กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนากลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ

ชุมชน กองทุนสุขภาพตำบลนำร่อง พื้นที่เขต 12 สงขลา จำนวน 7 จังหวัด 140 กองทุน

รหัสโครงการ 62-00-0250-2 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2562 ถึง 31 สิงหาคม 2563

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน สิงหาคม 2562 ถึงเดือน ธันวาคม 2562

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมวางแผนผู้ประสานงานโครงการและคณะทำงานจากแผนงานกลาง

วันที่ 30 สิงหาคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.คณะทำงานโครงการฯ เขต 12 มีความเข้าใจการดำเนินโครงการเพิ่มมากขึ้น

2.มีการปรับวัตถุประสงค์โครงการให้มีความสอดคล้องกับโครงการในประเด็นแรงงานนอกระบบ และการจัดการอาชีวอนามัยในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 30 สิงหาคม 2562 เวลา 09.00 น. ประชุมวางแผนผู้ประสานงานโครงการฯและคณะทำงานจากแผนงานกลาง ณ ณ ห้องประชุมสำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขต 12 สงขลา อาคารสยามนครินทร์คอมเพล็กซ์ ชั้น 3 ถนนเพชรเกษม ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

อาจารย์ อรพิน วิมลภูษิต ได้กล่าวถึงกรอบการแลกเปลี่ยนและหารือการทำงานร่วมกัน ในโครงการ โดยการนำเสนอผ่านไดอะแกรม ดังนี้ 1.ทบทวนเป้าหมาย กระบวนการ และตัวชี้วัด สู่ความเข้าใจกรอบคิด ขอบเขตและนิยามที่ตรงกัน โดยมีสาระสำคัญดังนี้ เป้าหมายปลายทาง คือ ความเสี่ยงลดลง ร้อยละ 10 จากการได้รับบริการเชิงรุกและมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ วัตถุประสงค์ เพื่อ - ขอบเขตของข้อมูลและองค์ความรู้ - ความหมาย และ กรอบการพัฒนาศักภาพ ใครบ้าง และ ระดับไหน - การบูรณาการในความเข้าใจและความหมายที่ตรงกัน
ตัวชี้วัด
มีความชัดเจนเรื่องความหมายและความเข้าใจที่ตรงกัน equirements ระดับไหน ขั้นต่ำ /สูงสุด
การประเมินผลและเสริมศักยภาพ กลไกและวิธีการ ด้านการบริหารจัดการ
- คนทำงานคือ ใครบ้าง มีบทบาทอย่างไร - วิชาการ / นโยบาย - การจัดการ ปฏิบัติการ - ใครคือคนหมุน - ใคร คือ คนกำกับหลัก ใครสนับสนุนอย่างไร
- งบประมาณ การดำเนินงานและการบริหาร - การจัดการข้อมูลและการรายงาน

  1. กระบวนการทำงาน
    กิจกรรมหลัก และกลยุทธ Requirements , How to and Mechanisms มี priority และจุดเน้น
    output แผนปฏิบัติการ Q1 และงวดแรก แบบ Action plan - Mobilizing , Monitoring การวิเคราะห์/สังเคราะห์ ประเมินผล และ สรุปบทเรียน และรายงาน ระดับกิจกรรมหลัก กิจกรรมย่อย ให้เห็น How to นอกจากนี้ อาจารย์อรพิน ได้กล่าวถึงเรื่องการจัดการข้อมูลความเสี่ยงจากอาชีพและสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ ความมีข้อมูลดังนี้

1.ระดับความเสี่ยง

2.โปรแกรมการจัดการสุขภาพ (การส่งเสริมสุขภาพและป้องกัน)

3.ฐานข้อมูล อันประกอบด้วย 1.กลุ่มอาชีพ ซึ่งได้มาจาก อปท

4.ข้อมูลสิ่งคุกคามได้ข้อมูลจาก อสอช/ อสร./อสม.

5.ข้อมูลพฤติกรรม ได้ข้อมูลจาก อสอช/อสร./อสม.

6.ข้อมูลความเจ็บป่วย ได้ข้อมูลจาก รพสต./รพช

7.ข้อมูลความรอบรู้ด้านสุขภาพ ได้ข้อมูลจาก รพสต./รพช.

หลังจากได้ข้อมูลมาแล้ว ต้องประเมินความถูกต้องและครอบคลุม โดยคณะทำงานหรือกลไกระดับพื้นที่(จังหวัด ,อำเภอ,ตำบล)(พี่เลี้ยง) ส่งกลับข้อมูลมายังกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ สู่สปสช ระดับเขต ต่อไป พิจารณา

หลังจากนั้น เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ ได้นำเสนอข้อมูลโครงการในที่ประชุม โดยได้ยกเรื่องการแจ้งผลการพิจารณาเพื่อปรับแก้ไขข้อเสนอโครงการ เขต 12จากบันทึกข้อความเลขที่ อชว.004/2562 ทางเภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ และทีมงานได้ร่วมแก้วัตถุประสงค์ดังนี้

1.พัฒนาศักยภาพทีมกลไกคณะทำงานพี่เลี้ยง อาสาสมัครอาชีวอนามัย คณะกรรมการกองทุนในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงในระดับพื้นที่

2.การนำร่องพื้นที่ดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่โครงการดังกล่าวจะเป็นการเสริมพลังการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3.การพัฒนาระบบข้อมูลและสู่การยกระดับเป็นนโยบายสาธารณะด้านคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบในระดับพื้นที่

จากนั้นได้กล่าว ถึง การเข้าไปรายงานผ่านwebsite:localfund.happynetwork.org โดยมีความง่ายและสะดวกต่อคณะทำงานที่จะรายงานกิจกรรมของโครงการและพี่เลี้ยงระดับพี้นที่จังหวัด อำเภอ และตำบลสามารถเข้าไปใช้เว็ปไซต์ในการพัฒนา โครงการ และ รายงาย สื่อสารข้อมูลต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีห้องเรียนออนไลน์ ที่สะดวกในการสื่อสาร และ ประชุม กับพื้นที่อย่างสะดวกมากขึ้น อีกทั้ง ระบบยังเอื้อต่อการลดการทำข้อมูลที่ซ้ำซ้อน ลดการใช้กระดาษ ย่อระยะเวลาในการติดตามผลจากพี่เลี้ยง และแต่ละโครงการสามารถ บันทึกข้อมูลต่างๆ และพิมพ์ออกมาได้อีกด้วย

จากนั้นที่ประชุมจึงได้แลกเปลี่ยนกันถึงเรื่องการจัดตั้งคณะตรวจประเมิน ภายใน และเสริมศักยภาพการทำงาน โดยผ่านงบประมาณจากส่วนกลาง ทีมประเมินภายในจะเข้ามาหนุนเสริมการทำงานระบบฐานข้อมูล เครื่องมือในการทำงาน เสริมศักยภาพการทำงานของทีมทำงานและเครือข่ายพี่เลี้ยง

การบริหารจัดการของคณะทำงานโดย ส่วนกลางจะจ่ายค่าตอบแทนนักวิชาการ (ผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย) ค่าตอบแทนผูรับผิดชอบด้านงานวิชาการ(นางสาวยุรี แก้วชูช่วง) ที่ปรึกษาโครงการ(นายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน)

 

8 0

2. การบริหารจัดการโครงการ เดือนสิงหาคม 2562

วันที่ 31 สิงหาคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 3 คน
- ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการผู้ประสานงานหลัก เป็นเงิน 10,000 บาท
- ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการด้านเนื้อหาวิชาการ เป็นเงิน 5,000 บาท
- ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการด้านบริหารงานทั่วไป เป็นเงิน 5,000 บาท

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 3 คน
- ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการผู้ประสานงานหลัก เป็นเงิน 10,000 บาท
- ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการด้านเนื้อหาวิชาการ เป็นเงิน 5,000 บาท
- ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการด้านบริหารงานทั่วไป เป็นเงิน 5,000 บาท

 

2 0

3. ประชุมวางแผนทีมติดตาม ประเมินผลภายใน การจัดทำระบบฐานข้อมูล ผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

วันที่ 23 กันยายน 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.คณะทำงานโครงการระดับเขต ประกอบด้วยอาจารย์แสงอรุณ และ ตัวแทนจากสำนักงานควบคุมโรคที่12สงขลา (สคร.) มีความเข้าใจในการดำเนินโครงการฯ ประเด็นแรงงานนอกระบบ

2.ได้แนวทางการอบรมพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง coaching จากเดิมที่มีแผนอบรมจำนวน 2ครั้ง ตามโซนจังหวัด มีการปรับให้เหลือ 1ครั้ง และให้มีตัวแทนพี่เลี้ยงเข้าอบรมจำนวน5คน/จังหวัด เพราะมีข้อกำจัดในเรื่องของงบประมาณ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 23 กันยายน 2562 เวลา 13.00 -16.30 น.ประชุมวางแผนทีมติดตามภายใน การจัดทำข้อมูลผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงในกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น ณ ห้องประชุมสำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขต 12 สงขลา อาคารสยามนครินทร์คอมเพล็กซ์ ชั้น 3 ถนนเพชรเกษม ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

วาระที่1 เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ ชี้แจงแผนการดำเนินงานโครงการฯ ในช่วงปี 2561 นำร่องใน 7 จังหวัด ประกอบด้วย
- จังหวัดตรัง ได้แก่ อบต.นาหมื่นสี
- จังหวัดพัทลุง ได้แก่ อบต.เกาะหมาก , ทต.เกาะหมาก - จังหวัดสตูล ได้แก่ อบต.ปากน้ำ - จังหวัดปัตตานี ได้แก่ ทต.หนองจิก ,อบต.บานา - จังหวัดนราธิวาส ได้แก่ อบต.โคกเคียน - จังหวัดยะลา ได้แก่ ทม.เบตง - จังหวัดสงขลา ได้แก่ เทศบาลนครหาดใหญ่ , เทศบาลนครสงขลา

จากการพัฒนาโครงการมีโครงการผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนจำนวน 21โครงการ และมีบางส่วนที่ตกหล่นไป เนื่องจากคณะกรรมการกองทุนยังไม่เข้าใจ ดังนั้นการดำเนินโครงการฯในปี ุ62-63 ได้มีการดำเนินการในรูปแบบดังนี้
1 การพัฒนากลไกทีมระดับเขต ( จำนวน 10 คน) ประกอบด้วย 3 ภาคส่วน คือ ผู้ประสานงานกองทุนสุขภาพตำบล สปสช.เขต 12 สงขลา ผู้แทนพี่เลี้ยงกองทุน สปสช. นักวิชาการในพื้นที่ ภาคประชาสังคมด้านแรงงานนอกระบบ เจ้าหน้าที่กลุ่มงานการควบคุมโรคไม่ติดต่อที่เกิดจากการทำงาน สคร. เลขานุการหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในฐานะเลขานุการ พชอ. ทำหน้าที่กำหนดทิศทาง การเลือกพื้นที่ และให้คำแนะนำการดำเนินโครงการ

2 ทีมระดับพื้นที่ ทีมพี่เลี้ยงจังหวัด ๆละ 10คน รวม 70 คน มีการเพิ่มศักยภาพพี่เลี้ยงในการ coaching เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการที่มีคุณภาพ และการใช้ระบบติดตามและประเมินผลโครงการให้สอดคล้องกับแผนการสร้างเสริมสุขภาวะของสสส. สปสช.และสธ. ในประเด็นแรงงานนอกระบบรวมทั้งการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ และการติดตามประเมินผลระดับจังหวัด และระดับพื้นที่หรือกองทุน

3.กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีแผนและโครงการ ประเด็นพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ และประเด็นอื่น ๆ ตามบริบทของพื้นที่ ในพื้นที่นำร่อง 140 กองทุนได้ข้อเสนอโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ ตามบริบทของพื้นที่ ที่มีคุณภาพ จำนวน 280 โครงการ

วาระที่ 2 : ประเด็นการหารือ การเตรียมจัดเวทีพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง coaching ในช่วงเดือนตุลาคม 2562 ซึ่งจะมีพี่เลี้ยงมาอบรมจังหวัดละ10คน อาจจะมีการปรับให้เหลือจังหวัดละ5 คน มาเป็นตัวแทน จากเดิมทีวางแผนไว้ที่จะอบรมเป็นโซนพื้นที่ ลดลงมาจัดครั้งเดียว
ในส่วนของหลักสูตรการอบรมจะให้ทางอาจารย์แสงอรุณ ช่วยการออกแบบเนื้อหา และจะมีการนัดประชุมเตรียมในครั้งต่อไป

 

7 0

4. การบริหารจัดการโครงการ เดือนกันยายน 2562

วันที่ 30 กันยายน 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 2 คน

-นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี 10,000 บาท

-ว่าที่ ร.ต.หญิงคณิชญา แซนโทส 5,000 บาท

2.สำรองจ่าย นางสาวยุรี แก้วชูช่วง  10,200 บาท

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 2 คน

-นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี 10,000 บาท

-ว่าที่ ร.ต.หญิงคณิชญา แซนโทส 5,000 บาท

2.สำรองจ่าย นางสาวยุรี แก้วชูช่วง 10,200 บาท

 

0 0

5. ลงพื้นที่ประสานจัดประชุมพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงการ Coaching จัดทำแผนและพัฒนาโครงการฯ

วันที่ 2 ตุลาคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีการปรับเปลี่ยนห้องประชุมจากเดิมห้องเฟื่องฟ้า1 เป็นห้องประชุมศาลาเสี่ยงสน เนื่องจากมีความเหมาะสม และมีพื้นที่ในการจัดกิจกรรมกลุ่มย่อยมากกว่าห้องเดิม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 13.00 น.ลงพื้นที่ประสานการจัดประชุม ณ รร.หาดแก้วรีสอร์ท ตำบลชิงโค อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เพื่อดูห้องประชุม ห้องพัก และการเลือกเมนูอาหาร

 

2 0

6. ประชุมเพื่อหารือหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานพี่เลี้ยง

วันที่ 4 ตุลาคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับเขต (Core team) นายฉลอง พัฒโน รองนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองคอหงษ์ มีความเข้าใจการดำเนินโครงการฯ ประเด็นแรงงานนอกระบบเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ได้เข้ามาประชุมร่วมกับคณะทำงานโครงการฯ ในการประชุมมีการเสนอให้เพิ่มสัดส่วนของท้องถิ่น ซึ่งในที่ประชุมได้เสนอ นายสริยา ยีขุน นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลปริก

2.การเตรียมหลักสูตรอบรมพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงระดับจังหวัด (Coaching Team) ที่จะจัดขึ้นในเดือนตุลาคม ในการอบรมจะมีบรรยายให้ความรู้เรื่องอาชีวอนามัย โดยอาจารย์แสงอรุณ และนางสาวฟาอีซ๊ะ (สคร.)  และแบ่งกลุ่มพี่เลี้ยงจังหวัดในการจัดทำแผนงาน ลงบนเว้ปกองทุนฯ (www.localfund.happynetwork.org)

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันศุกร์ที่ 4 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 เวลา 09.00-16.30 น. ประชุมเพื่อหารือหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานพี่เลี้ยง (Coaching Team) ระดับจังหวัด ณ ห้องประชุมสำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขต 12 สงขลา ชั้น 3 อาคารสยามนครินทร์คอมเพล็กซ์ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

นายสมชาย ละอองพันธุ์ ทบทวนความเข้าใจและเป้าหมายการดำเนินงานโครงการ ฯ -ทบทวนโครงสร้าง องค์ประกอบของกลไกระดับเขต Core team 10-12 คน (ตามรายชื่อในเอกสาร ) ได้มีการเสนอส่วนของท้องถิ่นเพิ่มเติม ได้แก่ นายกสุริยา ยีขุน ตำแหน่งนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลปริก ,นายกอบต.โคกเคียน, ซึ่งจะมีการประสานในการส่งเอกสารและเชิญเข้าร่วมประชุมในครั้งต่อไป

-บทบาทในการทำงานพี่เลี้ยงเขต ร่วมวางแผน ร่วมออกแบบการบริหารโครงการ การให้คำปรึกษาและการติดตามประเมินผล พัฒนาทีมกลไกคณะทำงานพี่เลี้ยงในระดับจังหวัดเพื่อให้เป็นกลไกขับเคลื่อนการจัดบริการอาชีวอนามัยเชิงรุก อำนวยกระบวนการติดตามประเมินผลภายในและกระบวนเรียนรู้เพื่อการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ (จำนวนพื้นที่) และนวัตกรรมในรูปแบบของเขต 12  ตลอดจนข้อเสนอนโยบายสาธารณะ

-บทบาทการทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด จังหวัดละ 10 คน (มาจากพี่เลี้ยงกองทุนที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ ) พี่เลี้ยง จว.และพี่เลี้ยงเขตจะต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกัน พัฒนาทีมกลไกคณะทำงานพี่เลี้ยง ขับเคลื่อนงานกองทุน 140 กองทุน และอาสาสมัครอาชีวอนามัย / พื้นที่ต้นแบบ / ระบบข้อมูล /นโยบายสาธารณะระดับตำบล /ระดับอำเภอ

คณะทำงานโครงการฯ จากแผนงานกลาง หารรือระบบฐานข้อมูลด้านอาชีวอนามัย และการประเมินผล 1.การจัดการระบบข้อมูล
• การกำหนดเป้าหมายที่ต้องใช้กลุ่มอาชีพที่มีภาวะเสี่ยง(ความรู้รอบด้านเรื่อง อาชีวอนามัย,การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม,ระบบบริการสุขภาพ
• คนที่เก็บข้อมูล เช่น (กลุ่มอาชีพ / อปท. /กรรมการกองทุน จนท. )
• ประเภทข้อมูลที่ต้องเก็บตลอดจนการใช้กระบวนการอบรมฝึกให้เกิดการเรียนรู้การวิเคราะห์ การเขียนแผน/โครงการเสนอของบกองทุนตำบล • เครื่องมือชุดแบบแบบสอบถาม,App เชื่อมกับระบบข้อมูลกองทุน/บูรณาการร่วมกับระบบเว้ปไซต์กองทุนเพื่อการสร้างเสริมอาชีวอนามัยในวัยทำงานกลุ่มเสี่ยงในชุมชนผ่านเว็บไซต์กองทุนสุขภาพตำบล(www.localfund.happynetwork.org)

2.การประเมินผล : ประเมินภายใน  จัดตั้งทีมการประเมินและพัฒนาศักยภาพ
• ระบบข้อมูล : จำนวนพื้นที่ ชุดข้อมูลที่จะเก็บ ( ความเสี่ยง)  จำนวนเป้าหมายที่จะเก็บ • การออกแบบการประเมินเพื่อการเสริมพลังทีมงาน กลุ่มเป้าหมาย •  ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ :เน้นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่เป็นกลุ่มหลัก ( จำนวนการใช้ พื้นที่การใช้ การป้องกันในการใช้  จำนวนโครงการที่ขอใช้งบกองทุนตำบล ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาของพื้นที่) พื้นที่ประเมิน วัดผลที่พื้นที่เดิมในกรณีที่เกิดนวัตกรรม พื้นที่ใหม่วัดผลตามกิจกรรม •  พื้นที่ตัวอย่าง/พื้นที่ต้นแบบ :การวัดผลสำเร็จ นวัตกรรม (จำนวนพื้นที่) ในรูปแบบของเขต 12

การประเมินภายใน วัตถุประสงค์ :รู้สถานการณ์ของพื้นที่ (ตนเอง /พี่เลี้ยง /ส่วนกลาง )และการใช้ข้อมูลจากการประเมินวางแผนพัฒนาปรับกระบวนการและสร้างการเรียนรู้
รูปแบบการประเมินเพื่อเสริมพลัง ประเมิน 3 ระดับ
• ทีมพื้นที่ประเมินตนเอง • พี่เลี้ยงระดับเขต / ภาค... ( คุณอ้อย / อาจารย์แสง / คุณจุรีรัตน์/ คุณหญิง / คุณวนิดา / คุณสากุล • ทีมกลาง ( คุณหญิง /คุณอ้อย /คุณวนิดา / คุณอรจิตต์ /คุณแอ็ด /คุณแอ๊ว /ดร. ประวิตร์ และ สคร 11 )

การบ้าน :ทีมประเมินภายในโครงการ ( เขต 12) : เขตละ 4 คน ใครบ้าง.......
• เขต 11 : จุรีรัตน์ / อนันต์ / กรวรรณ/ ดร. ปวิตร • เขต 12 : อ. แสง ( เขต 12 หาคนเพิ่ม )
• ทีมประเมินกลาง  5 คน ( อ.วนิดา / วราพันธุ์ / ศิมาลักษณ์/ อ. แสง /จุรีรัตน์

นางสาวยุรี แก้วชูช่วง หารือเวทีประชุมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานพี่เลี้ยง (Coaching Team) ในวันที่ 8-9 เดือนตุลาคม พ.ศ.2562 เนื้อหาวันที่8 ตุลาคม 2562 (รู้ตัวตน รู้บทบาทการทำงานเป็นทีม) • บทบาทของกลไกระดับเขต ระดับจังหวัด ระดับพื้นที่/ระดับตำบล • ความรู้ แรงงานนอกระบบ,ความรู้เรื่องอาชีวอนามัย,ความรู้เรื่องระบบบริการ
• กองทุนสุขภาพตำบล • การทำความเข้าใจโครงการและภารกิจในการขับเคลื่อนงานฯ (การพัฒนาระบบข้อมูล, การร่วมประเมินอย่างมีส่วนร่วม ,การพัฒนาต่อยอดและสรุปบทเรียนสิ่งที่ทำมา) • ใช้กระบวนกลุ่ม การนำเสนอบทเรียนเพื่อการวิเคราะห์ และเรียนรู้

เนื้อหาวันที่9 ตุลาคม2562 (รู้สถานการณ์และกำหนดแนวทางการพัฒนาและการขยายผล) • สถานการณ์การสนับสนุนงบของกองทุนตำบล
• สถานการณ์การพัฒนากลุ่มแรงงานในปี2562
• แบ่งกลุ่ม เสนอสถานการณ์ต้นทุนของพื้นที่และสถานการณ์อุบัติการณ์ของโรค ตลอดจนหน่วยงานแหล่งสนับสนุน
• แบ่งกลุ่มวิเคราะห์และเสนอแนวทางการขยายผล และนำเสนอในกลุ่มใหญ่

ในส่วนสถานที่ประชุมให้ทางคณะทำงาน นางสาวอารีย์และว่าที่ ร.ต.หญิงคณิชญา ได้เลือกสถานที่ที่มีความเหมาะสม เดินทางสะดวกสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม ประสานงานพี่เลี้ยงเชิญพี่เลี้ยงเข้าร่วมประชุมตัวแทนจังหวัดละ 5 คน

 

20 0

7. ประชุมเตรียมหลักสูตรพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง

วันที่ 7 ตุลาคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.คณะทำงานโครงการฯเขต12และคณะทำงานแผนงานกลาง จำนวน 6คน ร่วมออกแบบกิจกรรมในการเวทีประชุม ทำให้คณะทำงานแต่คนได้เข้าใจบทบาทและแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบงาน

2.มีการปรับห้องปรับจากเดิมที่จัดเป็นคลาสรูม ซึ่งคณะทำงานได้ไห้ความเห็นว่ายังขาดพื้นที่ที่ทำกิจกรรมกลุ่มย่อย จึงได้มีการจัดให้เหลือเพียงเก้าอี้ จัดเป็นวงกลม ส่วนกิจกรรมกลุ่มย่อยจัดโ๖ีะอยู่ด้านนอกห้องประชุม ซึ่งจะมีความสะดวกมากกว่า

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 15.00-17.00น. ณ ห้องประชุมศาลาเสียงสน โรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท ตำบลชิงโค อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา คณะทำงานจากแผนงานกลางโดยนางสาววรกมล ไชยกัน ได้ร่วมวางแผนเตรียมงานกับคณะทำงานเขต12 ประกอบด้วย นายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน ,นางสาวยุรี แก้วชูช่วง ,นายบรรเจต นะแส , นางจันทนา  เจริญวิริยะภาพ ,อาจารย์แสงอรุณ อิสระมาลัย , อาจารย์กนกวรรณ หวนศรี นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี และนางสาวคณิชญา แซสโทส ซึ่งได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

-นายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน เป็นวิทยากรหลักที่จะชวนคิด ชวนคุยในเวทีและชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม

-นางสาวยุรี แก้วชูช่วง วิทยากรกระบวนการ ชวนพี่เลี้ยงวิเคราะห์สถานการณ์กลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยงของแต่ละพื้นที่

-อาจารย์แสงอรุณ อาจารย์กนกวรรณ และนางสาวฟาอีซ๊ะ บรรยายให้ความรู้เรื่องอาชีวอนามัย และการจัดบริการงานส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงจากการทำงาน

-นางจันทนาและนายบรรเจต วิทยากรกลุ่มย่อย ชวนคิด ชวนคุย ของกลุ่มพี่เลี้ยงจังหวัดในการวิเคราะห์แผนงานและสถานการณ์ผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง

-นางสาวอารีย์ และนางสาวคณิชญา อำนวยความสะดวกในการจัดประชุม และการจัดการการเงิน

 

10 0

8. การประชุมปฏิบัติการ การ Coaching การทำแผนกองทุน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ การใช้เว็บ ไซด์เพื่อการพัฒนาโครงการ (ประชุมทีมพี่เลี้ยงระดับเขต ทีมพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ )

วันที่ 8 ตุลาคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ทีมพี่เลี้ยงระดับจังหวัด ได้ร่วมวิเคราะห์สถานการณ์กลุ่ม/ผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง ในแต่ละพื้นที่ ทำให้เห็นอาชีพที่หลากหลาย เช่น เกษตรกรรม ,รับจ้าง ,ประมง และกลุ่มหัตถกรรมงานฝีมือ ซึ่งแต่ละอาชีพมีความเสี่ยง เช่น สารเคมี ,ท่าทางในการนั่งทำงาน และการเจ็บป่วย ปวดข้อ ปวดเมื่อย เป็นต้น

2.เกิดแผนการทำงานในแต่ละจังหวัด และพี่เลี้ยงได้ทบทวนพื้นที่กองทุนนำร่องฯ

3.การดำเนินงานต่อหลังจากเวที พี่เลี้ยงทีมระดับจังหวัดต้องมีการจัดประชุมทำความเข้าใจโครงการฯ กับพื้นที่และพี่เลี้ยงในจังหวัดตนเอง เพื่อวางแผนในการทำงานร่วมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 8-9 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 เวลา 09.00 – 16.00 น. ประชุมปฎิบัติการ Coaching ทำแผนสุขภาพและพัฒนาข้อเสนอโครงการแก้ปัญหาสุขภาวะชีวิตผู้ประกอบอาชีพ ที่มีความเสี่ยงผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ ณ ห้องประชุมศาลาเสียงสน โรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท ตำบลชิงโค อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

วันที่ 8 ตุลาคม 2562
วิทยากรกระบวนการ นางสาวยุรี แก้วชูช่วง คณะทำงานโครงการฯ ได้ให้ผู้เข้าร่วมประชุมแนะนําตัว /เขียนความคาดหวังจากการเข้าร่วมประชุม และบอกเล่าเกี่ยวกับงานที่ทำอยู่ในองค์กร และความสำเร็จ ความภาคภูมิใจในสิ่งที่ทำอยู่ ซึ่งผุ้ที่เข้าร่วมประชุม เช่น คณะกรรมการกองทุน ,เจ้าหน้าที่กองทุน และพี่เลี้ยงกองทุน(สปสช)  สิ่งที่สะท้อนถึงความสำเร็จของงานส่งเสริมสุขภาพของคนในพื้นที่ คือ มีโครงการฯของกองทุนตำบลที่ทำเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง และประเด็นแรงงานฯ ในช่วงปีแรก (2561) ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี คนในชุมชนเข้าถึงบริการสุขภาพ มีการคัดกรองโรค และการตรวจเลือดในกลุ่มเสี่ยง เช่น กลุ่มประมง ที่ทำงานเกี่ยวกับการซ่อมสร้างเรือ เงื่อนไขที่ทำให้สำเร็จ คณะกรรมการกองทุนในบางพื้นที่มีความเข้าใจ และการมีกลไกพี่เลี้ยงหนุนเสริมในพื้นที่

แบ่งกลุ่มตามจังหวัด 7 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส ,ยะลา,ปัตตานี,สงขลา,พัทลุง,สตูลและตรัง ในการให้แต่ละพื้นที่ได้วิเคราะห์สถานการณ์กลุ่ม /หรือผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง และประสบการณ์ส่งเสริมป้องกันโรค นางจันทนา เจริญวิริยะภาพ สรุปจากการวิเคราห์และนำเสนอในแต่ละกลุ่มจังหวัด ชี้ให้เห็นสถานการณ์แรงงานนอกระบบ ดังนี้

1.)จังหวัดนราธิวาส บริบทของพื้นที่ โซนภูเขา อาชีพทำสวนผลไม้ สวนยางพารา โซนเมือง มอเตอร์ไซต์รับจ้าง และโซนทะเล อาชีพประมงพื้นบ้าน และแปรรูปอาหารทะเล

2.)จังหวัดสตูล บริบทพื้นที่ โซนบก โซนทะเล มีอาชีพ เช่น ทำสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน ประมง

3.)จังหวัดตรัง การประกอบอาชีพ สวนยางพารา ,ค้าขาย และรับจ้างทั่วไป

4.)จังหวัดสงขลา บริบทพื้นที่ ประกอบด้วยเขตเมือง/ เขตชนบท ( ภูเขา ,ทะเล ) การประกอบอาชีพในเขตเมือง เช่น แม่ค้า ซาเล้ง จ้างเหมาบริการ ,เก็บขยะ รับซื้อของเก่า
การประกอบอาชีพในเขตชนบท เช่น สวนยางพารา ขึ้นมะพร้าว เลี้ยงสัตว์ เกษตรกร งานฝีมือ หัตถกรรม การประกอบอาชีพในเขตชายฝั่ง เช่น ทำประมง ปอกกุ้ง ปอกหัวปลา ลูกจ้างแพปลา

5.)จังหวัดพัทลุง บริบทพื้นที่ประกอบด้วยเขตเมือง/ เขตชนบท และเขตชายฝั่ง
การประกอบอาชีพ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถเมล์เล็ก กระจูด ประมง และช่างเสริมสวย

6.)จังหวัดปัตตานี บริบทพื้นที่ประกอบด้วยเขตเมือง ชนบทและชายฝั่ง
การประกอบอาชีพ ทำประมง ,รับจ้าง ปลอกหัวหอม กระเทียม เย็บอวน แกะหัวปลา คัดปลา เก็บขยะ ,ตัดเย็บเสื้อผ้า,ขายผ้ามือ๒.,ช่างซ่อม,ทำสวนยางพารา และสวนผลไม้

ปัญหาสถานการณ์เสี่ยงของกลุ่มแรงงานนอกระบบ

1.โรคทางเดินหายใจ

2.ด้านสายตา

3.โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

4.สารเคมี(ย่าฆ่าหญ้า,สารตะกั่ว)

5.สภาพแวดล้อม

6.อิริยาบถจากการทำงาน, สุขภาพจิต, สภาพที่อยู่อาศัยของคนกรีดยางไม่เหมาะสม

7.อุบัติเหตุจากอาชีพ

แนวทางการทำงานต่อ

1.สร้างข้อมูล(ผลกระทบในข้อมูลเข้างาน)

2.ตรวจสุขภาพในพื้นที่(ใกล้บ้าน)

3.การป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ

4.ทำทะเบียนผู้ประกอบการ

5.สร้างชุดความรู้จากอาชีพ(การป้องกัน, การติดตามการประเมินผล)

6.มาตราการทางกฎหมาย

7.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

8.สร้างทีมงานเครือข่าย

9.ทำให้กลุ่มเสี่ยงได้ร็และเข้าถึงสิทธิ

10.ประสานความร่วมมือจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง

นางสาวฟาอีซ๊ะ โตะโยะ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา และผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย ร่วมด้วยอ.กนกวรรณ หวนศรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บรรยายให้ความรู้ผลกะทบ หรือสิ่งที่จะก่อให้เกิดอันตรายจากการทำงาน/สถานที่ทำงาน และการจัดบริการอาชีวอนามัยในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง


วันที่9 ตุลาคม 2562 เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ บรรยายเกี่ยวกับกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ :นโยบายและแนวทางสนับสนุนการสร้างเสริมอาชีวอนามัยในวัยทำงานกลุ่มเสี่ยงในชุมชน และการจัดทำแผนสุขภาพประเด็นแรงงานนอกระบบ ในระบบเว้ปไซต์กองทุนฯ (www.localfund.happynetwork.org) และแบ่งกลุ่มพี่เลี้ยงตามจังหวัดในการจัดทำแผนการทำงานลงพื้นที่สนับสนุนงานกองทุนฯ

 

50 0

9. ประชุมเชิงปฎิบัติการคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการระดับเขตสุขภาพฯ เพื่อจัดเก็บข้อมูลความเสี่ยงจากการทำงานและการติดตามประเมินผลภายในฯ

วันที่ 12 ตุลาคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-วิเคราะห์เครื่องมือแบบสอบถาม ที่ทางอาจารย์อรุณ นักวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดทำ ซึ่งในที่ประชุมได้มีข้อเสนอแนะในการปรับปรุง โดยทางอาจารย์อรุรจะมีการปรับปรุงให้เสร็จภายในวันที่๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๒

-การเก็บข้อมูล ในส่วนของเขต๑๒ จะใช้เครื่องมือAppในการเก็บข้อมูล โดยอาจารย์แสงจะประสานกับทีมทำงานที่ออกแบบAppในการทำให้เสร็จภายในสิ้นเดือนตุลาคม และนำไปใช้ในพื้นที่กองทุนฯ แต่ละจังหวัด

-การจัดทำตัวชี้วัด และเกณฑ์ในการประเมิน แบบการเสริมพลัง โดยใช้เครื่องมือแบบซิปโมเดล

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่12-13ตุลาคม ณ รร.ปุรนคร อ.เมืองจ.นครศรีธรรมราช ประชุมเพื่อทำความเข้าใจการจัดเก็บข้อมูลจากการทำงานและการติดตามประเมินผลภายในโครงการระดับเขต      โดยมีผู้เข้าร่วมจาก คณะทำงานโครงการฯ สปสช.เขต 11 จ.สุราษฎร์ธานี สปสช.เขต12สงขลา นักวิเคราะห์และนโยบาย สสส.สำนัก9 นักวิชาการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักงานควบคุมโรค (สคร) ที่1 เชียงใหม่ และ สคร.ที่8อุดรธานี ตลอดจนมูลนิธิมิตรภาพบำบัด และเจ้าหน้าที่โครงการฯ โดยมีวัตถุประสงค์

1.เพื่อพิจารณากรอบคิดและพัฒนาเครื่องมือการติดตามประเมินผลภายในโครงการฯ

2.เพื่อพิจารณาแบบสอบถามในการเก็บข้อมูลความเสี่ยงและความรอบรู้ด้านสุขภาพ

กรอบคิดการประเมินภายใน โดยอาจารย์แสงอรุณ อิสระมาลัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เสนอหลักการประเมินแบบมีส่วนร่วมและการเสริมศักยภาพของคณะทำงานในทุกระดับ ใช้เครื่องมือรูปแบบซิปโมเดล (CIPP Model)

แบ่งกลุ่มคณะทำงานระดับเขต ในการจัดทำตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินผลการติดตามแบบเสริมพลัง
สำหรับเกณฑ์การประเมินระดับเขต12 สงขลา ได้ออกแบบกลไกเป็น 3ระดับ คือ ทีมบริหารโครงการฯ ทีมระดับเขต (Core Team ) และพี่เลี้ยงทีมระดับจังหวัด

 

15 0

10. ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงโครงการฯ รายจังหวัดและการทำแผนสุขภาพ พัฒนาโครงการ รายจังหวัดปัตตานี

วันที่ 16 ตุลาคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เจ้าหน้าที่กองทุนฯนำร่อง จำนวน 20กองทุน ได้ร่วมวิเคราะห์สถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่และความเสี่ยงจากการทำงานของกลุ่มอาชีพในพื้นที่

2.มีข้อมูลสถานการณ์กลุ่มอาชีพเสี่ยง ประกอบด้วย ทำนา สวนผลไม้ทุเรียน เงาะ ลองกอง ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ รับจ้างทั่วไป เช่น ก่อสร้าง รับจ้างฉีกปลาจิ้งจัง ,การทำอาชีพประมง ออกเรือ และการรวมกลุ่มแม่บ้านทำขนมกาละแม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 09.00-13.00น. ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกองทุนฯแผนแรงงานนอกระบบ ณ. สสอ.หนองจิก จังหวัดปัตตานี คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ร่วมกับเทศบาลตำบลหนองจิกและทีมพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบล พูดคุยทำความเข้าใจการจัดทำแผนสุขภาพประเด็นแรงงานนอกระบบ โดยมีพื้นที่นำร่อง.๓อำเภอของจังหวัดปัตตานี คือ อำเภอแม่ลาน อำเภอโคกโพธิ์ และอำเภอหนองจิกเข้าร่วม
นายแพทย์ ยงยศ ธรรมวุฒิ ตำแหน่งสาธารณสุขอำเภอหนองจิก เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมกล่าวต้อนรับคณะทำงาน เขต 12 สงขลา (สปสช) ,คณะทำงานโครงการพัฒนากลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่นสำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ และกองทุนสุขภาพตำบลนำร่อง จำนวน 20 กองทุน
นายมะรอกี เวาะเลง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขเทศบาลตำบลหนองจิก ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม และทบทวนพื้นที่กองทุนนำร่องแนะนำพี่เลี้ยงทีมจังหวัดให้กองทุนได้รู้จัก นางสาวยุรี แก้วชูช่วง คณะทำงานโครงการฯ ระดมความคิดเห็นสถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่ กองทุนที่เข้าร่วมได้เสนอและวิเคราะห์กลุ่มอาชีพเสี่ยงและโรคที่เกิดจากการทำงาน ดังนี้

1.องค์การบริหารส่วนตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก อาชีพ ประมง ร้อยละ80 ความเสี่ยงของอาชีพประมง เช่น อุบัติเหตุ ,ประชาชนในพื้นที่ขาดความรอบรู้เรื่องความเสี่ยงของอาชีพ

2.เทศบาลตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก การประกอบอาชีพเกษตรกร มีความเสี่ยงเรื่องสารเคมีตกค้าง เช่น ยาฆ่าหญ้า มีความสนใจการทำเกษตรปลอดสารพิษ

3.องค์การบริหารส่วนตำบลปุโละปุโยอำเภอหนองจิก การประกอบอาชีพเกษตร เช่น สวนยาง,ทำไร่,ทำนา ,ประมง เกษตรกรเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมี และประมง เสี่ยงเกี่ยวกับการปวดข้อ ปวดเข่า ปวดเมื่อย

4.องค์การบริหารส่วนตำบลยาบี อำเภอหนองจิก ร้อยละ90 ประกอบอาชีพทำเกษตร เช่น ทำสวนปาล์ม ทำนา สวนยางพารา ,เลี้ยงสัตว์( วัว,แพะ) ความเสี่ยง มีโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ปลูกติดกับที่อยู่อาศัย อาจทำให้เป็นพาหนะโรคมาสู่คน ,สารเคมีปนเปื้อนจากการทำเกษตร

5.องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก ประกอบอาชีพทำเกษตร สวนยางพารา ,เลี้ยงสัตว์ ,ก่อสร้าง มีความเสี่ยงต่อโรคที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์ สัตว์นำโรคสู่คน เนื่องจากโรงเรือนปลูกติดกับที่อยู่อาศัย การสัมผัสสารเคมี

6.องค์การบริหารส่วนตำบลลิปะสะโง อำเภอหนองจิก ประกอบอาชีพเกษตร เช่น ปลูกข้าว สวนยางพารา ปลูกผักสวนครัว ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปวดเมื่อย ,สัมผัสสารเคมี

7.องค์การบริหารส่วนตำบลป่าบอน อำเภอโคกโพธิ์ ประกอบอาชีพเกษตร เช่น สวนยาง ,ทำนา ความเสี่ยง การปวดเมื่อย ,สัมผัสสารเคมี

8.องค์การบริหารส่วนตำบลดอนรัก อำเภอหนองจิก การประกอบเกษตร เช่น ทำนา ,สวนยางพารา ,รับจ้างก่อสร้าง ,เลี้ยงสัตว์ (นกเขา ,นกกรง ,ไก่ดำ ,เลี้ยงวัว) กลุ่มแม่บ้าน ทำกาละแม ,ฉีกปลาจิ้งจัง ,ประมง ออกเรือ มีความเสี่ยงต่อโรคที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์ สัตว์นำโรคสู่คน เพราะมีโรงเรือนใกล้ที่อยู่อาศัย และ อุบัติเหตุ /การจมน้ำ ,การสัมผัสสารเคมี, การปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว

9.องค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ การประกอบอาชีพเกษตร เช่น สวนยางพารา สวนผลไม้ ทุเรียน เงาะ มีความเสี่ยง การปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว ,สัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ ,การสัมผัสสารเคมี

 

20 0

11. โครงการสนับสนุนพี่เลี้ยงแรงงานนอกระบบ จังหวัดปัตตานี 2563 : ประชุมกองทุนชี้แจงทำความเข้าใจโครงการฯ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ)

วันที่ 16 ตุลาคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เจ้าหน้าที่กองทุนฯนำร่อง จำนวน 20กองทุน ได้ร่วมวิเคราะห์สถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่และความเสี่ยงจากการทำงานของกลุ่มอาชีพในพื้นที่

2.มีข้อมูลสถานการณ์กลุ่มอาชีพเสี่ยง ประกอบด้วย ทำนา สวนผลไม้ทุเรียน เงาะ ลองกอง ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ รับจ้างทั่วไป เช่น ก่อสร้าง รับจ้างฉีกปลาจิ้งจัง ,การทำอาชีพประมง ออกเรือ และการรวมกลุ่มแม่บ้านทำขนมกาละแม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 09.00-13.00น. ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกองทุนฯแผนแรงงานนอกระบบ ณ. สสอ.หนองจิก จังหวัดปัตตานี คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ร่วมกับเทศบาลตำบลหนองจิกและทีมพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบล พูดคุยทำความเข้าใจการจัดทำแผนสุขภาพประเด็นแรงงานนอกระบบ โดยมีพื้นที่นำร่อง.๓อำเภอของจังหวัดปัตตานี คือ อำเภอแม่ลาน อำเภอโคกโพธิ์ และอำเภอหนองจิกเข้าร่วม
นายแพทย์ ยงยศ ธรรมวุฒิ ตำแหน่งสาธารณสุขอำเภอหนองจิก เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมกล่าวต้อนรับคณะทำงาน เขต 12 สงขลา (สปสช) ,คณะทำงานโครงการพัฒนากลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่นสำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ และกองทุนสุขภาพตำบลนำร่อง จำนวน 20 กองทุน
นายมะรอกี เวาะเลง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขเทศบาลตำบลหนองจิก ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม และทบทวนพื้นที่กองทุนนำร่องแนะนำพี่เลี้ยงทีมจังหวัดให้กองทุนได้รู้จัก นางสาวยุรี แก้วชูช่วง คณะทำงานโครงการฯ ระดมความคิดเห็นสถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่ กองทุนที่เข้าร่วมได้เสนอและวิเคราะห์กลุ่มอาชีพเสี่ยงและโรคที่เกิดจากการทำงาน ดังนี้

1.องค์การบริหารส่วนตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก มีสถานการณ์แรงงาน คือ อาชีพประมง ร้อยละ80 ความเสี่ยงของอาชีพประมง เช่น อุบัติเหตุ ,ประชาชนในพื้นที่ขาดความรอบรู้เรื่องความเสี่ยงของอาชีพ

2.เทศบาลตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก การประกอบอาชีพเกษตรกร มีความเสี่ยงเรื่องสารเคมีตกค้าง เช่น ยาฆ่าหญ้า มีความสนใจการทำเกษตรปลอดสารพิษ

3.องค์การบริหารส่วนตำบลปุโละปุโยอำเภอหนองจิก การประกอบอาชีพเกษตร เช่น สวนยาง,ทำไร่,ทำนา ,ประมง เกษตรกรเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมี และประมง เสี่ยงเกี่ยวกับการปวดข้อ ปวดเข่า ปวดเมื่อย

4.องค์การบริหารส่วนตำบลยาบี อำเภอหนองจิก ร้อยละ90 ประกอบอาชีพทำเกษตร เช่น ทำสวนปาล์ม ทำนา สวนยางพารา ,เลี้ยงสัตว์( วัว,แพะ) ความเสี่ยง มีโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ปลูกติดกับที่อยู่อาศัย อาจทำให้เป็นพาหนะโรคมาสู่คน ,สารเคมีปนเปื้อนจากการทำเกษตร

5.องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก ประกอบอาชีพทำเกษตร สวนยางพารา ,เลี้ยงสัตว์ ,ก่อสร้าง มีความเสี่ยงต่อโรคที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์ สัตว์นำโรคสู่คน เนื่องจากโรงเรือนปลูกติดกับที่อยู่อาศัย การสัมผัสสารเคมี

6.องค์การบริหารส่วนตำบลลิปะสะโง อำเภอหนองจิก ประกอบอาชีพเกษตร เช่น ปลูกข้าว สวนยางพารา ปลูกผักสวนครัว ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปวดเมื่อย ,สัมผัสสารเคมี

7.องค์การบริหารส่วนตำบลป่าบอน อำเภอโคกโพธิ์ ประกอบอาชีพเกษตร เช่น สวนยาง ,ทำนา ความเสี่ยง การปวดเมื่อย ,สัมผัสสารเคมี

8.องค์การบริหารส่วนตำบลดอนรัก อำเภอหนองจิก การประกอบเกษตร เช่น ทำนา ,สวนยางพารา ,รับจ้างก่อสร้าง ,เลี้ยงสัตว์ (นกเขา ,นกกรง ,ไก่ดำ ,เลี้ยงวัว) กลุ่มแม่บ้าน ทำกาละแม ,ฉีกปลาจิ้งจัง ,ประมง ออกเรือ มีความเสี่ยงต่อโรคที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์ สัตว์นำโรคสู่คน เพราะมีโรงเรือนใกล้ที่อยู่อาศัย และ อุบัติเหตุ /การจมน้ำ ,การสัมผัสสารเคมี, การปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว

9.องค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ การประกอบอาชีพเกษตร เช่น สวนยางพารา สวนผลไม้ ทุเรียน เงาะ มีความเสี่ยง การปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว ,สัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ ,การสัมผัสสารเคมี

 

20 0

12. การประชุมทีมผู้รับผิดชอบโครงการฯ(ทีมบริหารเขต12 ) ในการวางแผนงานและติดตามการดำเนินโครงการฯ

วันที่ 24 ตุลาคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.) คณะทำงานเข้าร่วมการประชุมมีดังนี้
1.นายเจ๊ะอับดุลห์ แดหวัน , 2.เภสัชกร สมชาย ละอองพันธุ์ ,3.นางสาวยุรี แก้วชูช่วง คณะทำงานโครงการ เขต๑๒สงขลา 4.นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี 5.ว่าที่ร้อยตรีหญิง คณิชญา แซนโทส
คณะทำงานมีการแบ่งบทบาท หน้าที่ในการหนุนเสริมการทำงานของเขต 12 ดังนี้
1.พื้นที่จังหวัดสงขลา พัทลุง และปัตตานี รับผิดชอบโดย นางสาวยุรี รับผิดชอบ
2.พื้นที่จังหวัด นราธิวาส ยะลา สตูล และตรัง รับผิดชอบโดย นายเจ๊ะอับดุลล่าห์
หมายเหตุ : ในการลงพื้นที่หนุุนเสริมการทำงานของกลไกจังหวัด ทางเขตจ่ายเป็นค่าตอบแทนวิทยากร และค่าเดินทาง ซึ่งคณะทำงานที่ลงไปหนุนเสริมต้องมีการทำรายงาน นำส่งผลงานกับเขต และก่อนลงไปพื้นที่ จะต้องมาออกแบบ ประชุมรว่มกับเขตก่อนทุกครั้ง
2.) คณะทำงานทีมระดับเขต ประกอบด้วย อปท. (ทต.ปริก ,ทม.คอหงส์ / ส่วนราชการ (เขต 12 ,สคร) ภาคประชาชน /นักวิชาการ และคณะทำงานโครงการเขต12 รวม 14 คน

3.) แผนการทำงานของพี่เลี้ยงกลไกจังหวัด ยังต้องมีการปรับแก้ไข บางจังหวัดยังขาดความสมบรูณ์ของแผนและยังไม่ได้บันทึกในระบบเว้ปกองทุนฯ ดังนั้นจึงต้องให้ทีมจังหวัดทำข้อมูลลงในระบบ นำส่งแผน เพื่อที่จะมีการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการฯ ในงวดที่1

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 24 ตุลาคม 2562 ณ ห้องประชุมสำนักงานหลักประกันสุขภาพเขต 12 สงขลา ชั้น 3 อาคารสยามนครินทร์คอมเพล็กซ์ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา คณะทำงานโครงการฯ มีการประชุมเพื่อวางแผนการทำงาน เริ่มประชุมเวลา 13:00น.

วาระที่ 1 รายชื่อคณะกรรมการระดับเขต (อย่างเป็นทางการ) ดังนี้

1.นายสุริยา ยีขุน  นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลปริก

2.นายฉลอง พัฒโน รองนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองคอหงส์

3.นางพรศิริ ขันติกุลานนท์ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) สสอ.หนองจิก จังหวัดปัตตานี

4.ผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

5.นางสาวกนกวรรณ หวนศรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

6.นางสาวฟาอีซ๊ะ โตะโยะ นักวิชาการสาธารณะสุขระดับชำนาญการพิเศษ สำนักงานควบคุมโรคที่๑๒จังหวัดสงขลา

7.นายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน ผู้ประสานงานโครงการฯ เขต12 สงขลา

8.เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ หัวหน้ากองทุนฯ (สปสช.เขต12)

9.นางสาวยุรี แก้วชูช่วง  คณะทำงานโครงการฯ เขต12สงขลา

10.นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี คณะทำงานโครงการฯ เขต12สงขลา

11.ว่าที่ร้อยตรีหญิง คณิชญา แซนโทส คณะทำงานโครงการฯ เขต12สงขลา

12.นายบรรเจต นะแส  ตัวแทนภาคประชาชน ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ตำบลทุ่งหว้า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

13.นายวิเชียร มณีรัตนโชติ ภาคประชาชน ที่อยู่เลขที่ 53 หมู่ที่ 4 ตำบลปากพะยูน อำเภอปากพะยูน จังหวัด สงขลา

14.นางจันทนา เจริญวิริยะภาพ ผู้ประสานงานภาคใต้มูลนิธิแรงงานและอาชีพ

วาระที่ 2 การรายงานการเงิน
1.เรื่องค่าตอบแทน นางสาวยุรี แก้วชูช่วง และนายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน ให้รับจากแผนงานกลาง
2.การโอนเงินสนับสนุนพี่เลี้ยงกองทุนในการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ กองทุนละ 1,000 บาท จำนวน 140 กองทุน ในงวดที่1 เมื่อพี่เลี้ยงจังหวัดนำส่งแผนงานการทำงาน ในระบบเว้ปไซต์กองทุนฯ https://localfund.happynetwork.org

วาระที่3 เรื่องการประเมินภายใน มีงบประมาณ 100,000 – (หนึ่งแสนบาทถ้วน) โดยให้ทางอาจารย์แสงอรุณ อิสระมาลัย เขียนเสนอโครงการไปยังแผนงานกลาง เพื่อทำสัญญา (Tor) ซึ่งจะมีการแบ่งงวดงานเหมือนกับของโครงการฯเขต12 ในการทำกระบวนการพัฒนาศักยภาพ ทีมติดตามประเมินผลภายใน เพื่อให้เกิดการติดตามประเมินผลแบบเสริมพลัง เชื่อมโยงกับระบบแผนงานกลาง.Outputs คือ
1. โครงการฯ พร้อมเกณฑ์และเครื่องมือ และแผนการติดตามประเมินผลระดับเขต/จังหวัด
2. รายงานผลการติดตามประเมินรายงวด พร้อมแผนการติดตามประเมินผลภายในงวดต่อไป ที่ต้องส่งมาพร้อมกับรายงานผลการดำเนินงานของเขต เพื่อประกอบงวดงาน งวดเงิน 3. รายงานผลการติดตามประเมินผล เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ ฯ ส่งมาพร้อมกับรายงานโครงการฯ
วาระที่4 บทบาทหน้าที่ของคณะทำงานเขต12 ในการติดตามหนุนเสริมลงพื้นที่หนุนเสริมทีมระดับกลไกจังหวัด เพื่อให้เกิดแผนการทำงานของพี่เลี้ยงจังหวัด ซึ่งทางเขตรับผิดชอบในเรื่องของค่าเดินทางและค่าตอบแทนวิทยากรตามความเหมาะสมของงาน ในการลงพื้นที่แต่ละครั้งจะต้องมีการรายงานผลงานให้กับเขตได้รับทราบ และคณะทำงานโครงการฯต้องทำความเข้าใจและสามารถให้คำแนะนำต่อทีมจังหวัดได้ในเรื่องของระบบเว้ปไซต์กองทุนhttps://localfund.happynetwork.org
-จังหวัดสงขลา พัทลุง ปัตตานี โดยนางสาวยุรี แก้วชูช่วง
-จังหวัดนราธิวาส ยะลา ตรัง และสตูล โดยนายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน

วาระที่5 แผนงาน/ กิจกรรมของพี่เลี้ยงจังหวัด จากการตรวจดูในระบบเว้ปฯในบางรายจังหวัดพี่เลี้ยงยังมีการออกแบบแผนไม่ครอบคลุม ให้มีการแก้ไข เช่น จังหวัดสตูล สงขลา ส่วนจังหวัดอื่นๆ ยังไม่ใสข้อมูลในระบบเว้ปกองทุนฯ ดังนั้นเพื่อให้เป็นในแนวทางเดียวกัน และเพื่อให้เกิดผลผลิต /ผลลัพธ์ ในเรื่องของทีมคณะทำงานกลไกแต่ละจังหวัด รายชื่อกองทุนนำร่อง กองทุนตำบลเข้มข้น และ ข้อมูลกลุ่มอาชีพที่จะเก็บข้อมูลผ่านApp จึงต้องให้แต่ละจังหวัดต้องจัดเวทีการประชุมพูดคุยทำความเข้าใจโครงการฯ พร้อมนำส่งผลงานในระบบเว้ป กองทุนฯ ส่วนการนัดหมายวันเวลา ระหว่างพื้นที่จังหวัดและคณะทำงานเขต12 ให้ทางนางสาวอารีย์ เป็นผู้ประสานงาน ซึ่งแต่ละจังหวัดต้องดำเนินการให้เสร็จภายในเดือน พย. 2562

เวลา 16.00 น. ปิดการประชุม

 

5 0

13. การบริหารจัดการโครงการ เดือนตุลาคม 2562

วันที่ 31 ตุลาคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการ(ผู้ประสานงานหลัก) นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี เป็นเงิน 10,000 บาท

-ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่การเงินและบริหารจัดการทั่วไป นางสาวคณิชญา แซนโทส เป็นเงิน 5,000 บาท

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

-ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการ(ผู้ประสานงานหลัก) นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี เป็นเงิน 10,000 บาท

-ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่การเงินและบริหารจัดการทั่วไป นางสาวคณิชญา แซนโทส เป็นเงิน 5,000 บาท

 

2 0

14. ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงโครงการฯ รายจังหวัด การทำแผนสุขภาพ พัฒนาโครงการ จังหวัดยะลา

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.อปท. จำนวน 15 พท.ที่เข้าร่วมมีความเข้าใจโครงการฯ และจะมีการนำเสนอข้อมูลต่อผู้บริหารท้องถิ่น

2.อปท. จำนวน 5 พท. ที่ไม่ได้เข้าร่วม ทางพี่เลี้ยงระดับจังหวัด จะมีการจัดประชุมทำความเข้าใจเพิ่มเติม

3.จากการลงพื้นที่ คณะทำงานเขต ได้เสนอต่อพื้นที่ในเรื่องของกลไก อสอช.ในพื้นที่ แทบไม่มีบทบาท หรือ พื้นที่หาไม่เจอ ส่งผลให้ยังไม่ค่อยมีข้อมูล/หาข้อมูลไม่เจอ ว่า แรงงานนอกระบบในพื้นที่ เป็นอย่างไร ? ดังนั้นในโครงการที่ขอรับผ่านกองทุนฯ ให้มีกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ อสอช. ข้อมูลการทำแผนในเว็บไซต์localfund.happynetwork.org/ ยังไม่สมบูรณ์ ต้องให้พื้นที่ทำข้อมูล และปรับให้มีแผนที่สมบูรณ์มากขึ้น พี่เลี้ยงติดตามต่อ ประเมินผ่านเว็บไซต์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมประชุมชี้แจงโครงการฯ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง (แรงงานนอกระบบ) ให้กับกองทุนสุขภาพตำบลจำนวน 20 พื้นที่ ประกอบด้วย กองทุนแบบนำร่องเข้มข้น และกองทุนแบบทั่วไป ซึ่ง จว.ยะลา ได้เสนอรายชื่อกองทุน ดังนี้ รายชื่อกองทุนสุขภาพตำบลทั่วไป 1 ทต.บุดี อำเภอเมืองยะลา, 2 อบต.พร่อง อำเภอเมืองยะลา,3 ทต.ยุโป อำเภอเมืองยะลา, 4 อบต.ห้วยกระทิง อำเภอกรงปีนัง 5 อบต.สะเอะ อำเภอกรงปีนัง 6 อบต.บุโรง อำเภอกรงปีนัง 7 อบต.กอตอตือระ อำเภอรามัน 8.อบต.บาโงย อำเภอรามัน 9 อบต.วังพญา อำเภอรามัน 10 อบต.ตือโละหาลอ อำเภอรามัน
11 อบต.คีรีเขต อำเภอธารโต 12 อบต.ลำพะยา อำเภอเมือง 13 อบต.อัยเยอร์เวง อำเภอเบตง 14 อบต.บาโระ อำเภอเมือง 15 อบต.บาละ อำเภอกาบัง
รายชื่อกองทุนนำร่องฯ 1 ทม.เบตง อำเภอเบตง 2 อบต.บาลอ อำเภอรามัน 3 อบต.ตาชี อำเภอยะหา 4 อบต.ตาเนาะปูเตะ อำเภอบันนังสตา 5 ทต.โกตาบารู อำเภอรามัน

เวลา 09.00 -16.00 น. ณ ห้องประชุมอรุณสวัสดิ์ เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา  นายประพันธ์ สีสุข พี่เลี้ยงผู้ประสานจังหวัดยะลา กล่าวทักทายกองทุนสุขภาพตำบลที่เข้าร่วมประชุม จำนวน 15 กองทุน จากเดิมที่วางแผนไว้ 20 กองทุน พร้อมทั้งกล่าวต้อนรับคณะทำงานจาก สปสช.เขต 12 สงขลา และผู้ประสานงานโครงการจากสมาคมวิถีทางเลือกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SADA) นายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน ผู้ประสานงานโครงการฯ เขต 12สงขลา ชี้แจงภาพรวม วัตถุประสงค์โครงการฯ พื้นที่กองทุนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้ดำเนินงานอยู่ในพื้นที่ เช่น ทม.เบตง ในปี 2561 ได้มีการทำโครงการกับกลุ่มอาชีพจักสานเชือกพลาสติก เพื่อลดความเสี่ยงเรื่องของนิ้วล็อกจากการทำงาน ทำให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้จากการอบรม และจัดซื้ออุปกรณ์เพื่อแก้ปัญหานิ้วล็อก ในส่วนพื้นที่กองทุนอื่นๆ ยังต้องทำความเข้าใจกับผู้บริหาร หน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการค้นหาแกนนำ (อสอช) กลุ่มอาชีพเสี่ยงในพื้นที่
เวลา 13.00 น. เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ แนะแนวการจัดทำแผนกลุ่มอาชีพเสี่ยง (แรงงานนอกระบบ) ให้กับกองทุนและพัฒนาร่าง คก. ในระบบเว้ปกองทุนlocalfund.happynetwork.org ซึ่งกองทุนจะต้องไปดำเนินการต่อเพื่อให้ คก.มีความสมบรูณ์ ในส่วนพี่เลี้ยง จว.จะมีการติดตามในระบบเพื่อแนะนำในเรื่องของการออกแบบกิจกรรม คก.

 

50 0

15. โครงการสนับสนุนพี่เลี้ยงแรงงานนอกระบบ จังหวัดยะลา 2563 : ประชุมกองทุนสุขภาพตำบลชี้แจงทำความเข้าใจโครงการฯกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ)

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีข้อเสนอแนะต่อพื้นที่ เรื่องกลไก อสอช.ในพื้นที่ แทบไม่มีบทบาท หรือ พื้นที่หาไม่เจอ ส่งผลให้ยังไม่ค่อยมีข้อมูล/หาข้อมูลไม่เจอ ว่า แรงงานนอกระบบในพื้นที่ เป็นอย่างไร ? ดังนั้นในโครงการที่ขอรับผ่านกองทุนฯ ให้มีกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ อสอช. ข้อมูลการทำแผนในเว็บไซต์localfund.happynetwork.org/ ยังไม่สมบูรณ์ ต้องให้พื้นที่ทำข้อมูล และปรับให้มีแผนที่สมบูรณ์มากขึ้น พี่เลี้ยงติดตามต่อ ประเมินผ่านเว็บไซต์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.กองทุนจังหวัดยะลา จัดประชุมชีแจงโครงการฯ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง (แรงงานนอกระบบ) ให้กับกองทุนนำร่องจำนวน 15 พื้นที่ จากที่วางแผนไว้ 20 พื้นที่ ณ ห้องประชุมศรีสวัสดิ์ เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา นายประพันธ์ สีสุข ทบทวนรายชื่อกองทุนที่เข้าร่วมโครงการ คือ รายชื่อกองทุนสุขภาพตำบลทั่วไป 1 ทต.บุดี อำเภอเมืองยะลา, 2 อบต.พร่อง อำเภอเมืองยะลา,3 ทต.ยุโป อำเภอเมืองยะลา, 4 อบต.ห้วยกระทิง อำเภอกรงปีนัง 5 อบต.สะเอะ อำเภอกรงปีนัง 6 อบต.บุโรง อำเภอกรงปีนัง 7 อบต.กอตอตือระ อำเภอรามัน 8.อบต.บาโงย อำเภอรามัน 9 อบต.วังพญา อำเภอรามัน 10 อบต.ตือโละหาลอ อำเภอรามัน 11 อบต.คีรีเขต อำเภอธารโต 12 อบต.ลำพะยา อำเภอเมือง 13 อบต.อัยเยอร์เวง อำเภอเบตง 14 อบต.บาโระ อำเภอเมือง 15 อบต.บาละ อำเภอกาบัง รายชื่อกองทุนนำร่องฯ 1 ทม.เบตง อำเภอเบตง 2 อบต.บาลอ อำเภอรามัน 3 อบต.ตาชี อำเภอยะหา 4 อบต.ตาเนาะปูเตะ อำเภอบันนังสตา 5 ทต.โกตาบารู อำเภอรามัน

2.เจ้าหน้าที่กองทุนได้ฝึกปฎิบัติการจัดทำแผนและพัฒนาร่าง คก.ประเด็นแรงงานนอกระบบ โดยมีเภสัชกรสมชาย (สปสช.เขต 12สงขลา ) ได้ให้คำแนะนำ และฝึกการใช้แอพพลิเคชั่นในการเก็บข้อมูลกลุ่มเสี่ยง โดยนายฐากูร ปราบดี (มอ)

3.พท.ยะลา เช่น ทม.ยะลา มีต้นทุนเดิมเคยมีการทำ คก.กลุ่มจักสานพลาสติก ทำให้สามารถลดความเสี่ยงในเรื่องของนิ้วล็อก และทำให้กลุ่มอาชีพมีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการนั่งทำงาน

4.กองทุนบางพื้นที่ ยังเป็นเรื่องใหม่ จึงต้องกลับไปเสนอต่อผู้บริหารท้องถิ่น ,รพ.สต.และการค้นหา ทำข้อมูลกลุ่มอาชีพเสี่ยงในพื้นที่

 

50 0

16. โครงการสนับสนุนพี่เลี้ยงแรงงานนอกระบบ จังหวัดปัตตานี 2563 : ลงพื้นที่ประชุมจัดทำแผนและพัฒนาร่างโครงการฯ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ)

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.กองทุนสุขภาพตำบล จำนวน 20 พื้นที่ และพี่เลี้ยงจังหวัดจำนวน5 คน มีความเข้าใจในเครื่องมือการเก็บข้อมูล และการออกแบบกิจกรรมโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ)

2.กองทุนปัตตานี จำนวน 20 พื้นที่ มีการดำเนินเป็นพื้นที่นำร่องทั้งหมด

3.กลไกพี่เลี้ยงจังหวัดปัตตานี ได้แบ่งบทบาทหน้าที่รับผิดชอบดังนี้

1.)เทศบาลตำบลหนองจิก, องค์การบริหารส่วนตำบลดาโต๊ะ ,องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละปุโย ,องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ ,องค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่ รับผิดชอบโดย นายมูหมัด วันสุไลมาน

2.)องค์การบริหารส่วนตำบลตุยง ,องค์การบริหารส่วนตำบลท่ากำชำ, องค์การบริหารส่วนตำบลดอนรัก ,องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทอง ,องค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว รับผิดชอบโดย นายมะรอกี เวาะเวง

3.)องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวา ,องค์การบริหารส่วนตำบลบางเขา ,องค์การบริหารส่วนตำบลคอลอ รับผิดชอบโดย นส.ซำซียะห์ ดือราแม

4.)องค์การบริหารส่วนตำบลลิปะสะไง ,องค์การบริหารส่วนตำบลป่าไร่ ,องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาน ,องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงเตี้ย รับผิดชอบโดย นายอับดุลก้อเดช โตะยะลา

5.)องค์การบริหารส่วนตำบลยาบี, องค์การบริหารส่วนตำบลป่าบอน,องค์การบริหารส่วนตำบลบางโกระ รับผิดชอบโดย นส.เครือวัลย์ ลาภานันท์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมสาธารณสุขอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี นายมะรอกี เวาะเวง ผอ.กองสาธารณสุข ทต.หนองจิก พี่เลี้ยงผู้ประสานงานได้จัดประชุมการจัดทำแผนและพัฒนาร่างโครงการฯ กลุ่มอาชีพเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ) โดยมีอาจารย์อะหมัด หลีขาหรี คณะทำงานเขต 12 ได้ให้ความรู้ในการจัดทำแผนผ่านระบบเว้ปไซต์กองทุนฯ ให้กับกองทุน จำนวน 20 พื้นที่ ใน 3 อำเภอ (หนองจิก ,แม่ลาน ,โคกโพธิ์) จังหวัดปัตตานี ตลอดจนฝึกปฎิบัติการใช้แอพพลิเคชั่น ในการเก็บข้อมูล โดยนายฐากูร ปราบปรี เพื่อให้พี่เลี้ยงจังหวัดและกองทุนที่เข้าร่วมเข้าใจเครื่องมือในการดำเนินกิจกรรมโครงการ ดังนี้
1 เทศบาลตำบลหนองจิก อ.หนองจิก ,2 องค์การบริหารส่วนตำบลตุยง อ.หนองจิก ,3 องค์การบริหารส่วนตำบลท่ากำชำ อ.หนองจิก ,4 องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวา อ.หนองจิก ,5 องค์การบริหารส่วนตำบลบางเขา อ.หนองจิก ,6 องค์การบริหารส่วนตำบลดอนรัก อ.หนองจิก ,7 องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละปุโย อ.หนองจิก ,8 องค์การบริหารส่วนตำบลลิปะสะไง อ.หนองจิก ,9 องค์การบริหารส่วนตำบลยาบี อ.หนองจิก ,10 องค์การบริหารส่วนตำบลดาโต๊ะ อ.หนองจิก ,11 องค์การบริหารส่วนตำบลคอลอ อ.หนองจิก 12 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ อ.หนองจิก ,13 องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทอง อ.หนองจิก ,14 องค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่ อ.โคกโพธิ์ ,15 องค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว อ.โคกโพธิ์ ,16 องค์การบริหารส่วนตำบลป่าบอน อ.โคกโพธิ์ ,17 องค์การบริหารส่วนตำบลบางโกระ อ.โคกโพธิ์ ,18 องค์การบริหารส่วนตำบลป่าไร่ อ.แม่ลาน ,19 องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาน อ.แม่ลาน ,20 องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงเตี้ย อ.แม่ลาน

 

50 0

17. ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงโครงการฯรายจังหวัด การทำแผนสุขภาพ พัฒนาโครงการ จังหวัดปัตตานี

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.กองทุนสุขภาพตำบล จำนวน 20 พื้นที่ และพี่เลี้ยงจังหวัดจำนวน5 คน มีความเข้าใจในเครื่องมือการเก็บข้อมูล และการออกแบบกิจกรรมโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ)

2.กองทุนปัตตานี จำนวน 20 พื้นที่ มีการดำเนินเป็นพื้นที่นำร่องทั้งหมด

3.กลไกพี่เลี้ยงจังหวัดปัตตานี ได้แบ่งบทบาทหน้าที่รับผิดชอบดังนี้

1.)เทศบาลตำบลหนองจิก, องค์การบริหารส่วนตำบลดาโต๊ะ ,องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละปุโย ,องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ ,องค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่ รับผิดชอบโดย นายมูหมัด วันสุไลมาน

2.)องค์การบริหารส่วนตำบลตุยง ,องค์การบริหารส่วนตำบลท่ากำชำ, องค์การบริหารส่วนตำบลดอนรัก ,องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทอง ,องค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว รับผิดชอบโดย นายมะรอกี เวาะเวง

3.)องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวา ,องค์การบริหารส่วนตำบลบางเขา ,องค์การบริหารส่วนตำบลคอลอ รับผิดชอบโดย นส.ซำซียะห์ ดือราแม

4.)องค์การบริหารส่วนตำบลลิปะสะไง ,องค์การบริหารส่วนตำบลป่าไร่ ,องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาน ,องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงเตี้ย รับผิดชอบโดย นายอับดุลก้อเดช โตะยะลา

5.)องค์การบริหารส่วนตำบลยาบี, องค์การบริหารส่วนตำบลป่าบอน,องค์การบริหารส่วนตำบลบางโกระ รับผิดชอบโดย นส.เครือวัลย์ ลาภานันท์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

จังหวัดปัตตานี จัดประชุมพัฒนาแผน ร่างโครงการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง (แรงงานนอกระบบ) ณ ห้องประชุม สสอ.หนองจิก จังหวัดปัตตานี โดยมีกองทุนนำร่องจำนวน 20 พื้นที่ เข้าร่วม อาจารย์อะหมัด หลีขาหรี ให้ความรู้การจัดทำแผนและการพัฒนาโครงการในระบบเว้ปไซต์กองทุน นายฐากูร ปราบปรี ให้ความรู้การใช้แอพพลิเคชั่นในการเก็บข้อมูลกลุ่มอาชีพ ทำให้กองทุนมีความเข้าใจในการออกแบบกิจกรรมโครงการในกลุ่มอาชีพ(แรงงานนอกระบบ)

 

50 0

18. ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงโครงการฯรายจังหวัด การทำแผนสุขภาพ พัฒนาโครงการ จังหวัดตรัง

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-กองทุนเข้าร่วม จำนวน 17 กองทุน มีความเข้าใจการดำเนินงานของกองทุนตำบล และสามารถใช้ใช้เครื่องมือแอบพลิเคชั่น application แรงงานนอกระบบ หรือ informallabor หรือที่เว้ปไซต์ http://iw.in.th/app เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลอาชีวอนามัยของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง (แรงงานนอกระบบ )

-คณะทำงานเขตสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ของกองทุนที่เข้าร่วม และการทำงานของพี่เลี้ยงระดับจังหวัด เพื่อได้ปรับปรุงการหนุนเสริมของเขตในกิจกรรมต่อไป

นายวิเชียร มณีรัตนโขติ คณะทำงานระดับเขตได้ให้ความเห็นความเห็นตรงของพื้นที่จังหวัดตรัง ดังนี้

1.ยังเห็นการรับผิดชอบของทีมทำงานไม่ชัดเจนและยังไม่เห็นทิศทางที่จะเดินไปข้างหน้าเหตุเพราะทางส่วนกลางมอบโจทย์ไม่ชัด หรือต้องการที่จะลงไปทำแทนให้กับทีมจังหวัด ถ้าลักษณะหลัง ทีมจังหวัดจะไม่โตและทำงานไม่เป็น

2.การวิเคราะห์ปัญหาที่จะนำมาสู่การเขียนโครงของพื้นที่ยังไม่ลึกพอ ดังนั้นต้องเน้นทีมจังหวัดให้มีการวิเคราะห์สภาพปัญหาของพื้นที่และค้นหากลุ่มเป้าหมายให้ชัดเพื่อจะไม่ต้องเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายใหม่

3.ทีมเขตหรือทีมเจ้าหน้าที่ต้องวางบทตัวเองให้ชัด ไม่เช่นนั้นจะเป็นการทำงานที่ทับเส้นกัน และก่อนเปิดเวทีต้องมีการมีการคุยกันก่อนในทีมทั้งหมดไม่ว่า เขต/จังหวัด/เจ้าหน้าที่

4.การมอบโจทย์สุดท้ายเพื่อมอบหมายงานให้กับทีมตำบลยังไม่ชัด หมายเหตุ โดยภาพรวมอย่างอื่นดี เช่น สถานที่จัด /ผู้เข้าร่วม/

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 18 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ณ ห้องประชุมวิทยาลัยสารพัดช่างตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง คณะทำงานพี่เลี้ยงจังหวัดตรังจัดประชุมชี้แจงแนวทางโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง (แรงงานนอกระบบ) ให้กับกองทุน จำนวน 20 กองทุน โดยมีกองทุนเข้าร่วม 17 กองทุน จากอำเภอห้วยยอด อำเภอรัษฎา อำเภอเมืองสิเกา อำเภอนาโยง และอำเภอวังวิเศษ ผู้เข้าร่วมชมวิดีทัศน์เกี่ยวกับประเด็นแรงงานอกระบบ และทำความเข้าใจภาพรวมขอโครงการฯ และการดำเนินงานกองทุนในประเด็นแรงงานนอกระบบโดย เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ ผู้ประสานงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา
คณะทำงานระดับเขตนายวิเชียร มณีรัตนโชติและ นางสาวยุรี แก้วชูช่วง แบ่งกลุ่มให้กองทุนวิเคราะห์สถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่ จำนวน 2 กลุ่ม กองทุนร่วมวิเคราะห์และนำเสนอกลุ่มอาชีพแรงงานนอกระบบ ดังนี้

กลุ่มที่ 1 กองทุนในพื้นที่อำเภอห้วยยอด
-ช่างซ่อมรถ -ช่างเสริมสวย /ช่างตัดผม -คนงานโรงน้ำแข็ง -ผู้ประกอบการร้านอาหาร -กลุ่มผลไม้ (ฝรั่ง มะละกอ ) -แรงงานแบกไม้ยาง -รับจ้างพายเรือ -กลุ่มรับซื้อน้ำยางสด -คนงานเก็บขยะ -รับจ้างฉีดหญ้า -อาชีพเผาถ่าน -ผู้ประกอบการกลุ่มเลี้ยงสัตว์ -กลุ่มรับจ้างด้านเกษตรกรรม -ผู้ประกอบการอาบอบนวด -กลุ่มประมงน้ำจืด -แรงงานก่อสร้าง -พ่อค้า แม่ค้า -ช่างตัดเย็บเสื้อ -กลุ่มแกะสลักไม้เทพธาโร -กลุ่มรับซื้อของเก่า

ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ ดังนี้-สารเคมี สารตะกั่ว มลพิษทางเสียง -สารเคมีที่ใช้ทำสีผม ยืดผม -สารฟอมาลีน -ควันไฟ กลิ่น สารปนเปื้อน -สารเคมีกำจัดศัตรูพืช -ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ -สารเคมีสำหรับเติมน้ำยาง -สารเคมี เชื้อโรค -ควัน ฝุ่นละออง -กลิ่น เชื้อโรคจากสัตว์ -อุบัติเหตุ -โรคทางผิวหนัง -โรคฉี่หนู โรคหวัด -โรคทางสายตา -โรคจากยุง และแมลง

กลุ่มที่ 2 กองทุนในพื้นที่ อำเภอรัษฏา /อำเภอเมือง /อำเภอสิเกา /อำเภอนาโยง และอำเภอวังวิเศษ
-แม่ค้า -ช่างเสริมสวย -ช่างเชื่อม -คนแบกไม้ -แรงงานก่อสร้าง -ลูกจ้างทั่วไป -จ้างเหมาบริการ เก็บขยะ (อปท.) -ลูกจ้างฟาร์มเลี้ยงสัตว์ -ลูกจ้างโรงรมน้ำยางสด ยางแผ่น -รับจ้างตัดหญ้า ฉีดหญ้า -คนกรีดยาง -คนย่างหมู -อู่ซ่อมรถ -ลูกจ้างตัดปาล์ม -พนักงานขับรถสิบล้อ -ลูกจ้างรายวันปั้มน้ำมัน ,ปั้มแก๊ส -เด็กบริการล้างรถ

ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ 1.มีสิทธิ์การรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐาน แต่ไม่มีสิทธิ์การรักษาพยาบาลด้านแรงงาน 2.ปัญหาด้านสุขภาพที่เกิดจากพฤติกรรมไม่ถูกต้องของแต่ละกลุ่มอาชีพ เช่น แม่ค้า ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ,
ช่างทาสี ช่างเชื่อม มีปัญหาทางด้านทางเดินหายใจ สายตา คนกรีดยาง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ จากการได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไปและพฤติกรรมเสี่ยงโรคเรื้อรัง 3.กลุ่มอาชีพแรงงานนอกระบบไม่มีหลักประกันสุขภาพที่มั่นคง ยกเว้นกลุ่มที่มีรายได้สูงสามารถซื้อสิทธิ์ประกัน

 

50 0

19. โครงการสนับสนุนพี่เลี้ยงแรงงานนอกระบบ จังหวัดตรัง 2563 : ประชุมกองทุนสุขภาพตำบลจัดทำแผนและพัฒนาร่างโครงการฯ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ)

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-กองทุนเข้าร่วม จำนวน 17 กองทุน มีความเข้าใจการดำเนินงานของกองทุนตำบล ที่จะขับเคลื่อนในประเด็นแรงงานนอกระบบ ให้กับกลุ่มองค์กรในพื้นที่เพื่อขอรับทุน กองทุนที่เข้าร่วมได้ร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์แรงงงานในพื้นที่ เรียนรู้การใช้เครื่องมือแอบพลิเคชั่น application แรงงานนอกระบบ หรือ informallabor เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลอาชีวอนามัยของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง (แรงงานนอกระบบ ) หรือที่เว้ปไซต์ http://iw.in.th/app

-กองทุนและพี่เลี้ยงจังหวัดมีความเข้าใจในการจัดทำแผน และการจัดทำโครงการแรงงานนอกระบบและฝึกปฎิบัติการคีย์ข้อมูลในเว้ปไซต์ กองทุนตำบล localfund.happynetwork.org

-พี่เลี้ยงจังหวัดสามารถออกแบบแผนงานในการทำงานในระดับพื้นที่ร่วมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 18 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ณ ห้องประชุมวิทยาลัยสารพัดช่างตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง คณะทำงานพี่เลี้ยงจังหวัดตรังจัดประชุมชี้แจงแนวทางโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง (แรงงานนอกระบบ) มีกองทุนเข้าร่วม 17 กองทุน มีการแบ่งกลุ่มกองทุนจำนวน 2 กลุ่ม ในการวิเคราะห์สถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่กลุ่มที่1 พท.อำเภอห้วยยอด และอำเภอรัษฎา จำนวน 12 กองทุน กลุ่มที่2 พท.อำเภอเมือง สิเกา นาโยง และวังวิเศษ จำนวน 5 กองทุน
ซึ่งจากการวิเคราะห์พื้นที่ทำให้เห็นกลุ่มที่ประกอบอาชีพเสี่ยงดังนี้

กลุ่มที่ 1 กองทุนในพื้นที่อำเภอห้วยยอด
-ช่างซ่อมรถ -ช่างเสริมสวย /ช่างตัดผม -คนงานโรงน้ำแข็ง -ผู้ประกอบการร้านอาหาร -กลุ่มผลไม้ (ฝรั่ง มะละกอ ) -แรงงานแบกไม้ยาง -รับจ้างพายเรือ -กลุ่มรับซื้อน้ำยางสด -คนงานเก็บขยะ -รับจ้างฉีดหญ้า -อาชีพเผาถ่าน -ผู้ประกอบการกลุ่มเลี้ยงสัตว์ -กลุ่มรับจ้างด้านเกษตรกรรม -ผู้ประกอบการอาบอบนวด -กลุ่มประมงน้ำจืด -แรงงานก่อสร้าง -พ่อค้า แม่ค้า -ช่างตัดเย็บเสื้อ -กลุ่มแกะสลักไม้เทพธาโร -กลุ่มรับซื้อของเก่า

กลุ่มที่ 2 กองทุนในพื้นที่ อำเภอรัษฏา /อำเภอเมือง /อำเภอสิเกา /อำเภอนาโยง และอำเภอวังวิเศษ
-แม่ค้า -ช่างเสริมสวย -ช่างเชื่อม -คนแบกไม้ -แรงงานก่อสร้าง -ลูกจ้างทั่วไป -จ้างเหมาบริการ เก็บขยะ (อปท.) -ลูกจ้างฟาร์มเลี้ยงสัตว์ -ลูกจ้างโรงรมน้ำยางสด ยางแผ่น -รับจ้างตัดหญ้า ฉีดหญ้า -คนกรีดยาง -คนย่างหมู -อู่ซ่อมรถ -ลูกจ้างตัดปาล์ม -พนักงานขับรถสิบล้อ -ลูกจ้างรายวันปั้มน้ำมัน ,ปั้มแก๊ส -เด็กบริการล้างรถ

ความเสี่ยงจากการทำงาน /การประกอบอาชีพ ของกลุ่มอาชีพต่างๆในพื้นที่ ดังนี้
-สารเคมี สารตะกั่ว มลพิษทางเสียง -สารเคมีที่ใช้ทำสีผม ยืดผม -สารฟอมาลีน -ควันไฟ กลิ่น สารปนเปื้อน -สารเคมีกำจัดศัตรูพืช -ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ -สารเคมีสำหรับเติมน้ำยาง -สารเคมี เชื้อโรค -ควัน ฝุ่นละออง -กลิ่น เชื้อโรคจากสัตว์ -อุบัติเหตุ -โรคทางผิวหนัง -โรคฉี่หนู โรคหวัด -โรคทางสายตา -โรคจากยุง และแมลง

 

50 0

20. ลงพื้นที่ประชุม Coaching ทีมกลไกระดับจังหวัดพัทลุงเพื่อทำความเข้าใจและเตรียมการประชุมฯ

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

นายวิเชียร มณีรัตนโชติ คณะทำงานเขต ได้เสนอข้อคิดเห็น  ดังนี้

กลไกลการทำงาน

1.กลไกลการทำงานของกลไกจังหวัดควรที่จะกระจายในทุกอำเภอเพื่อให้เกิดแรงส่งในการทำงานให้มากที่สุด

2.กลไกลจังหวัดจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และรอบรู้เรื่องแรงงานนอกระบบพอสมควรพร้อมที่จะถ่ายทอดได้

3.กลไกลจังหวัดต้องมีการวางแผนการทำงานและการทำงานเป็นทีมเพื่อจะช่วยผ่อนแรงกันได้

การคัดเลือกพื้นที่

1..ต้องมีการกระจายให้ครอบคลุมทุกอำเภอเพื่อพร้อมที่จะขยายในเฟรสต่อไป

2.มีแกนนำที่มีความพร้อมในการขับเคลื่อนงานพร้อมมีการสร้างกลไกลไว้รองรับ

3.ตัวผู้แทนที่เข้าร่วมประชุมจะต้องลงไปประเมินหรือวิเคราะห์ประเด็นที่จะเคลื่อนในตำบลตัวเองให้ชัดต้องดูว่ากลุ่มนั้นพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้กับทีมตำบลเข้าไปดำเนินการได้ไหม

4.มีการกำหนดแผนงานที่จะขับเคลื่อนและวางทิศทางการขับเคลื่อนให้ชัด

5.เมื่อสิ้นสุดโครงการแล้วจำเป็นที่จะต้องมีการส่งต่อกลุ่มเป้าหมายดังนั้นพื้นที่ต้องมีการทำงานในลักษณะเชื่อมโยงให้เป็น

ความเห็นตรงของพื้นที่

จังหวัดพัทลุง

1.เห็นภาพการวางตัวของกลไกลการทำงานและเห็นคนทำงาน เป็นเพราะมีการวางแผนไว้ก่อน(การเตรียมตัวก่อน) และคนที่เป็นแกนหลักเข้าใจเนื้องาน

2.มีการมอบหมายทีมรับผิดชอบพื้นที่ที่ชัดเจน พร้อมทั้งมอบโจทย์ให้กับพื้นที่ชัด

3.ผู้เข้าร่วมมีการตั้งคำถามหลายประเด็นแสดงให้เห็นว่าพื้นที่มีความพร้อมคนทำงานมีความพร้อมที่จะขับเคลื่อนงาน

ข้อสังเกตุของพัทลุง

4.น่าจะมีการขยายพื้นที่ให้ครอบคลุมทุกอำเภอ

5.อาจจะต้องมีการหาแกนนำใหม่ๆเข้ามาร่วมให้มากกว่าที่มีอยู่

ข้อสังเกตกับทีมเขต

1.ให้ทบทวนวิธีการจัดทำโครงขาขึ้นของแต่ละจังหวัดให้ชัด รวมทั้งการทบทวนรูปแบบเวที ว่าควรให้ความสำคัญกับเรื่องไหนก่อน เรื่องไหนควรไว้ในช่วงถัดไป

2.ต้องวางจังหวะก้าวของทีมเพื่อที่จะหนุนเสริมทีมจังหวัด โดยจัดทำเป็นแผนและกำหนดปฏิทินงานออกมาให้เป็นMapping ของทีมเขต

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 13.00 น. ร้านรสทิพย์ คอมฟี่ จังหวัดพัทลุง นายวิเชียร มณีรัตนโชติและ นางสาวยุรี แก้วชูช่วง คณะทำงานเขต ลงพื้นที่ประชุมกับพี่เลี้ยงจังหวัดพัทลุง เพื่อทำความเข้าใจและเตรียมประชุมชี้แจงกองทุน โดยมีพี่เลี้ยงจังหวัดพัทลุงเข้าร่วมจำนวน 3 คน มีการทำความเข้าใจบทบาทภาระกิจ หน้าที่ ของพี่เลี้ยงจังหวัดและวางแผนการทำงาน

 

12 0

21. ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงโครงการฯ รายจังหวัด การทำแผนสุขภาพ พัฒนาโครงการ จังหวัดพัทลุง

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

พี่เลี้ยงจังหวัดมีความเข้าใจในการเคลื่อนงาน โครงการแรงงานนอกระบบ และสามารถทำให้กองทุนที่เข้าร่วมสามารถออกแบบกิจกรรมได้ โดยได้มีข้อตกลงในการทำงานร่วมกัน คือ
1.การเก็บข้อมูลกลุ่มอาชีพ จะเก็บอย่างน้อย 60 เปอร์เซ็น

2.มีแผนงาน /โครงการ แรงงงานนอกระบบ ส่งในช่วงเดือน มค.63 เพื่อให้พี่เลี้ยงประจำกลุ่มได้เข้าไปติดตามในระบบและการลงพื้นที่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 09.00 -15.30 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลเมืองพัทลุง อ.เมือง จ.พัทลุง พี่เลี้ยงจังหวัดพัทลุงได้จัดประชุมชีแจงแนวทางการดำเนินงานกองทุน ในการเคลื่อนประเด็นแรงงานนอกระบบ /หรือ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง ผ่านกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ โดยมีกองทุนนำร่อง จำนวน 20 กองทุน เข้าร่วม คณะทำงานระดับเขต12สงขลา ประกอบด้วย นายวิเชียร มณีรัตนโชติ ,นส.ยุรี แก้วชูช่วง ,นส.อารีย์ สุวรรณชาตรี ,นส.คณิชญา แซนโทส และนายฐากูร ปราบปรี ร่วมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแรงงานนอกระบบและการจัดทำฐานข้อมูลอาชีวอนามัย โดยใช้เครื่องมือแอพพลิเคชั่น

-ปฎิบัติการให้กองทุนที่เข้าร่วมได้วิเคราะห์สถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่ โดยแบ่งพื้นที่กองทุนเป็น 5 กลุ่มย่อย เพื่อช่วยกันวิเคราะห์สถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่ และความเสี่ยงที่เกิดจากการทำงาน /การประกอบอาชีพ ดังนี้

  • เกษตรกรรม เช่น สวนยางพารา, ทำนา,ปลูกผัก,ปลูกดอกไม้,ทำสวน ,เลี้ยงสัตว์,เลี้ยงผึ้ง และรวมกลุ่มทำอาชีพเสริม เช่น กลุ่มเครื่องแกง ,กลุ่มยาสมุนไพร,กลุ่มปลาร้า,กลุ่มหน่อไม้ดองเย็บผ้า,สับหมาก,กลุ่มกล้วยฉาบ,กลุ่มจักสาน

  • บริการ /รับจ้างทั่วไป เช่น ช่างเสริมสวย ช่างก่อสร้าง มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ขับรถรับจ้าง ,ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า,นวดแผนไทย,ค้าขาย, เต้น เครื่องครัว(ให้เช่า) ,รับเหมาก่อสร้าง,ช่างซ่อมรถ

  • อุตสาหกรรม เช่น ฟาร์มไก่/ฟาร์มหมู,โรงงานยาง ,โรงไม้ ,โรงน้ำแข็ง,โรงเผาถ่าน

ความเสี่ยงจากการทำงาน /การประกอบอาชีพ

  • อุบัติเหตุจากเครื่องจักร ,เครื่องมือ อุปกรณ์ ,

  • ท่าทางการทำงาน การยกของหนัก การปวดหลัง ปวดเอว ปวดเมื่อย

  • การสัมผัสสารเคมี ทำให้เกิดโรค เช่น โรคผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ สภาพแวดล้อม(ดิน น้ำ ป่า )

  • อันตรายจากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ ยุง

  • โรคติดต่อ เช่น โรคฉี่หนู โรคน้ำกัดเท้า โรคที่เกี่ยวกับสายตา

 

50 0

22. โครงการสนับสนุนพี่เลี้ยงแรงงานนอกระบบ จังหวัดพัทลุง 2563 :ประชุมกองทุนชี้แจงทำความเข้าใจโครงการฯ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ)

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

พี่เลี้ยงจังหวัดมีความเข้าใจในการเคลื่อนงาน โครงการแรงงานนอกระบบ และสามารถทำให้กองทุนที่เข้าร่วมสามารถออกแบบกิจกรรมได้ โดยได้มีข้อตกลงในการทำงานร่วมกัน คือ
1.การเก็บข้อมูลกลุ่มอาชีพ จะเก็บอย่างน้อย 60 เปอร์เซ็น

2.มีแผนงาน /โครงการ แรงงงานนอกระบบ ส่งในช่วงเดือน มค.63 เพื่อให้พี่เลี้ยงประจำกลุ่มได้เข้าไปติดตามในระบบและการลงพื้นที่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 09.00 -15.30 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลเมืองพัทลุง อ.เมือง จ.พัทลุง พี่เลี้ยงจังหวัดพัทลุงได้จัดประชุมชีแจงแนวทางการดำเนินงานกองทุน ในการเคลื่อนประเด็นแรงงานนอกระบบ /หรือ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง ผ่านกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ โดยมีกองทุนนำร่อง จำนวน 20 กองทุนเข้าร่วม

ช่วงเช้า กองทุนร่วมวิเคราะห์สถานการณ์แรงงานนอกระบบ แบ่งพื้นที่กองทุนเป็น 5 กลุ่มย่อย คือ

กลุ่มที่1. ทม.พัทลุง ทต.นาโหนด ทต.ท่ามิหรำ ทต.ชัยบุรี

กลุ่มที่2. ทต.โคกม่วง อบต.เขาชัยสน ทต.คลองท่อม

กลุ่มที่3. ทต.โคกชะงาย ทต.ลำสินธิ์ ทต.บ้านนา

กลุ่มที่4. ทต.ท่ามิหรำ ทต.พญาขัน อบต.เขาปู่

กลุ่มที่5. ทต.โตนดด้วน ทต.บ้านพร้าว อบต.ชะมวง ทต.ควนขนุน

ข้อมูลสถานการณ์แรงงานนอกระบบ /ผู้ประกอบอาชีพเสี่ยงในพื้นที่ ประกอบด้วย

-เกษตรกรรม เช่น สวนยางพารา, ทำนา,ปลูกผัก,ปลูกดอกไม้,ทำสวน ,เลี้ยงสัตว์,เลี้ยงผึ้ง และรวมกลุ่มทำอาชีพเสริม เช่น กลุ่มเครื่องแกง ,กลุ่มยาสมุนไพร,กลุ่มปลาร้า,กลุ่มหน่อไม้ดองเย็บผ้า,สับหมาก,กลุ่มกล้วยฉาบ,กลุ่มจักสาน

-บริการ /รับจ้างทั่วไป เช่น ช่างเสริมสวย ช่างก่อสร้าง มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ขับรถรับจ้าง ,ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า,นวดแผนไทย,ค้าขาย, เต้น เครื่องครัว(ให้เช่า) ,รับเหมาก่อสร้าง,ช่างซ่อมรถ

-อุตสาหกรรม เช่น ฟาร์มไก่/ฟาร์มหมู,โรงงานยาง ,โรงไม้ ,โรงน้ำแข็ง,โรงเผาถ่าน

ความเสี่ยงจากการทำงาน /การประกอบอาชีพ

  • อุบัติเหตุจากเครื่องจักร ,เครื่องมือ อุปกรณ์ ,

  • ท่าทางการทำงาน การยกของหนัก การปวดหลัง ปวดเอว ปวดเมื่อย

  • การสัมผัสสารเคมี ทำให้เกิดโรค เช่น โรคผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ สภาพแวดล้อม(ดิน น้ำ ป่า )

  • อันตรายจากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ ยุง

  • โรคติดต่อ เช่น โรคฉี่หนู โรคน้ำกัดเท้า โรคที่เกี่ยวกับสายตา

ช่วงบ่าย กองทุนร่วมจัดทำแผน /พัฒนาร่างโครงการ ประเด็นแรงงานนอกระบบ

  • พื้นที่กองทุน ต.ชะมวง ทต.โตนดด้วน ทต.นาท่อม พัฒนาโครงการกลุ่มเกษตร ทำนา

  • พื้นที่กองทุนทต.ลำสินธิ์ พัฒนาโครงการ กลุ่มเครื่องแกง

  • พื้นที่กองทุนทต.บ้านพร้าว พัฒนาโครงการ กลุ่มเสริมสวย

  • พื้นที่กองทุน ทต.โคกชะงาย อบต.เขาปู่ พัฒนาโครงการ กลุ่มคนต้ดหญ้าจ้าง กลุ่มตัดยางจ้าง

  • พื้นที่กองทุน ต.ควนมะพร้าว ทต.พญาขันธ์ พัฒนาโครงการ กลุ่มอาชีพแม่ค้า เกษตรกรปลูกผัก

  • พื้นที่กองทุนทต.ควนขนุน พัฒนาโครงการ กลุ่มโรงขนมจีน กลุ่มย้อมผ้า

 

50 0

23. ลงพื้นที่ประชุม Coaching ทีมกลไกระดับจังหวัดสงขลาเพื่อทำความเข้าใจและเตรียมการประชุมฯ

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.พี่เลี้ยงจังหวัดได้มีการวางแผน แบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงาน ในเวทีชี้แจงโครงการให้กับกองทุนนำร่อง 20พื้นที่

2.ในกลไกจังหวัดสงขลา จะมีการสรรหาพี่เลี้ยงกองทุนเข้ามาช่วยงานเพิ่มเติม เนื่องจากยังขาดบุคคลากรในการช่วยงานในพื้นที่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 13.00 น. ห้องประชุม รร.คลิสตัส อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นายอะหมัด หลีขาหรี และนายธนพนธ์ จรสุวรรณ พี่เลี้ยงจังหวัดสงขลา ร่วมประชุมกับคณะทำงานระดับเขต 12 ประกอบด้วย นายบรรเจต นะแส นส.อารีย์ สุวรรณชาตรี นส.คณิชญา แซนโทส
พื้นที่ของจังหวัดสงขลา นำร่องใน2อำเภอ คืออำเภอจะนะ อำเภอนาทวี จำนวน 20 กองทุน ในการเตรียมกระบวนการของเวที จะมอบให้ทาง อ.อะหมัดได้อธิบายการจัดทำแผนงาน /ร่างโครงการ ในระบบเว้ปไซต์กองทุน นายธนพนธ์ จรสุวรรณ พูดประเด็นอาชีวอนามัยของกลุ่มแรงงาน เพื่อให้กองทุนนำร่องเข้าใจและเห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มแรงงานนอกระบบ

 

13 0

24. การบริหารจัดการโครงการ เดือนพฤศจิกายน 2562

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการ(ผู้ประสานงานหลัก) นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี เป็นเงิน 10,000 บาท

-ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่การเงินและบริหารจัดการทั่วไป นางสาวคณิชญา แซนโทส เป็นเงิน 5,000 บาท

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

-ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการ(ผู้ประสานงานหลัก) นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี เป็นเงิน 10,000 บาท

-ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่การเงินและบริหารจัดการทั่วไป นางสาวคณิชญา แซนโทส เป็นเงิน 5,000 บาท

 

2 0

25. ลงพื้นที่ประชุม Coaching ทีมกลไกระดับจังหวัดนราธิวาสเพื่อทำความเข้าใจและเตรียมการประชุมฯ

วันที่ 9 ธันวาคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • พี่เลี้ยงจังหวัดได้เข้าใจในโครงการฯ แรงงานนอกระบบ และมีการแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบงาน

  • พี่เลี้ยงสามารถวิเคราะห์สถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่กองทุนที่รับผิดชอบได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 09.00 -15.00 น. ณ ห้องประชุมร้านอาหารนาแซ อ.เมืองนราธิวาส จ.นราธิวาส พี่เลี้ยงจังหวัดนราธิวาส จำนวน 10 คน ได้ประชุมร่วมกับ คณะทำงานเขต12 นำโดยนายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน นส.อารีย์ สุวรรณชาตรี นส.คณิชญา แซนโทส
นายอภินันท์ เปาะอีแต พี่เลี้ยงจังหวัดนราธิวาสกล่าวต้อนรับคณะทำงานจากเขต และแนะนำพี่เลี้ยงกลไกจังหวัดนราฯ รับผิดชอบในประเด็นแรงงานนอกระบบ มีการทบทวนสถานการณ์ของทีมหลังจากที่มีตัวแทนที่มาร่วมเวทีพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง ณ.รร.หาดแก้วรีสอร์ท อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ดังนี้

-พื้นทีอำเภอสุไหปาดี มีการลงไปทำความเข้าใจจำนวน 4 พื้นที่ และมี 1 พื้นที่พร้อมจะเสนอโครงการผลกระทบจากการทำงาน ซึ่งกองทุนในพื้นที่สุไหปาดี ส่วนใหญ่จะสนับสนุนให้องค์กรชุมชนที่เสนอโครงการอยู่ในงบประมาณ 20,000 บาท

-พื้นที่ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราฯ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เคยทำประเด็นแรงงงานนอกระบบในช่วงปี2591 มาก่อนและได้ทำกับกลุ่มสานสื่อกระจูด ได้มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งในปีนี้จะขยับใน5 ชุมชน และจะมีการให้แต่ละพื้นที่ได้นำเสนอปัญหาและค้นหาปัญหาของตนเอง โดยจะทำในกลุ่มประมง , กลุ่มสานสื่อกระจูด ,กลุ่มปักผ้า เย็บผ้า เป็นต้น

-พื้นที่ตำบลผดุงมาตร อำเภอจะแนะ สถานการณ์ของแรงงานนอกระบบ เป็นกลุ่มเกษตรกรรม เช่น การทำสวนยาง สวนผลไม้ เกษตรกรมีผลกระทบจาการใช้สารเคมี โดยมีเป้าหมายที่จะลดการใช้สารเคมี

-พื้นที่ตำบลบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง สถานการณ์แรงงานนอกระบบ เป็นกลุ่มที่แปรรูปอาหาร เช่น ทุเรียนกวน กลุ่มเกษตรกร เช่น กลุ่มทำนา,และมอเตอร์ไซค์รับจ้าง

กระบวนการของเวทีชีแจงกองทุน

  • นายเสรี แซะ หน.สน.ปลัด อบต.ผดุงมาตร เป็นวิทยากรดำเนินรายการ ซึ่งจะกล่าวต้อนรับกองทุน ชีแจงวัตถุประสงค์การประชุม

  • นายพิรัช ตั้งผดุงวงศ์ ผอ.รพ.สต.โคกเคียน อธิบายและพูดถึงความสำคัญและการจัดการอาชีวอนามัยในกลุ่มแรงงงานนอกระบบ

  • นายอภินันท์ เปาะอิแต เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน อบต.โคกเคียน ทำหน้าที่ในการประสานงาน

การแบ่งกลุ่มย่อยกองทุนตามโซนอำเภอ เพื่อให้กองทุนได้วิเคราะห์สถานการณ์กลุ่มแรงงานในพื้นที่ และความเสี่ยงที่เกิดจากการทำงาน ประกอบด้วย

  • กลุ่ม 1 กองทุนพื้นที่เขตอำเภอเมือง อำเภอบาเจาะ อำเภอยี่งอ พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม นายพิรัช ตั้งผดุงวงค์ ,นางสาวนูรไอณี เจ๊ะลง ,นายรุสลัน บือราเฮ็ง ,นายอภินันท์ เปาะอีแต

  • กลุ่ม 2 กองทุนพื้นที่เขต อำเภอระแงะ อำเภอจะแนะ พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม นายเสรี เซะ, นายยาห์ยา อะยูยา,นางปารีดะห์ แก้วกรด

  • กลุ่ม 3 กองทุนพื้นที่เขตอำเภอแว้ง อำเภอสุไหงโกลก อำเภอสุไหปาดี พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม นายสวรรค์ สาและ ,นายอายิ หะมาดุลลาห์ ,นายอับดุลรอฮิม มะดาโอ๊ะ

 

15 0

26. ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงโครงการฯ รายจังหวัด การทำแผนสุขภาพ การพัฒนาโครงการ จังหวัดสงขลา

วันที่ 12 ธันวาคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เกิดทีมพี่เลี้ยงกองทุนที่มีจิตอาสา จำนวน 5 ตำบล ได้แก่ ต.ประดู่ /ทต.นาทวี/ต.ท่าหมดไทร และต.สะกอม
  • กองทุนนำร่องมีความเข้าใจในการจัดทำแผน และโครงการแรงงานนอกระบบ
  • มีข้อมูลสถานการณ์กลุ่มอาชีพแรงงานนอกระบบในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาโครงการเสนอต่อกองทุนสุขภาพตำบลในระดับท้องถิ่นได้
  • เจ้าหน้าที่กองทุนเข้าใจแนวทางการใช้เครื่องมือเพื่อการเก็บข้อมูล(แอพลิเคชั่น)

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 09.00 น.-15.30 น. พี่เลี้ยงจังหวัดสงขลาจัดประชุมชีแจงโครงการฯแรงงานนอกระบบ ให้กับ กองทุนนำร่อง ในพื้นที่อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี จำนวน 20 กองทุน
- นายธนพนธ์ จรสุวรรณ ผอ.รพ.สต.ท่าหมอไทร อธิบายความสำคัญ และการจัดการอาชีวอนามัยในกลุ่มแรงงานนอกระบบ
- อาจารย์อะหมัด หลีขาหรี อธิบายการจัดทำแผน และการะพัฒนาโครงการ แรงงานนอกระบบ ให้กับกองทุนที่เข้าร่วม กองทุนฯร่วมแลกเปลี่ยนสถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่ ดังนี้

  • ต.ท่าหมอไทร สถานการณ์แรงงานอกระบบ ได้แก่ สวนยาง / สวนผลไม้ /รับจ้างทั่วไป / ทำนา

  • ต.ขุนตัดหวาย สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยาง / สวนผลไม้ /ค้าขาย/รับจ้างทั่วไป

  • ต.แค สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /ทำนา/ทำขนม/ปรุงอาหาร

  • ต.คู สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / ทำนา

  • ต.ตลิ่งชัน สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ ประมง / สวนยางพารา /รับจ้างแกะปูปลา/รับซื้อของเก่า/เก็บขยะ

  • ต.น้ำขาว สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /ทำนา/แม่ค้า

  • ต.สะพานไม้แก่น สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / รับจ้างยกไม้ยาง/รับจ้างตัดหญ้าสวนยางพารา/สวนผลไม้

  • ทต.บ้านนา สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้

  • ทต.นาทับ สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ ประมง / สวนยางพารา /ร้านซ่อมมอเตอร์ไชค์/โรงกลึง/สวนแตงโม

  • ต.ป่าชิง สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / ทำนา

  • ต.จะโหนง สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /ปลูกผัก

  • ต.นาหว้า สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /ทำนา

  • ต.สะกอม สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ ประมง /ออกทะเล /ปลดปู/ผูกอวน/ปลูกผัก/สวนยางพารา/แม่ค้า

  • ทต.นาทวี สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ แม่ค้าตลาดสด / พนักงานเก็บขยะ /

  • ทต.นาทวีนอก สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้/พนักงานเก็บขยะ

  • ต.คลองทราย สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /รับซื้อน้ำยาง/รับจ้างยกไม้ยาง/

  • ต.ทับช้าง สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /รับซื้อน้ำยาง/รับจ้างยกไม้ยาง/

  • ต.ท่าประดู่ สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /รับซื้อน้ำยาง/เกษตรกรปลูกผัก

  • ต.ประกอบ สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /รับซื้อน้ำยาง

  • ต.สะท้อน สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้

การวิเคราะห์ความเสี่ยง จากการทำงาน

  • สารเคมี

  • ท่าทางในการทำงาน เช่น การนั่ง การยืน การก้ม เป็นต้น

  • ระยะเวลาในการนั่งทำงานที่นานเกิน ไม่ได้มีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หรือการปรับท่าทาง ทำให้ป่วย และมีการอาการปวดเมื่อย

  • อุบัติเหตุ เช่น เครื่องจักร เครื่องมือช่าง

  • สายตา

  • ฝุ่นละออง

  • สัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ เป็นต้น

  • การสัมผัสเชื้อโรค เช่น คนเก็บขยะ

กองทุนที่ไม่ได้เข้าร่วม 5 พื้นที่ ได้แก่ ทต.จะนะ / ต.ฉาง /ต.นาหมอศรี /ต.ปลักหนู และต.คลองกวาง ทางพี่เลี้ยงจังหวัดจะมีการนัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจอีกครั้ง

 

50 0

27. โครงการสนับสนุนพี่เลี้ยงแรงงานนอกระบบ จังหวัดสงขลา 2563 :ประชุมกองทุนชี้แจงทำความเข้าใจโครงการฯ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ)

วันที่ 12 ธันวาคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เกิดทีมพี่เลี้ยงกองทุนที่มีจิตอาสา จำนวน 5 ตำบล ได้แก่ ต.ประดู่ /ทต.นาทวี/ต.ท่าหมอไทร และต.สะกอม
  • กองทุนนำร่องมีความเข้าใจในการจัดทำแผน และโครงการแรงงานนอกระบบ
  • มีข้อมูลสถานการณ์กลุ่มอาชีพแรงงานนอกระบบในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาโครงการเสนอต่อกองทุนสุขภาพตำบลในระดับท้องถิ่นได้
  • เจ้าหน้าที่กองทุนเข้าใจแนวทางการใช้เครื่องมือเพื่อการเก็บข้อมูล(แอพลิเคชั่น)

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 09.00 น.-15.30 น. พี่เลี้ยงจังหวัดสงขลาจัดประชุมชีแจงโครงการฯแรงงานนอกระบบ ให้กับ กองทุนนำร่อง ในพื้นที่อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี จำนวน 20 กองทุน
- นายธนพนธ์ จรสุวรรณ ผอ.รพ.สต.ท่าหมอไทร อธิบายความสำคัญ และการจัดการอาชีวอนามัยในกลุ่มแรงงานนอกระบบ
- อาจารย์อะหมัด หลีขาหรี อธิบายการจัดทำแผน และการะพัฒนาโครงการ แรงงานนอกระบบ ให้กับกองทุนที่เข้าร่วม กองทุนฯร่วมแลกเปลี่ยนสถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่ ดังนี้

  • ต.ท่าหมอไทร สถานการณ์แรงงานอกระบบ ได้แก่ สวนยาง / สวนผลไม้ /รับจ้างทั่วไป / ทำนา

  • ต.ขุนตัดหวาย สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยาง / สวนผลไม้ /ค้าขาย/รับจ้างทั่วไป

  • ต.แค สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /ทำนา/ทำขนม/ปรุงอาหาร

  • ต.คู สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / ทำนา

  • ต.ตลิ่งชัน สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ ประมง / สวนยางพารา /รับจ้างแกะปูปลา/รับซื้อของเก่า/เก็บขยะ

  • ต.น้ำขาว สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /ทำนา/แม่ค้า

  • ต.สะพานไม้แก่น สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / รับจ้างยกไม้ยาง/รับจ้างตัดหญ้าสวนยางพารา/สวนผลไม้

  • ทต.บ้านนา สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้

  • ทต.นาทับ สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ ประมง / สวนยางพารา /ร้านซ่อมมอเตอร์ไชค์/โรงกลึง/สวนแตงโม

  • ต.ป่าชิง สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / ทำนา

  • ต.จะโหนง สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /ปลูกผัก

  • ต.นาหว้า สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /ทำนา

  • ต.สะกอม สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ ประมง /ออกทะเล /ปลดปู/ผูกอวน/ปลูกผัก/สวนยางพารา/แม่ค้า

  • ทต.นาทวี สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ แม่ค้าตลาดสด / พนักงานเก็บขยะ /

  • ทต.นาทวีนอก สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้/พนักงานเก็บขยะ

  • ต.คลองทราย สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /รับซื้อน้ำยาง/รับจ้างยกไม้ยาง/

  • ต.ทับช้าง สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /รับซื้อน้ำยาง/รับจ้างยกไม้ยาง/

  • ต.ท่าประดู่ สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /รับซื้อน้ำยาง/เกษตรกรปลูกผัก

  • ต.ประกอบ สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้ /รับซื้อน้ำยาง

  • ต.สะท้อน สถานการณ์แรงงานนอกระบบ ได้แก่ สวนยางพารา / สวนผลไม้

การวิเคราะห์ความเสี่ยง จากการทำงาน

  • สารเคมี

  • ท่าทางในการทำงาน เช่น การนั่ง การยืน การก้ม เป็นต้น

  • ระยะเวลาในการนั่งทำงานที่นานเกิน ไม่ได้มีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หรือการปรับท่าทาง ทำให้ป่วย และมีการอาการปวดเมื่อย

  • อุบัติเหตุ เช่น เครื่องจักร เครื่องมือช่าง

  • สายตา

  • ฝุ่นละออง

  • สัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ เป็นต้น

  • การสัมผัสเชื้อโรค เช่น คนเก็บขยะ

กองทุนที่ไม่ได้เข้าร่วม 5 พื้นที่ ได้แก่ ทต.จะนะ / ต.ฉาง /ต.นาหมอศรี /ต.ปลักหนู และต.คลองกวาง ทางพี่เลี้ยงจังหวัดจะมีการนัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจอีกครั้ง

 

50 0

28. ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงโครงการ ฯ รายจังหวัด การทำแผนสุขภาพ การพัฒนาโครงการ จังหวัดนราธิวาส

วันที่ 16 ธันวาคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เจ้าหน้าที่กองทุนเข้าใจแนวทางการใช้เครื่องมือเพื่อการเก็บข้อมูลกลุ่มเสี่ยง โดยใช้ (แอพลิเคชั่น)

  • มีข้อมูลสถานการณ์แรงงานนอกระบบในระดับพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนและพัฒนาโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง

  • พี่เลี้ยงมีความเข้าใจในการดำเนินโครงการฯ แรงงานนอกระบบ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 09.00 -15.00 น. ณ ห้องประชุมสวนอาหารริมน้ำ อ.เมืองนราธิวาส จ.นราธิวาส พี่เลี้ยงจังหวัดนราธิวาส จัดประชุมชี้แจงกองทุนนำร่อง 20 พื้นที่ โดยมีคณะทำงานเขต12 นายบรรเจต นะแส นส.อารีย์ สุวรรณชาตรี นส.คณิชญา แซนโทส เข้าร่วมประชุมร่วม
นายเสรี แซะ หัวหน้าสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลผดุงมาตร (ประธานพี่เลี้ยงจังหวัดนรา) ได้กล่าวต้อนรับกองทุนที่เข้าร่วมประชุมและชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม
นายพิรัช ตั้งผดุงวงค์ ผอ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเคียน พูดเกี่ยวกับความสำคัญในเรื่องอาชีวอนามัยของกลุ่มแรงงงานนอกระบบ
แบ่งกลุ่มย่อยกองทุนตามโซนอำเภอ เพื่อร่วมวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่ และความเสี่ยงจากการทำงาน โดยให้มีพี่เลี้ยงจังหวัดประจำแต่ละกลุ่ม

  • กลุ่ม 1 กองทุนพื้นที่เขตอำเภอเมือง อำเภอบาเจาะ อำเภอยี่งอ พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม นายพิรัช ตั้งผดุงวงค์ ,นางสาวนูรไอณี เจ๊ะลง ,นายรุสลัน บือราเฮ็ง ,นายอภินันท์ เปาะอีแต

  • กลุ่ม 2 กองทุนพื้นที่เขต อำเภอระแงะ อำเภอจะแนะ พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม นายเสรี เซะ, นายยาห์ยา อะยูยา,นางปารีดะห์ แก้วกรด

  • กลุ่ม 3 กองทุนพื้นที่เขตอำเภอแว้ง อำเภอสุไหงโกลก อำเภอสุไหปาดี พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม นายสวรรค์ สาและ ,นายอายิ หะมาดุลลาห์ ,นายอับดุลรอฮิม มะดาโอ๊ะ

การวางแผนการติดตามกองทุนในพื้นที่ โดยทีมพี่เลี้ยง 10 คน ( พี่เลี้ยง 1คน รับผิดชอบคนละ 2 กองทุนดังนี้ )

  • 1 นายเสรี เซะ รับผิดชอบ ทต.มะรือโบตก /อบต.ดุซงญอ

  • 2 นางปารีดะห์ แก้วกรด รับผิดชอบ อบต.ปะลุกาสาเมาะ /ทต.กาลิซา

  • 3 นายสวรรค์ สาและ รับผิดชอบ ทต.แว้ง /อบต.แว้ง

  • 4 นายอายิ หะมาดุลลาห์ รับผิดชอบ ทม.สุไหงโกลก /อบต.สุไหงปาดี

  • 5 นายยาห์ยา อะยูยา รับผิดชอบ อบต.ผดุงมาตร /อบต.จะแนะ

  • 6 นายอับดุลรอฮิม มะดาโอ๊ะ รับผิดชอบ ทต.บูเก๊ะตา /อบต.โละจูด

  • 7 นายอภินันท์ เปาะอีแต รับผิดชอบ อบต.ลุโบะบือซา /อบต.บางปอ

  • 8 นายพิรัช ตั้งผดุงวงค์ รับผิดชอบ อบต.โคกเคียน /อบต.ลำภู

  • 9 นายรุสลัน บือราเฮ็ง รับผิดชอบ ทม.นราธิวาส /อบต.จอเบาะ

  • 10 นางสาวนูรไอณี เจ๊ะลง รับผิดชอบ อบต.มะนังตายอ /ทต.ต้นไทร

 

50 0

29. โครงการสนับสนุนพี่เลี้ยงแรงงานนอกระบบ จังหวัดนราธิวาส 2563 :ประชุมกองทุนชี้แจงทำความเข้าใจโครงการฯ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ)

วันที่ 16 ธันวาคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีแผนการติดตามกองทุนในพื้นที่ โดยทีมพี่เลี้ยง 10 คน ( พี่เลี้ยง 1คน รับผิดชอบคนละ 2 กองทุน )ดังนี้

  • 1 นายเสรี เซะ รับผิดชอบ ทต.มะรือโบตก /อบต.ดุซงญอ

  • 2 นางปารีดะห์ แก้วกรด รับผิดชอบ อบต.ปะลุกาสาเมาะ /ทต.กาลิซา

  • 3 นายสวรรค์ สาและ รับผิดชอบ ทต.แว้ง /อบต.แว้ง

  • 4 นายอายิ หะมาดุลลาห์ รับผิดชอบ ทม.สุไหงโกลก /อบต.สุไหงปาดี

  • 5 นายยาห์ยา อะยูยา รับผิดชอบ อบต.ผดุงมาตร /อบต.จะแนะ

  • 6 นายอับดุลรอฮิม มะดาโอ๊ะ รับผิดชอบ ทต.บูเก๊ะตา /อบต.โละจูด

  • 7 นายอภินันท์ เปาะอีแต รับผิดชอบ อบต.ลุโบะบือซา /อบต.บางปอ

  • 8 นายพิรัช ตั้งผดุงวงค์ รับผิดชอบ อบต.โคกเคียน /อบต.ลำภู

  • 9 นายรุสลัน บือราเฮ็ง รับผิดชอบ ทม.นราธิวาส /อบต.จอเบาะ

  • 10 นางสาวนูรไอณี เจ๊ะลง รับผิดชอบ อบต.มะนังตายอ /ทต.ต้นไทร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 09.00 -15.00 น. ณ ห้องประชุมสวนอาหารริมน้ำ อ.เมืองนราธิวาส จ.นราธิวาส พี่เลี้ยงจังหวัดนราธิวาส จัดประชุมชี้แจงกองทุนนำร่อง 20 พื้นที่ โดยมีคณะทำงานเขต12 นายบรรเจต นะแส นส.อารีย์ สุวรรณชาตรี นส.คณิชญา แซนโทส เข้าร่วมประชุมร่วม
นายเสรี แซะ หัวหน้าสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลผดุงมาตร (ประธานพี่เลี้ยงจังหวัดนรา) ได้กล่าวต้อนรับกองทุนที่เข้าร่วมประชุมและชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม
นายพิรัช ตั้งผดุงวงค์ ผอ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเคียน พูดเกี่ยวกับความสำคัญในเรื่องอาชีวอนามัยของกลุ่มแรงงงานนอกระบบ
แบ่งกลุ่มย่อยกองทุนตามโซนอำเภอ เพื่อร่วมวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่ และความเสี่ยงจากการทำงาน โดยให้มีพี่เลี้ยงจังหวัดประจำแต่ละกลุ่ม

  • กลุ่ม 1 กองทุนพื้นที่เขตอำเภอเมือง อำเภอบาเจาะ อำเภอยี่งอ พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม นายพิรัช ตั้งผดุงวงค์ ,นางสาวนูรไอณี เจ๊ะลง ,นายรุสลัน บือราเฮ็ง ,นายอภินันท์ เปาะอีแต

  • กลุ่ม 2 กองทุนพื้นที่เขต อำเภอระแงะ อำเภอจะแนะ พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม นายเสรี เซะ, นายยาห์ยา อะยูยา,นางปารีดะห์ แก้วกรด

  • กลุ่ม 3 กองทุนพื้นที่เขตอำเภอแว้ง อำเภอสุไหงโกลก อำเภอสุไหปาดี พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม นายสวรรค์ สาและ ,นายอายิ หะมาดุลลาห์ ,นายอับดุลรอฮิม มะดาโอ๊ะ

 

50 0

30. ประชุมคณะทำงานระดับเขต12

วันที่ 26 ธันวาคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เกิดรุปแบบแผนการดำเนินงานในระยะที่2

2.คณะทำงานได้ร่วมการทบทวนการทำงานในระยะที่1 ทำให้เห็นจุดอ่อน จุดแข็งของการทำงานในระดับพื้นที่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา 13.00-16.00 น ณ ห้องประชุมสำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขต 12 สงขลา
ชั้น 3 อาคารสยามนครินทร์คอมเพล็กซ์ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย

1.ผศ.แสงอรุณ อิสระมาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2.ภก.สมชาย ละอองพันธ์ สปสช.เขต12สงขลา

3.นส.ยุรี แก้วชูช่วง คณะทำงานโครงการฯ

4.นายวิเชียร มณีรัตนโชติ พี่เลี้ยงระดับเขต 12 สงขลา

5.นางจันทนา เจริญวิริยะภาพ พี่เลี้ยงระดับเขต 12 สงขลา

6.นส.อารีย์ สุวรรณชาตรี คณะทำงานโครงการฯ

7.นส.คณิชญา แซนโทส คณะทำงานโครงการฯ

เริ่มประชุมเวลา 13.00 น.

นส.อารีย์ สุวรรณชาตรี รายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ ในระยะที่1 (สิงหาคม-ธันวาคม2562) ดังนี้ 1.การดำเนินกิจกรรมเพื่อทำความเข้าใจโครงการฯร่วมกับแผนงานกลาง การพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงระดับจังหวัด การลงพื้นที่ จังหวัดเพื่อทำความเข้าใจชี้แจงกองทุน จำนวน 140 กองทุน และการประชุมติดตามงานของคณะทีมบริหารเขต

2.การรายงานกิจกรรม มีการบันทึกกิจกรรมในระบบเว้ปไซต์กองทุนสุขภาพตำบล มีหลักฐานประกอบด้วย ภาพถ่าย รายงานการเงิน

-นส.คณิชญา แซนโทส เอกสารการเงิน มีการดำเนินการจัดเก็บ เช่น บิลค่าใช้จ่าย ใบสำคัญรับเงิน ใบยืม คืน เงินทดลองจ่ายในส่วนที่สนับสนุนจังหวัดละ 20,000 ในงวดที่1

-นส.ยุรี แก้วชูช่วง ในการลงพื้นที่ชี้แจงกองทุน บางจังหวัดยังไม่เห็นศักยภาพของพี่เลี้ยงในกระบวนการเวที เนื่องจากการขาดการประชุมเตรียม ทำให้ดูเหมือนเขตทำเอง ซึ่งยังคงอยากให้ยึดหลักของเวที 8-9ตค.ที่หาดแก้ว เกี่ยวกับการทำความเข้าใจของพี่เลี้ยงที่มาอบรม และหลังจากอบรมต้องกลับไปทำความเข้าใจกับเพื่อนๆ ที่ไม่ได้เข้าร่วม

-ภก.สมชาย ละอองพันธ์ ในการติดตามงาน เขต12มีกระบวนการทำงานที่ผ่านระบบเว้ปไซต์ กองทุนต้องมีแผน และการพัฒนาโครงการในระบบ ซึ่งพี่เลี้ยงจะได้มีการติดตามงานได้

-อาจารย์แสงอรุณ อิสระมาลัย ในส่วนของการประเมินภายในตอนนี้ได้จัดทำหลักสูตร อสอช. ไว้แล้ว ส่วนการลงพื้นที่จะใช้กลไกเขตในการลงไปทำงาน และการเก็บข้อมูล ในการเก็บข้อมูลกลุ่มอาชีพเสี่ยง พื้นที่เข้มข้นเก็บทุกกลุ่มอาชีพ เก็บ25%

สรุปข้อคิดเห็นจากการแลกเปลี่ยนดังนี้

1.งบประมาณสนับสนุนในงวดที่1 มีการดำเนินกิจกรรมแล้วเสร็จ มีการติดลบค่าใช้จ่ายของพื้นที่สตูลและค่าตอบแทนผู้ประสานงานโครงการฯ

2.เขตต้องทำแผนงวดที่2 ,ส่งเอกสารการเงินให้กับแผนงานกลาง,และสรุปรายงานประจำงวด

3.ให้ทาง นส.อารีย์ ได้ประสานพี่เลี้ยงและคณะทำงานโครงการฯ ประกอบด้วย นายวิเชียร มณีรัตนโชติ,นายบรรเจต นะแส ,นายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน ในการจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงจังหวัด

4.การสรุปรายงานประจำงวด นส.อารีย์ ดำเนินการเขียนรายงานและให้ทางอาจารย์แสงอรุณ ช่วยดูข้อมูลอีกครั้งเพื่อความสมบรูณ์

5.แผนการดำเนินงานในระยะที่2 (มค-มิย.63) ประกอบด้วย

-เวทีสรุปและทบทวนการทำงานช่วงที่1 ทบทวนและปรับศักยภาพพี่เลี้ยง

-การนำเสนอแผนสุขภาพตำบล (แรงงานนอกระบบ) และร่างโครงการรายจังหวัด

-พัฒนากลไก หลักสูตรอาสาสมัครอาชีวอนามัย( อสอช.)

 

10 0

31. ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงโครงการฯ รายจังหวัด การทำแผนสุขภาพ พัฒนาโครงการ จังหวัดสตูล

วันที่ 26 ธันวาคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการกองทุนจำนวน 20 พื้นที่มีความเข้าใจในการจัดทำแผนงงานกองทุน และการพัฒนาข้อเสนอโครงการ ประเด็นแรงงานนอกระบบ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 09.00 -15.30 น. นายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับเขต12สงขลา ได้เข้าร่วมชี้แจงโครงการแรงงานนอกระบบ ผ่านกลไกท้องถิ่น ให้กับคณะกรรมการกองทุน หรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกองทุน จำนวน 20 กองทุน ในพื้นที่จังหวัดสตูล

 

0 0

32. ค่าบริหารจัดการประจำเดือนธันวาคม 2562

วันที่ 30 ธันวาคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการ(ผู้ประสานงานหลัก) นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี เป็นเงิน 10,000 บาท

-ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่การเงินและบริหารจัดการทั่วไป นางสาวคณิชญา แซนโทส เป็นเงิน 5,000 บาท

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

-ค่าตอบแทนผู้รับผิดชอบโครงการ(ผู้ประสานงานหลัก) นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี เป็นเงิน 10,000 บาท

-ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่การเงินและบริหารจัดการทั่วไป นางสาวคณิชญา แซนโทส เป็นเงิน 5,000 บาท

 

2 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 84 33                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 1,000,000.00 455,845.00                  
คุณภาพกิจกรรม 132 0                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุมคณะทำงานระดับเขต12สงขลา(ทีมบริหารโครงการฯ) ( 6 ม.ค. 2563 )
  2. การประชุมเชิงปฎิบัติการการติดตามประเมินผลภายในและเสริมพลัง (ส่วนแผนงานกลาง) ( 7 ก.พ. 2563 - 8 ก.พ. 2563 )
  3. ประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง ผ่านกลไก กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ เขต 12 สงขลา(ส่วนแผนงานกลาง) ( 27 ก.พ. 2563 )
  4. ส่งรายงานฉบับสมบูรณ์งวดที่ 1 ( 29 ก.พ. 2563 )
  5. ค่าตอบแทนประจำเดือนมีนาคม 2563 ( 30 มี.ค. 2563 )
  6. เคลียร์เงินปัตตานี ( 31 มี.ค. 2563 )
  7. ึคืนเงินยืมค่าตอบแทนเงินประจำเดือนธันวาคม ( 31 มี.ค. 2563 )
  8. ประชุมการจัดทำโครงการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ โดยบูรณาการงานร่วมกับโครงการพัฒนานโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ พื้นที่เขต12 สงขลา ( 2 เม.ย. 2563 )
  9. ประชุมคณะทำงานเขตและส่วนกลาง ( 22 พ.ค. 2563 )
  10. ค่าตอบแทนประจำเดือนพฤษภาคม 2563 ( 30 พ.ค. 2563 )
  11. พัฒนากลไกพี่เลี้ยงระดับจังหวัด และอสอช.ในระดับพื้นที่ ( 1 มิ.ย. 2563 )
  12. ประชุมติดตาม ประเมินผลภายในระดับเขต (ประชุมทีมพี่เลี้ยงระดับเขต) ( 1 มิ.ย. 2563 )
  13. ประชุมคณะทำงานระดับเขต(ทีมบริหารโครงการ) ( 2 มิ.ย. 2563 )
  14. ประชุมพัฒนาหลักสูตรอาสาสมัครอาชีวอนามัยและเตรียมการสอนหลักสูตรอบรม อสอช. ( 16 มิ.ย. 2563 )
  15. ประชุมคณะทำงานระดับจังหวัด(พี่เลี้ยง)โซนใต้ล่าง จังหวัดปัตตานี ,ยะลา,นราธิวาส ( 18 มิ.ย. 2563 )
  16. ประชุมเตรียมความพร้อมจัดอบรม อสอช.จังหวัดสงขลา(ประชุมเตรียมร่วมกับพี่เลี้ยง) ( 22 มิ.ย. 2563 )
  17. จัดเวทีอบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช.จังหวัดสงขลา ( 23 มิ.ย. 2563 )
  18. ประชุมทีมงานพี่เลี้ยงจังหวัดยะลา ( 24 มิ.ย. 2563 )
  19. ค่าตอบแทนประจำเดือนมิถุนายน2563 ( 26 มิ.ย. 2563 )
  20. จัดเวทีอบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช. จังหวัดสตูล(ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง) ( 30 มิ.ย. 2563 )
  21. ประชุมพี่เลี้ยงจังหวัดนราธิวาส ( 30 มิ.ย. 2563 )

(................................)
นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี นางสาวยุรี แก้วชูช่วง และว่าที่ร้อยตรีคณิชา แซนโทส
ผู้รับผิดชอบโครงการ