กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อบรมให้ความรู้การปลูกผักปลอดสารพิษบริโภคในครัวเรือน
รหัสโครงการ 62-L7258-2-44
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนสถานีอู่ตะเภา
วันที่อนุมัติ 26 สิงหาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางธัญญารัตน์ พูลเกิด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นครหาดใหญ่เป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีสภาพความเป็นสังคมมืองอย่างเต็มรูปแบบ และเป็นศูนย์กลางความ เจริญรุ่งเรืองทางด้านเศรษฐกิจในภาคใต้ที่มีสภาพแวดล้อมส่วนใหญ่เป็นอาคารบ้านเรือน ถนนหนทาง และเป็นที่รวมของผู้คนมากมายที่มีความหลากหลาย และแตกต่างทางด้านต่างๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ในด้านสังคมมีความเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจาความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ชาวนครหาดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ จึงทำให้ชีวิตประจำวันของคนในเมืองไม่ได้มีความสัมพันธ์กับธรรมชาติมากนัก กลายเป็นชีวิตท่ามกลางป่าคอนกรีตตามวิถีชุมชนเมือง กรมีพื้นที่สีเขียวจากพืชพันธุ์ธรรมชาติจึงกลายเป็น สิ่งที่ดูแปลกแยก หากแต่วิถีชีวิตบางกลุ่มได้เห็นความสำคัญของธรรมชาติและพืชผัก เพื่อแก้ปัญหาของคนเมืองในด้านอาหาร ปัญหาด้านสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อม ประกอบกับการปลูกผักแบบไม่ใช้สารเคมี และการยกระดับการพึ่งพาตนเอง ตลอดจนการช่วยพัฒนาระบบอาหารและวิถีชีวิตทางเลือกที่เกื้อกูลธรรมชาติท่ามกลางข้อจำกัดของชีวิตคนเมือง และได้คันพบกับคุณค่าบางอย่างของชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา และทำให้เห็นว่าพืชผักที่ปลอดสารพิษมีประโยชน์ต่อชีวิตอย่างมากมาย การสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมการปลูกผักของคนเมือง เพื่อผลักดันให้เกิดกลุ่มคน หรือชุมชนให้นิยมหันมา สนใจรวมกลุ่มกันปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อบริโภคและแบ่งปันกันในระหว่างกลุ่ม สร้างการพัฒนารูปแบบและนวัตกรรมการ ทำเกษตรในเมืองและการพึ่งพาตนเองแบต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย และสอดรับกับภูมินิเวศของแต่ละพื้นที่ รวมทั้ง การเชื่อมโยงกับการปรับตัวของคนเมืองต่อวิกกฤตต่างๆ โดยเฉพาะภัยธรรมชาติดังเช่นอุทกภัยที่เกิดขึ้นในอดีต สมาชิกชุมชนจึง เล็งเห็นความสำคัญของพื้นที่สาธารณะที่ทั้งช่วยสร้างอาหาร และสร้างชุมชนได้นั้น อาจไม่ได้ต้องการพื้นพี่ส่วนกลางที่ใหญ่โต แค่พื้นที่บนทางเท้าเล็กๆ หน้าบ้านของแต่ละคน พื้นที่ว่าง หรือดาดฟ้าก็สามารถทำได้ แถมยังมีส่วนช่วยสร้างพื้นที่สีเขียว ช่วยสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ และที่สำคัญช่วยเก็บกักและชะลอน้ำฝนที่ตกลงมาอย่าหนัก รวมถึง ช่วยลดปัญหาเกาะความร้อนในเมืองซึ่งเป็นปัญหาที่คนเมืองควรตะหนักและมีส่วนร่วมในการช่วยกันแก้ไขได้ ด้วยเหตุผลและความจำเป็น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสนับสนุนให้เกิดรูปแบบนวัตกรรมเกษตรชุมชนเมืองด้านความรู้ทางการเกษตรการได้ลงมือปฏิบัติจริงการเตรียมดินการผสมดินสำหรับการเพาะพันธ์กล้าไม้และการปลูกต้นไม้การทำแปลงปลูกผักการเพาะพันธ์ต้นอ่อนการดู การดูแลบำรุงรักษาและการเก็บผลผลิตทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และการขยายผลที่มีคุณค่าและที่มีประโยชน์ต่อประชาชนในชุมชนสถานีอู่ตะเภา

ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการนำความรู้ที่ได้รับในการฝึกอบรมมาปฏิบัติใช้ในครัวเรือนเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวหน้าบ้านดาดฟ้าพื้นที่ว่างเปล่าได้ผักที่ปลอดภัยตามหลักการปลูกผักปลอดสารพิษไว้ใช้บริโภคในเดือนและเป็นการลดรายจ่ายของครัวเรือนจำนวน 30 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 50

0.00
2 เพื่อเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายและนำผักไปจำหน่ายในชุมชนเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 30 15,000.00 1 15,000.00 0.00
1 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมให้ความรู้ 30 15,000.00 15,000.00 0.00
รวมทั้งสิ้น 30 15,000.00 1 15,000.00 0.00

1.กิจกรรมดินมีชีวิตกับการศึกษาอย่างยั่งยืนวิทยากรโดยปราชญ์ชาวบ้าน

1.1การทำความรู้จัก การทำความรู้จักกับดิน

1.2การเตรียมวัตถุดิบผสมดิน

1.3การเพาะต้นกล้า

1.4การดำเนินการปลูกในแปลง

2.กิจกรรมการทำปุ๋ย-น้ำหมักสมุนไพร7รสการทำ EM การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

3.กิจกรรมนวัตกรรมในการปลูกพืชผักสำหรับคนเมือง

3.1การเพาะถั่วงอก

3.2นวัตกรรมซุ้มเห็ดสำหรับคนเมือง

3.3การเอาขยะเหลือใช้มาเป็นภาชนะในการปลูกผักสำหรับคนเมือง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทำให้ประชาชนในชุมชนสามารถปลุกผักสวนครัวไว้บริโภคในครัวเรือนพร้อมจำหน่ายจำนวน 30 ครัวเรือนไม่ต่ำกว่า 80 คน

2.ทำให้ประชาชนในชุมชนปลูกผักโดยใช้วัสดุเหลือใช้โดยใช้นวัตกรรมทางการเกษตรจำนวน 30 ครัวเรือนไม่ต่ำกว่า 80 คน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2562 14:33 น.