาดการตื่นตัว ขาดความตระหนัก ขาดความรู้ ขาดทักษะและการเข้าถึงบริการที่จำเป็นในการดูแลสุขภาพของตนเอง การป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนที่มีความเสี่ยงสูงจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่มีความสำคัญ เพื่อช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรค
ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ 13 ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำ “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดโรคเบาหวานและความดัน                                        ขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงสุขภาพและสามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเอง สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุขตลอดไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อป้องกันและลดภาวะการเกิดโรคเบาหวานและความดันรายใหม่ในพื้นที่หมู่ 4,10,13

1.ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ลดลง มากกว่าร้อยละ 5 2.ร้อยละผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง มากกว่าร้อยละ 2.5

5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 23,400.00 0 0.00
1 มี.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 ให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อลดภาวะการเกิดโรคเบาหวานละความดัน (แอโรบิค 45 ท่า), เรื่องอาหารป้องกันโรค และการดูแลสุขภาพจิต (อ.อารมณ์) 0 23,400.00 -

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมการออกกำลังร่างกายเพื่อลดภาวะการเกิดโรคเบาหวานละความดัน (แอโรบิค 45 ท่า), เรื่องอาหารป้องกันโรค และการดูแลสุขภาพจิต (อ.อารมณ์)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปมีความรู้ความเข้าใจ สามารถดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อป้องกันการป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง   2. เพื่อเสริมพลังให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ในด้านการออกกำลังกายการรับประทานอาหาร สุขภาพจิต และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการดื่มสุราและสูบบุหรี่ เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง   3. เพื่อเสริมพลังให้ครอบครัวและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการลดเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2562 10:52 น.