กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลวังใหญ่
รหัสโครงการ 60-L5193-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานปลัด อบต.วังใหญ่
วันที่อนุมัติ 25 พฤศจิกายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2559 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 322,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.763,100.853place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญการระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพควรต้องเตรียมความพร้อมควบคุมกำจัดยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูการระบาดของโรคเพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่ต่อไป ปัจจัยการระบาดที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและมีการขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่การเพิ่มจำนวนของประชากรและมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะขังน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น การคมนาคมที่สะดวกขึ้นทั้งทางบกและทางอากาศทำให้การเดินทางมากขึ้นปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงกี่เป็นไปอย่างรวดเร็วนอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกอีกประการหนึ่ง ได้แก่การที่พื้นที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่ชุกชุมและมีมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกัน หรือการติดเชื้อซ้ำซึ่งมีผลต่อการระบาดและแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกด้วยโดยในเขตพื้นที่ตำบลวังใหญ่ ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาหน่วยงานต่างๆในพื้นที่ได้ร่วมมือกันในการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำ Big Cleaning Days ยุงลาย การออกพ่นหมอกควันควบคุมโรคหลังพบผู้ป่วยในพื้นที่ การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ตระหนักถึงภัยไข้เลือดออก ฯลฯ ก็ไม่สามารถควบคุมการระบาดของโรคลงได้ โดยในปี 2559 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 จนถึงปัจจุบัน จำนวน 92 ราย แบ่งเป็น หมู่ที่ 1 จำนวน 5 ราย หมู่ที่ 2 จำนวน 17 ราย หมู่ที่ 3 จำนวน 17 ราย หมู่ที่ 4 จำนวน 5 ราย หมู่ที่ 5 จำนวน 19 ราย หมู่ที่ 6 จำนวน 14 ราย หมู่ที่ 7 จำนวน 10 ราย และหมู่ที่ 8 จำนวน 5 ราย ซึ่งอัตราผู้ป่วยมีแนวโน้มขยายตัวขึ้นทุกๆ เดือน จึงต้องรีบดำเนินการให้ทันท่วงทีเพื่อความรุนแรงในการระบาดของโรคอีกทางหนึ่ง
ในการนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลวังใหญ่ขึ้น โดยถือเป็นภารกิจหลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันและควบคุมโรคระบาด เพื่อลดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ลดอัตราผู้ป่วยติดเชื้อไข้เลือดออกตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2557ข้อ 7(5) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสมและทันต่อเหตุการณ์ได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไมน้อยกว่าร้อยละ 20

อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 20

2 เพื่อควบคุมลูกน้ำยุงลายในเขตพื้นที่ตำบลวังใหญ่ ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน(H0use Index)ไม่เกินร้อยละ10ค่าดัชนีน้ำยุงลายในเขตโรงเรียน วัด สถานที่ราชการ(C0ntainnerindex)=0

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน ไม่เกินร้อยละ 10
ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในเขตโรงเรียน วัด สถานทีราชการ =0

3 เพื่อดำเนินการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะที่ ๑ การป้องกันโรคล่วงหน้าก่อนการระบาดเพื่อตัดวงจรการแพร่เชื้อ ๓.๑ วิเคราะห์ข้อมูลการระบาดของโรคไข้เลือดออก พื้นที่เสี่ยง การเกิดโรคซ้ำซาก ๓.๒ กำจัดแหล่งแพร่โรค - สำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน วัด โรงเรียน หน่วยงานราชการ โดย อสม.ทุก ๗วัน - จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกผ่านสื่อต่างๆ
- รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและสำรวจภาชนะเสี่ยงต่างๆและปรับปรุง สิ่งแวดล้อมทางกายภาพในชุมชน (Big cleaning day) หมู่ละ 1 ครั้ง
ด้วยวิธี 5¬ ป 1 ข -ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและพ่นหมอกควันในสถานศึกษาช่วงก่อนเปิดเรียน ปีละ2 ครั้ง(ช่วงเดือน ตุลาคม และ มิถุนายน) ระยะที่ ๒ การควบคุมโรคช่วงระบาด ๒.๑ ระบบการรายงานโรคที่รวดเร็ว - หลังรับแจ้งว่ามีผู้ป่วยสงสัยไข้เลือดออก ดำเนินการแจ้งทีมควบคุมโรคทราบภายใน 24 ชั่วโมง - ประกาศเตือนประชาชนให้ทราบว่ามีโรคไข้เลือดออกระบาดในชุมชนพร้อมกับให้สุขศึกษา ให้รู้จักวิธีป้องกันตนเองและครอบครัวไม่ให้ยุงลายกัด ๒.๒ ความทันเวลาในการควบคุมโรคหลังรับแจ้งว่ามีผูป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ทีมควบคุมโรคลงควบคุมโรคทันที -กำจัดลูกน้ำยุงลายในบ้านผู้ป่วยและบริเวณรอบบ้านในรัศมีอย่างน้อย 100 เมตร โดยการทำลายภาชนะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ใส่ทรายอะเบท
-ใช้มาตรการเร่งด่วนเพื่อควบคุมการระบาดโดยการพ่นหมอกควันเพื่อกำจัดยุงตัวเต็มวัย จำนวน ๓ ครั้ง (วันที่ ๑ วันที่ ๓ และวันที่ ๗ ) ๒.๓ มาตรฐานการควบคุมโรค - พัฒนาทีมเฝ้าระวังและควบคุมโรค ให้ดำเนินการควบคุมโรคถูกต้องตามหลักวิชาการและทันเวลา โดยการจัดอบรมให้ความรู้แก่ทีมควบคุมโรค จำนวน 1 ครั้ง เป้าหมายหมู่บ้านละ ๓ คน และทีมกลาง รวม 30 คน
-เตรียมพร้อมทั้งบุคลากรและอุปกรณ์ในการดำเนินการ เช่น ทีมพ่น ยานพาหนะ น้ำยาเคมีภัณฑ์ -ประสานความร่วมมือกับชุมชน ภาคีเครือข่าย ในการออกควบคุมโรค


- 3 -
ระยะที่ ๓ หลังควบคุมโรค -สรุปผลการควบคุมโรค ปัญหา ข้อเสนอแนะหลังลงควบคุมโรค -จัดเวทีสรุปและทบทวนผลการดำเนินงานเพื่อนำไปพัฒนางาน -สรุปโครงการและรายงานผู้เกี่ยวข้องต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปี ๒๕60 ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ20 2. ประชาชนมีความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน((H0use Index)ไม่เกินร้อยละ10 ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหน่วยงาน (C0ntainnerindex) =0 3.เกิดความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในการป้องกันและควบคุมโรคโรคไข้เลือดออกในชุมชนในระดับดี 4. มีทีมเฝ้าระวังและสอบสวนโรคที่มีประสิทธิภาพ สามารถควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2560 13:06 น.