กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก
รหัสโครงการ 62-L2988-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลปากู
วันที่อนุมัติ 5 สิงหาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,125.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลปากู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากู อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.624,101.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข ได้ซักซ้อมดำเนินการนตามมาตรการสำคัญในการป้องกันควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ในช่วงฤดูกาลระบาด เนื่องจากขณะนี้ยังอยู่ในช่วงฤดูฝน และเป็นช่วงเปิดการเรียนการสอนของสถานศึกษา มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก เป็นวงกว้าง ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนอนุบาล และชุมชน ซึ่งมักพบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงกรกฎาคม โดยจากข้อมูลสถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก มีแนวโน้มพบผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกปี และในปี 2561 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 64,134 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1,873.62 ต่อแสนประชกร และพบผู้เสียชีวิต จำนวน 5 ราย ในจังหวัดมหาสารคาม ลพบุรี ชุมพร อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก โดยพบโรคมือ เท้า ปาก มากที่สุดในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี รองลงมา คือ 3 – 5 ปี ภาคเหนือมีอัตราป่วยสูงสุด รองลงมา คือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ สำหรับสาเหตุการเกิดโรคมือ เท้า ปาก มาจากการติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร (Enterovirus) มีหลายสายพันธุ์ที่พบบ่อย คือ Coxsackievirus A16 ซึ่งในรายที่ไม่รุนแรง อาจหายใจเองได้ และสายพันธุ์ที่มักก่อโรครุนแรง คือ Enterovirus 71 ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง อาทิ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาต กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โดยมีอาการซึม อ่อนแรง ชักกระตุก หอบ อาเจียน หรือในรายที่รุนแรงมากอาจเสียชีวิตได้
การป้องกันโรคมือ เท้า ปาก จำเป็นต้องดำเนินการทั้งก่อนเกิดโรค ขณะเกิดโรคและการเฝ้าระวังโรคและต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง องค์การบริหารส่วนตำบลปากู ซึ่งมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการสำรวจ เฝ้าระวัง และป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ที่จะส่งผลต่อสุขภาพของเด็กเล็ก เพื่อการแก้ไขปัญหาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ระบาดในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ปากู 2. ส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถป้องกันโรคระบาดได้อย่างทันท่วงที

ร้อยละ 100 สามารถป้องกันโรค มือ เท้าปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ และชุมชนในพื้นที่ตำบลปากูได้

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เสนอขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปากู
    1. จัดหาวัสดุสำหรับใช้ป้องกันโรคมือ เท้า ปาก
    2. ซักซ้อม/อบรมการป้องกันโรคแก่ครูและผู้ปกครอง
    3. ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้การระบาดของโรค และวิธีการป้องกันฯ
  2. จัดกิจกรรมตรวจคัดกรองโรคมือ เท้า ปาก ในเด็กเล็ก ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด
    1. จัดกิจกรรมส่งเสริมป้องกันโรค เช่น ให้ครูคัดกรองเด็กป่วยรายวัน ล้างมือก่อนทานอาหารทุกคน ล้างมือทุกครั้งที่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ แยกสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวเด็กแต่ละคน ทำความสะอาดแก้วน้ำเด็ก จานช้อนทุกวัน ล้างพื้นด้วยสารละลายเจือจางของน้ำยาฟอกขาวทุกสัปดาห์ ทำความสะอาดวัดสุและสื่อการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ กำหนดวิธีดูแลสำหรับเด็กป่วยฯ
    2. ติดตามผลการดำเนินงานสัปดาห์ละครั้ง
    3. ประเมินผลการดำเนินการ รายงานผลการดำเนินการให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปากู ทราบ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สามารถป้องกันโรค มือ เท้าปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ และชุมชนในพื้นที่ตำบลปากูได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2562 11:23 น.