กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รหัสโครงการ 60-L7889-3-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปริก
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,220.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปริก
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพอนามัยเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคนให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีจากการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ดูแลเด็ก ของผู้ดูแลเด็กในเดือนพ.ค. 59 - กุมภาพันธ์ 60 พบว่าเด็กเล็กจำนวน 61 คนมีเด็กที่มีปัญหาด้านโภชนาการจำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 9.84เด็กที่เข้ามาอาศัยอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสามารถอยู่ร่วมกันกับครู ผู้ดูแลเด็ก และเพื่อนๆ ได้อย่างเท่าเทียมกันและมีความสุข ซึ่งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการอำนวยความสะดวกสบาย มีความสะอาด ถูกสุขอนามัย มีความปลอดภัย ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ อาหารและโภชนาการที่เหมาะสมเด็กมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ และเจริญเติบโตตามวัย ศูนย์เด็กเล็กมีการจัดการ ควบคุม ส่งเสริม สนับสนุนปัจจัยเอื้อ และขจัดหรือลดปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความน่าอยู่ของศูนย์เด็กเล็ก โดยมุ่งหวังให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาให้มีความสมบูรณ์ ทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ และครูผู้ดูแลเด็กได้รับการส่งเสริมให้สามารถทำงานได้อย่างสุขกายสบายใจ ครู ผู้ปกครอง และชุมชนมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก เด็กควรได้รับการปลูกฝังพฤติกรรม สุขภาพ ทั้งด้านการดูแลสุขภาพตนเอง และดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อม
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ เช่น ยาฆ่าแมลงที่ตกค้าง ในพืชผักผลไม้ อันจะส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพอนามัยที่ดีที่ และทำได้ถูกต้องเมื่อเติบโต เป็นผู้ใหญ่ ครูผู้ดูแลเด็กได้รับการฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ เพื่อให้สามารถ ดูแลเด็ก ได้ดียิ่งขึ้น ผู้ปกครอง เข้าร่วมสนับสนุนกิจกรรม โดยสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กอย่างต่อเนื่อง ระหว่างบ้าน และศูนย์เด็ก และเกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคลากรในท้องถิ่น ทำให้เกิดการร่วมมือร่วมใจจากศูนย์เด็กเล็ก ชุมชน ดังนั้น เพื่อสร้างเสริมสุขภาพเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จึงได้บูรณาการงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ และการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในศูนย์เด็กเล็ก โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยให้ได้รับการส่งเสริมให้มีสุขภาพดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้
ตลอดถึงได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพ และพฤติกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม
สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี เพื่อเด็กจะได้เติบโตเป็นประชากรที่มีคุณค่าสำหรับประเทศต่อไป
รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันด้านสุขอนามัย การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชนเทศบาลตำบลปริก ตามวิสัยทัศน์ของเทศบาลตำบลปริกต่อไป
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปริกจึงเห็นควรจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเทศบาลตำบลปริก ประจำปี ๒๕๖๐ ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ครูผู้ดูแลเด็ก และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องได้ทราบถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพอนามัยและการรู้จักการดูแลสุขภาพร่างกายได้ด้วยตนเอง แต่ทั้งนี้จะต้อง ร่วมมือกันหลายฝ่าย เช่น ครู ผู้ปกครองเด็ก เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมถึงหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปริกที่มีความเสี่ยงและมีภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการและได้รับการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการ
  1. นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปริก จำนวน ๗๐ คนได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะทุพโภชนาการส่งเสริมอาหารที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
2 2. เพื่อให้นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปริกมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตมีโภชนาการที่สมวัย
  1. นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๗๐ คนมีน้ำหนัก ส่วนสูง เส้นรอบศีรษะตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
3 3. เพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจด้านโภชนาการเด็กเล็ก ๐- ๖ ปี
  1. ผู้ปกครองนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปริก จำนวน ๗๐ คน มีความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาการเด็กเล็ก ๐- ๖ ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 พ.ค. 60 - 3 เม.ย. 60 ค่าวัสดุเครื่องชั่งน้ำหนักนักเรียน จำนวน 1 เครื่อง 1 1,500.00 980.00
5 - 9 มิ.ย. 60 ค่าที่วัดส่วนสูงสำหรับเด็กเล็ก จำนวน ๑ อัน 1 500.00 590.00
5 - 9 มิ.ย. 60 ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับให้ความรู้ผู้ปกครอง 70 280.00 280.00
3 - 31 ก.ค. 60 ค่าตอบแทนวิทยากรให้ความรู้เรื่อง การจัดอาหารและโภชนาการสำหรับเด็ก 70 600.00 600.00
3 - 31 ก.ค. 60 ค่าตอบแทนวิทยากรให้ความรู้เรื่องการดูแลส่งเสริมพัฒนาการตามวัย 70 600.00 600.00
3 - 31 ก.ค. 60 ค่าตอบแทนวิทยากรให้ความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษ 70 600.00 600.00
3 - 31 ก.ค. 60 ค่าอาหารว่าง 70 1,750.00 1,750.00
3 ก.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 ไข่ไก่ คนละ 1 แผง 1 เดือน แผงละ 100 บาท x 3 เดือน 10 3,000.00 2,550.00
3 ก.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 นมจืด คนละ 1 ลัง 1 เดือน ลังละ 288 x 3 เดือน 10 8,640.00 8,850.00
3 ก.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 ค่าเมล็ดพันธ์พืช 70 1,400.00 630.00
10 - 14 ก.ค. 60 ค่าเขียนป้ายโครงการ 1 ผืน 1 350.00 350.00
รวม 443 19,220.00 11 17,780.00
  1. เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลภาวะโภชนาการเด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กข้อมูลปีงบประมาณที่ผ่านมา
  2. ประชุมพนักงานครูและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการ
  3. ดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 3.1 ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และแปรผล โดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 0-6 ปี กรมอนามัย ก่อนอบรม
    3.2 จัดอบรมผู้ปกครองเด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 70 คน
    3.3 ส่งเสริมอาหารเสริมให้เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับอาหารที่เหมาะสม เช่น นม ไข่ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 3.4 ติดตามประเมินชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงและแปรผลตามโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 0-6 ปี หลังอบบรม 1 เดือน ๆละ 1 ครั้ง รวม 3 ครั้ง (สิ้น พ.ค.,มิ.ย. ,ก.ค.)
    ในรายมีภาวะทุพโภชนาการ ส่งต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปริก
    3.5 หลังอบรมส่งเสริมครัวเรือนของเด็กเล็กมีการปลูกผักปลอดสารพิษ เลี้ยงปลา ในครัวเรือน โดยทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้ปกครอง และนักเรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อได้บริโภคในครัวเรือนเมื่อได้ผลผลิตผู้ปกครองและเด็กนำผักปลอดสารพิษมาให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อทำอาหารกลางวัน และส่วนหนึ่งบริโภคในครัวเรือนเพื่อส่งเสริมโภชนาการเด็ก โดยคัดเลือกครัวเรือนของเด็กเล็ก เป็นครัวเรือนต้นแบบ 10 ครัวเรือน โดยใช้เกณฑ์ ผู้ปกครองต้นแบบปลูกผักปลอดสารพิษ (หลังอบรม ติดตามเยี่ยมบ้าน ๑ ครั้ง) คัดเลือกครัวเรือนของเด็กเล็กมีการปลูกผักปลอดสารพิษ เป็นครัวเรือนต้นแบบ 10 ครัวเรือน 3.6 ส่งเสริมและให้โอกาสครัวเรือนต้นแบบ นำผลผลิต จำหน่ายให้กับโรงอาหารของศูนย์เด็กเล็ก และตลาดนัดโรงเรียนเทศบาลปริกหรือจุดจำหน่ายในชุมชน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กนักเรียนที่มีความเสี่ยงและมีภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ
  2. เด็กก่อนวัยเรียน มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโต มีโภชนาการที่สมวัย
  3. ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจด้านโภชนาการในเด็กเล็ก 0-6 ปี
  4. ครัวเรือนของนักเรียนมีความมั่นคงทางอาหารและได้รับอาหารที่เพียงพอและปลอดภัย
    เกิดครัวเรือนต้นแบบอย่างน้อย 10 ครัวเรือน และขยายผลไม่น้อยกว่าปีละ3ครัวเรือนเพียงพอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2560 12:22 น.