กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมภูมิปัญญาท้องถิ่น สมุนไพรไล่ยุง
รหัสโครงการ 62-L2536-2-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปูโยะ
วันที่อนุมัติ 31 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 สิงหาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 10,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอาปีบ๊ะ สาและ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.109,101.993place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพมีมาดั้งเดิมอยู่คู่กับประเทศไทยมาตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคมวัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ สามารถตอบสนองต่อความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพ และความเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดี แต่จากการพัฒนาในทุกด้านที่ยึดการพัฒนาตามระบบทุนนิยม ทำให้ชุมชนมีค่านิยมตามแนวทางของตะวันตกเป็นหลักโดยเฉพาะด้านการจัดการสุขภาพที่เน้นการพึ่งพิงจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้การดูแลสุขภาพเดิมที่มีอยู่ในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนาและถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่ขาดการสืบทอด ทำให้ชุมชนรับประโยชน์จากภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรพื้นบ้านน้อยกว่าที่ควรจะเป็นปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยแล้วว่า มีสมุนไพรหลายชนิดที่มีอยู่ในท้องถิ่น สามารถนำมาใช้ประโยชน์เช่น ตะไคร้หอม ที่นำมาผลิตสเปรย์ไล่ยุง ป้องกันการเกิดโรคที่มาจากยุง เช่น ไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อ เป็นต้น ลดการใช้สารเคมีป้องกันยุง การใช้สมุนไพรมีความปลอดภัยมากกว่าการใช้สารเคมีที่มีขายตามท้องตลาดอีกด้วย ตำบลปูโยะ ยังมีสมุนไพรพื้นบ้านหลงเหลืออีกจำนวนมาก แต่ขาดการนำภูมิปัญญาด้านสมุนไพรเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ ทางชมรมฯ จึงได้เสนอโครงการอบรมภูมิปัญญาท้องถิ่น สมุนไพรไล่ยุงเพื่อฝึกปฏิบัติการทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรไล่ยุง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้เรียนรู้ถึงคุณค่าของสมุนไพร เพิ่มพื้นที่ในการปลูกสมุนไพรและส่งเสริมการใช้สมุนไพรพื้นบ้านในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น และนำมาใช้ในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้และเห็นคุณค่าของพืชสมุนไพรและมีการจัดการแบบยั่งยืน

ร้อยละของผลการวัดระดับความรู้ ก่อนและหลังการอบรม

0.00
2 เพื่อให้มีการเพิ่มพื้นที่ปลูกพืชสมุนไพรภายในชุมชน

จำนวนครัวเรือนที่มีการปลูกสมุนไพรมาใช้ในครัวเรือน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 30 10,320.00 1 10,320.00
2 ส.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติความรู้เรื่องสมุนไพรพื้นบ้าน 30 10,320.00 10,320.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางการดำเนินงาน 1.2 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ 1.3 ประชาสัมพันธ์โครงการโดยใช้ไวนิลเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทราบ
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1จัดหาวิทยากรเพื่อให้ความรู้เรื่องสมุนไพรพื้นบ้านกับการป้องกันโรค 2.2 จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการความรู้เรื่องสมุนไพรพื้นบ้านกับการนำไปใช้ประโยชน์ 2.3ดำเนินการแปรรูปสมุนไพร (สาธิตการนำสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ประโยชน์) 2.4 สรุปผลการดำเนินโครงการ
  3. ขั้นการประเมินผล 3.1 ผลจากการทำ Pre-test – Post-test ในกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้น 3.2 กลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีการรวมกลุ่มเพื่ออนุรักษ์และขยายพันธุ์พืชสมุนไพรพื้นบ้าน
  2. ประชาชนมีการปลูกพืชสมุนไพรทุกครัวเรือ
  3. ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพโดยใช้พืชสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2562 14:39 น.