กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงอายุสุขภาพดี ชีวีมีสุข
รหัสโครงการ 62-L2536-2-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. ตำบลปูโยะ
วันที่อนุมัติ 31 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 64,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอาปีบะ สาและ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณนา บูแมนิแล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.109,101.993place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 557 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามข้อมูลประชากรผู้สูงอายุ จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2560 ประเทศไทยใกล้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ ผู้สูงอายุหรือ    ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยในปี 2537 คิดเป็นร้อยละ 6.8 ของประชากรทั้งประเทศ และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 16.7 ในปี 2560 และในส่วนสิทธิการรักษาของผู้สูงอายุหรือสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลในปัจจุบัน (ไม่รวม ไม่ทราบว่ามี/ไม่มีสวัสดิการฯ) พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ (ร้อยละ 99.2) มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลหลัก มีเพียงร้อยละ 0.8 เท่านั้นที่ไม่มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล สำหรับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลหลักของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ (ร้อยละ 83.2) เป็นสวัสดิการจากรัฐ คือ ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) รองลงมา คือ ข้าราชการหรือข้าราชการบำนาญ ประกันสังคม/กองทุนเงินทดแทน รัฐวิสาหกิจและอื่นๆ (ร้อยละ 13.0 1.6 1.5 และ 0.7 ตามลำดับ) ในขณะที่สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม มีการเปลี่ยนแปลงจากครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ผู้สูงอายุบางครอบครัวขาดการดูแลเอาใจใส่จากบุตรหลานหากผู้สูงอายุไม่สามารถปรับตัวให้รับการเปลี่ยนแปลงได้ทัน นอกจากต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพทางกายที่เกิดตามวัยแล้ว ผู้สูงอายุบางรายอาจต้องเผชิญกับปัญหาด้านจิตใจด้วย
      ด้วยเหตุผลดังกล่าว องค์การบริหารส่วนตำบลปูโยะ จึงได้สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุตำบลปูโยะขึ้น ซึ่งผู้มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มีจำนวนทั้งสิ้น 557 คน (ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2561) ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่ด้อยโอกาสอยู่บ้านตามลำพังทำให้ขาดโอกาสที่จะเข้าร่วมกิจกรรม หรือพบปะสังสรรค์กับเพื่อนในวัยเดียวกัน ดังนั้น ชมรม อสม.ตำบลปูโยะได้บูรณาการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลปูโยะ ดำเนินการจัดโครงการผู้สูงอายุสุขภาพดี ชีวีมีสุขประจำปี 2562 เพื่อให้ผู้สูงอายุในพื้นที่ ได้รับความรู้ความเข้าใจและสร้างเสริมทักษะการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับช่วงวัย และให้สมาชิกได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินชีวิต และมีขวัญและกำลังใจสร้างความผูกพันระหว่างสมาชิกในครอบครัวอันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีความเข้าใจในการสร้างเสริมสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น

ร้อยละ 100 ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินชีวิต

ร้อยละ 100 ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินชีวิต

0.00
3 เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเสริมทักษะการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับช่วงวัย

ร้อยละ 70 ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมสามารถประยุกต์ทักษะการดูแลสุขภาพใช้ในชีวิตประจำวัน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1114 64,320.00 2 64,320.00
1 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้น 557 0.00 0.00
1 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพ 557 64,320.00 64,320.00
  1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการ
  2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. จัดหาวัสดุอุปกรณ์
  4. กิจกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้น
  5. กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพ
  6. สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วม ได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น
  2. ผู้สูงอายุได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมและได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์
  3. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วม ได้รับความรู้และสร้างเสริมทักษะการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับช่วงวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2562 11:56 น.