กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ L4137-22-62
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 กุมภาพันธ์ 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 5 กันยายน 2562
งบประมาณ 3,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพร่อน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.563,101.229place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2561 30 ก.ย. 2562 1 ต.ค. 2561 30 ก.ย. 2562 3,000.00
รวมงบประมาณ 3,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 5480 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)
10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ. 2559 (ข้อมูลจากศูนย์ปฏิบัติการอำเภอเมืองยะลาเข้มแข็ง ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2560) มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (Dengue fever : DF, Dengue haemorrhagic fever : DHF, Dengue shock syndrome : DSS) สะสมรวม 0 ราย อัตราป่วย 0.00 ต่อประชากรแสนคน มีการรายงานจํานวนผู้ป่วยไข้เลือดออกเพิ่มร้อยละ 0.00 (0.00 เท่า) เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2559 ณ ช่วงเวลาเดียวกัน ผู้ป่วยเสียชีวิต 0 ราย อัตราป่วยตาย เท่ากับ ร้อยละ 0.00 การกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกตามกลุ่มอายุส่วนใหญ่พบในกลุ่มอายุ 5-9 ปี มีอัตราป่วยสูงสุด คือ 763.35 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาได้แก่กลุ่มอายุ 10-14 ปี (705.88), 15-24 ปี (598.80), อายุ 35-44 ปี (340.71), อายุ 45-54 ปี (187.26) และ 25-34 ปี (154.55) ตามลําดับ สัดส่วนอาชีพที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือ นักเรียน ร้อยละ 73.33 รองลงมาได้แก่ รับจ้าง (ร้อยละ 26.66) ตามลําดับ การกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกรายหมู่บ้าน พบว่าหมู่ที่ 2 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสูงสุดจำนวน 5 ราย (557.41 ปชก.แสนคน) รองลงมา  หมู่ที่ 5 จำนวน 4 ราย (523.56 ปชก.แสนคน) หมู่ที่ 3 จำนวน 3 ราย (312.17 ปชก.แสนคน) หมู่ที่ 1 จำนวน 2 ราย (547.94 ปชก.แสนคน) และหมู่ที่ 6 จำนวน 1 ราย (84.10 ปชก.แสนคน) ตามลำดับ (อ้างอิงจากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกตำบลพร่อน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลาระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2560 ถึง 31 สิงหาคม 2561) จากข้อมูลพบว่าในปี พ.ศ. 2559 (1 ม.ค. – 31 ธ.ค. 2559) ตำบลพร่อน พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ซึ่งในปี พ.ศ. 2559 (1 ม.ค. – 31 ธ.ค. 2559) จำนวน 15 ราย (328.94 ต่อแสนประชากร) แยกเป็นรายหมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 2 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสูงสุดจำนวน 5 ราย (557.41 ปชก.แสนคน) รองลงมาหมู่ที่ 5 จำนวน 4 ราย (523.56 ปชก.แสนคน) หมู่ที่ 3 จำนวน 3 ราย (312.17 ปชก.แสนคน) หมู่ที่ 1 จำนวน 2 ราย (547.94 ปชก.แสนคน) และหมู่ที่ 6 จำนวน 1 ราย (84.10 ปชก.แสนคน) ตามลำดับ การกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกตามกลุ่มอายุส่วนใหญ่พบในกลุ่มอายุ 5-9 ปี มีอัตราป่วยสูงสุด คือ 763.35 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาได้แก่กลุ่มอายุ 10-14 ปี (705.88), 15-24 ปี (598.80), อายุ 35-44 ปี (340.71), อายุ 45-54 ปี (187.26) และ 25-34 ปี (154.55) ตามลําดับ (อ้างอิงจากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกตำบลพร่อน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลาระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2560 ถึง 31 สิงหาคม 2561) ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออก เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ องค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน ได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของสุขภาพประชาชน  จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมทุกครัวเรือนเพื่อกำจัดยุง ซึ่งเป็นพาหนะนำโรคไข้เลือดออก เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก และเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ตามอำนาจหน้าที่ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน ตามมาตรา 67 (3) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ที่ถูกวิธี และเหมาะสม

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

 

0.00
3 เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือด

 

0.00
4 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ร้อยละของการแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(คน) 20

10.00 10.00
5 เพื่อลดอัตราป่วย และอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 3,000.00 1 3,000.00
25 ก.พ. 62 - 30 ก.ย. 62 ทางกายภาพ รณรงค์เคาะประตูบ้านในชุมชนร่วมโรงเรียน พร้อมร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในชุมชนและโรงเรียน 0 3,000.00 3,000.00

๑. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำโครงการฯ ๒. จัดทำคำสั่งพร้อมแต่งตั้งคณะทำงานโรคไข้เลือดออก
๓. เขียนโครงการเพื่อเสนอ เพื่อขออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการ ๔. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โรงเรียน ชุมชน รพ.สต. และอื่นๆ ร่วมกันวางแผนดำเนินการ ๕. แจ้งผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อาสาสมัคร(อสม.) และภาคีเครือข่าย ผู้เกี่ยวข้องฯ ๖. ดำเนินการประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออก ให้แกนนำประจำครอบครัวทุกหลังคาเรือน ๗. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย ๘. รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านร่วมกับโรงเรียน แกนนำประจำครอบครัว อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) โดยวิธี ทางกายภาพ รณรงค์เคาะประตูบ้านในชุมชนร่วมโรงเรียน พร้อมร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในชุมชนและโรงเรียน ใช้สารเคมี ใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน และโรงเรียน โดยอสม.อถลแกนนำสุขภาพและภาคีเครือข่ายในพื้นที่ และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่เกิดโรคทันทีเมื่อมีการระบาด ทางชีวภาพ ส่งเสริมความรู้ให้แกนนำประจำครอบครัวในชุมชนเกี่ยวการปลูกพืชไล่ยุง เช่นตะไคร้หอมไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง ๙. แกนนำประจำครอบครัวสำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยตัวเองทุกสัปดาห์ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบ ๑๐. ติดตามและประเมินความพึงพอใจการดำเนินกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. สามารถลดอัตราการป่วยและอัตราป่วยตายด้วยไข้เลือดออก ต่อแสนประชากร ๒. ทำให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และมี พฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก
๓. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
๔. ทำให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชน มัสยิด โรงเรียนให้น้อยลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2562 11:21 น.