กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ และการติดตามดูแลสุขภาพผู้ป่วยวัณโรค ตำบลเขาขาว
รหัสโครงการ L-1527-01-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว
วันที่อนุมัติ 28 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 4,675.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาขาว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.811,99.618place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 79 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายทางสังคม และเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง อุบัติการณ์ของวัณโรคเคยลดลงอย่างช้าๆในอดีตแต่ในระยะหลังนี้กลับเพิ่มขึ้นเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ และการดื้อยา ดังนั้นกระทรวงาธารณสุขจึงให้ความสำคัญแก่แผนงานวัณโรคแห่งชาติ ในอันที่จะพัฒนายุทธศาสตร์ที่สำคัญในการควบคุมวัณโรค โดยการดำเนินงานควบคุมวัณโรคในระยะแรกได้เน้นไปที่การตรวจรักษา และการป้องกันโรคจากการทบทวนแผนงานวัณโรคแห่งชาติโดยคณะผู้เชี่ยวชาญวัณโรคจากองค์การอนามัยโลกมีข้อเสนอแนะที่ต้องเร่งรัดการดำเนินงานวัณโรค เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอัตราการรักษาหาย และกินยาครบหรือที่เรียกว่าอัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรค (Treatment success rate) มากกว่าร้อยละ 90 ของแนวทางการรักษาที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก คือ การรักษาผู้ป่วยวัณโรค โดยมีพี่เลี้ยงคอยกำกับการกินยา ต่อหน้าทุกวัน ที่เรียกว่า DOTS(Directly Observed Treatment System)ซึ่งองค์การอนามัยโลก(WHO)ได้ให้เสนอแนะให้ทุกประเทศทั่วโลก ใข้แนวทางการรักษาเพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จ ในการรักษาวัณโรคโดยพี่เลี้ยงหมายถึง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.หรือบุคคลในครอบครัวเพื่อคอยดูแลผู้ป่วยวัณโรคให้กินยาทุกวัน ให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยได้กินยาจยกระทั่งหายขาดไม่เกิดปัญหาดื้อยาวัณโรค และการแพร่เชื้อวัณโรคในชุมชนต่อไป ซึ่งหากไม่มีการควบคุมที่ดีและถูกต้องตามแนวทาง อาจก่อให้เกิดการระบาดของวัณโรคได้ ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับการตรวจคัดกรองวัณโรค มี 7กลุ่มดังนี้ 1. ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค 2.ผู้สูงอายุ 3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (เบาหวาน/ความดัน/COPD/Stroke/ไต/มะเร็ง)4.ผู้ติดเชื้้อ HIV/AIDs 5.แรงงานต่างด้าว 6.ผู้ต้องขัง 7.ผู้ติดสุรา /ยาเสพติด ในพื้นที่เขตรับผืดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว ในปีงบประมาณ 2560 พบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เกิดขึ้นจำนวน 2 ราย และในปีงบประมาณ 2562 มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เกิดขึ้นจำนวน 1 ราย มีอัตราการรักษาสำเร็จ 2 ราย และในปีงบประมาณ 2561 พบผู้ป่วยวัณโรคกลับมาเป็นซ้ำ จำนวน 1ราย และเพื่อผลสำเร็จในการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาวัณโรค และเพื่อให้มีประสิทธิภาพรวมทั้งการสร้างความตระหนักในระดับชุมชน และร่วมกันส่งเสริมป้องกันปัญหาของวัณโรคให้ลดน้อยลงต่อไป ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาว จึงได้ดำเนินการจัดทำ โครงการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ และการติดตามดูแลสุขภาพผู้ป่วยวัณโรค ตำบลเขาขาวขึ้น โดยการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เชิงรุกในพื้นที่เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อและสามารถควบคุมโรคเมื่อพบผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพในระดับชุมชน เพื่อให้มีการดำเนินงารที่ทีประสิทธิภาพต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรค

ร้อยละ 80 ของอาสาสมัครสาธารณสุขความรู้ในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรค

0.00
2 2.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองวัณโรค

ร้อยละ 100 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองวัณโรค

0.00
3 3.เพื่อพัฒนาระบบการติดตามควบคุมวัณโรคโดยการเยี่ยมบ้านผู้ป่วย และส่งต่อผู็ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ

3.ร้อยละ 100 ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยเป็นวัณโรค ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง

0.00
4 4.เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคแบบ DOTS ให้เป็นไปตามาตรฐาน

4.ร้อยละ 100 ผู้ป่วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียนในพื้นที่ที่ได้รับการควบคุมกำกับการรักษาแบบมีพี่เลี้ยง (DOT)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 4,675.00 0 0.00
29 ส.ค. 62 กิจกรรมที่ 3 อาสาสมัครสาธารณสุขคัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรคตามเขตพื้นที่ที่ตนเองรับผิดชอบ 0 0.00 -
10 ก.ย. 62 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมสำรวจรายชื่อกลุ่มเสี่ยงวัณโรค และจัดทำแผนงานโครงการและประชุม 0 4,675.00 -
10 ก.ย. 62 กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องวัณโรค และแนวทางการคัดกรอง ติดตาม ผู้ป่วยวัณโรค 0 0.00 -
12 ก.ย. 62 กิจกรรมที่ 4 เจ้าหน้าที่ส่งต่อผู้ป่วยสงสัยเป็นวัณโรคไปยังโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ 0 0.00 -
25 ก.ย. 62 กิจกรรมที่ 5 ติดตามผู้ป่วยวัณโรค 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อาสาสมัครสาธารณสุขได้รับความรู้ และแนวทางในการคัดกรองผู้ป่วยที่ถูกต้อง 2.การดำเนินงานการค้นหา และคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุกมีศักยภาพ 3.มีอัตราความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคทุกราย 4.ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการรักษาโรคที่มีคุณภาพโดยเน้นการควบคุมกำกับการรักษาแบบมรพี่เลี้ยง(DOT) โดยอาสาสมัครสาธารณสุข

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2562 10:37 น.