กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนากลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ

ชุมชน กองทุนสุขภาพตำบลนำร่อง พื้นที่เขต 12 สงขลา จำนวน 7 จังหวัด 140 กองทุน

รหัสโครงการ 62-00-0250-2 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2562 ถึง 31 สิงหาคม 2563

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน มกราคม 2563 ถึงเดือน มิถุนายน 2563

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะทำงานระดับเขต12สงขลา(ทีมบริหารโครงการฯ)

วันที่ 6 มกราคม 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.คณะทำงานมีการทบทวนงานที่ทำร่วมกันในระหว่างเดือน สค.-ธค. ทำให้เห็นวิธีการทำงานของทีมที่ลงสนับสนุนพื้นที่ (ซึ่งต้องมีการเตรียมตัวก่อน กิจกรรมแบ่งซอยเป็นกลุ่มกิจกรรมย่อย) และการปรับแผนการทำงาน ทำให้เกิดการเสริมศักยภาพของกลไกจังหวัด กลไกจังหวัดมีการเข้าใจงาน เข้าใจประเด็นแรงงานนอกระบบมากขึ้น

2.มีการกำหนดแผนงาน การทำงานของทีมเขตในช่วงเดือน มค.-กพ.ในการประชุมติดตามงานของกลไกจังหวัด เพื่อสรุปและทบทวนงานร่วมกัน ให้ได้ผลลัพธ์ คือ ข้อมูลกลุ่มเสี่ยง,พื้นที่ต้นแบบ35แห่ง,ข้อตกลงร่วมในระดับอำเภอ/จังหวัด ในประเด็นแรงงานนอกระบบ ,บทเรียนโครงการที่ดี

3.จากการติดตามงานในระบบเว้ปไซต์กองทุน ทำให้เห็นข้อมูลของการจัดทำแผนงาน/การพัฒนาข้อเสนอโครงการ ของกองทุนนำร่องทั้ง146 ตำบล กองทุนที่มีการพัฒนาข้อเสนอโครงการ และได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนและเป็นโครงการที่ดี ที่มีการออกแบบกิจกรรมครอบคลุมในเนื้อหา ประเด็น มีการจัดตั้งทีม อสอช. และการพัฒนาศักยภาพอสอชในพื้นที่ / การจัดทำข้อมูลกลุ่มเสี่ยง / การจัดบริการสุขภาพกลุ่มเสี่ยง / การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมในที่ทำงานของกลุ่มเสี่ยง มีจำนวน 4 โครงการ ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ประกอบด้วย

1.โครงการแรงงานประมงสุขใจ ดูแลสุขภาพได้ ก่อนออกทะเล เทศบาลตำบลหนองจิก (ปีที่ 2 )

2.โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มเกษตรกรในตำบลตุยง ปี 63

3.โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพในกลุ่มเกษตรกรตำบลดอนรัก

4.โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ตำบลนาประดู่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 6 มกราคม เวลา 13.00 น. ณ สปสช.เขต 12สงขลา คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับเขต และทีมบริหารโครงการ ได้ร่วมสรุปผลการดำเนินงานในงวดที่1 (สค.-ธค.62) โดยมีพี่เลี้ยงเข้าร่วมดังนี้ ภก.สมชาย ละอองพันธุ์ ,ผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย ,นายบรรเจต นะแส ,นายวิเชียร มณีรัตนโชติ ,นางสาวยุรี แก้วชูช่วง ,นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี ,นางสาวคณิชญา แซนโทส จากการรายงานผลการดำเนินงานดังนี้ 1. รายงานผลจากการลงพื้นที่เป็นรายจังหวัด ทั้ง6 จังหวัด เพื่อชี้แจงโครงการฯแรงงานนอกระบบให้กับกองทุนสุขภาพตำบลนำร่อง ทำให้เห็นถึงสมรรถนะของพี่เลี้ยงในแต่ละจังหวัด ดังนี้

1.ผลที่เกิดขึ้นจากการลงพื้นที่ชีแจงกองทุน

1.1.จังหวัดยะลา จังหวัดตรัง ทำให้เห็นจุดของพี่เลี้ยงในการเข้าใจงาน เข้าใจโครงการฯ กระบวนการของเวทีพี่เลี้ยงระดับจังหวัดยังคงไม่สามารถทำกระบวนการได้ คณะทำงานเขตที่ลงไปยังเป็นคนหลักในการจัดการ ดังนั้นจึงได้ปรับวิธีการทำงานโดยมีการลงไปเตรียมในพื้นที่ก่อน ทำความเข้าใจกับพี่เลี้ยงเพื่อวางบทบาทร่วมกัน ถึงแม้จะเสียเวลา และมีกิจกรรมเพิ่มขึ้นจากแผนเดิม แต่ก็เห็นประโยชน์ คือพี่เลี้ยงเข้าใจเนื้องาน มีการแบ่งบทบาท ความรับผิดชอบในการจัดประชุม
-นายบรรเจต นะแส สะท้อนจากการลงพื้นที่ พื้นที่จังหวัดสงขลา มีกระบวนการ /เนื้องานที่ได้ Input มากกว่ากระบวนการกลุ่มย่อย เนื่องจากห้องประชุมไม่ได้เอื้อในการจัดแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ จังหวัดนราธิวาส มีกระบวนการของกลุ่มย่อย กองทุนนำร่องได้ร่วมวิเคราะห์สถานการณ์กลุ่มแรงงานในพื้นที่ จากการจัดเวทียังมีจุดอ่อนคือ ตัวของกลุ่มแรงงานนอกระบบที่อยู่ในพื้นที่ได้เข้ามาร่วมวางแผน /หรือออกแบบกิจกรรมร่วมกับเจ้าหน้าที่กองทุน หรือคณะกรรมการกองทุน
-นายวิเชียร มณีรัตนโชติ สะท้อนจากการลงพื้นที่ จังหวัดพัทลุง พี่เลี้ยงเข้าใจเนื้องาน ดังนั้นในเวทีจะเห็นบทบาทของพี่เลี้ยงที่ช่วยกันวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับกองทุนตำบลนำร่อง ดังนั้นในการทำงานของทีมเขต จะต้องประเมินว่า กลไกจังหวัดขาดอะไร และจะต้องเติมอะไร จึงควรมีการจัดเวทีสรุปบทเรียนในช่วงแรก เพื่อสะท้อนปัญหาอุปสรรค และการวางแผนงานต่อในระดับพื้นที่

2.แนวทางพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง

2.1. สนับสนุนให้เกิดการจัดการข้อมูลในพื้นที่

2.2. การนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผน

2.3. การสรุปข้อมูล

2.4. การทำงานเป็นทีม

2.5. การวิเคราะห์สถานการณ์แรงงานนอกระบบ/กลุ่มเสี่ยง ก่อนออกแบบโครงการ

2.6. ติดตามอย่างใกล้ชิด

2.7. เร่งรัดชุมชนให้มีแผน ให้ทำข้อมูลเรียนรู้เรื่องข้อมูล อสอช.

3.เกณฑ์ของพื้นที่ต้นแบบ
3.1. มี อสอช. ในพื้นที่

3.2. มีข้อมูล

3.3. มีแผนสุขภาพตำบล

4.หลักสูตร อสอช.(พัฒนาโดยอาจารย์แสงอรุณ) โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่มาเรียนรู้ คือ แกนนำชุมชน /อสม. /ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ที่ตั้งใจทำและพัฒนากลุ่มตนเอง

ดังนั้นกิจกรรมในเดือนถัดไป มค.-กพ.63 จัดให้มีประชุมกลไกจังหวัด เพื่อสรุปงาน/ ทบทวนงาน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ พื้นที่ที่เป็นตัวจริง (พื้นที่ในใจ) /โครงการฯสนับสนุนกลุ่มเสี่ยง ที่ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนตำบล /ตัวตนของกลุ่มแรงงาน คือกลุ่มไหน ใครที่อยู่ในชุมชน / การทลายกรอบของท้องถิ่นที่ยังมองเฉพาะกลุ่มที่มีการขึ้นทะเบี่ยน หรือจดทะเบียน

 

6 0

2. การประชุมเชิงปฎิบัติการการติดตามประเมินผลภายในและเสริมพลัง (ส่วนแผนงานกลาง)

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.คณะทำงานเขต12ได้ร่วมออกแบบวางแผนการดำเนินงานระยะที่2 (มีค.-มิย.63) สิ่งที่ต้องทำต่อ คือ

1.1.มีข้อมูลความเสี่ยงและความรอบรู้ด้านอาชีวอนามัยของกลุ่มเสี่ยง/ผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง แรงงานนอกระบบ

1.2.มีพี่เลี้ยงตำบล 3-5คนต่อตำบล /และอสอช.5คน/ตำบล ซึ่งจะเป็นคณะทำงาน /ทีมปฎิบัติการในระดับพื้นที่

1.3.มีแผนการลดความเสี่ยงจากการทำงาน เช่น การปรับสภาพแวดล้อม กติกาข้อตกลงของกลุ่ม ฯลฯ

1.4.มีพื้นที่ต้นแบบ และนวัตกรรมการลดความเสี่ยงจากการทำงาน


2.การทบทวนงานที่ผ่านมา

2.1.การทำความเข้าใจในระดับกลไกของเขต และกลไกจังหวัด เพื่อให้เห็นเป้าหมายร่วมกัน

2.2.จัดทำกรอบการทำงานให้สอดคล้องกับกิจกรรมโครงการฯ (การพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงจังหวัด /อสอช.
2.3.การออกแบบการจัดการข้อมูลของกลุ่ม/เครือข่าย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ทีมคณะทำงานเขต12 สงขลา เข้าร่วมชี้แจงการดำเนินงานในระยะที่1 (สค.-ธค.62) ร่วมกับคณะทำงานแผนงานกลางและคณะทำงานของ สปสช.ในเขตภูมิภาคอื่นๆ จากการดำเนินงานเขต12 สงขลา มีความก้าวหน้าของงานที่เกิดขึ้นในระดับพื้นที่ ดังนี้
1.มีกลไกระดับเขต จำนวน 14 คน กลไกระดับจังหวัด ทั้ง7 จังหวัดในพื้นที่ของ สปสช. จำนวน 70 กว่าคน กลไกจังหวัดยังมีข้อจำกัดในการทำงานในพื้นที่ ทีมคนทำงาน ความเข้าใจในบทบาทของตนเอง ยังมีการพึ่งพาจากเขตที่บางครั้งลงไปทำงานแทน (ซึ่งจะทำให้กลไกจังหวัดไม่เข้มแข็งในอนาคต) การทำงานระหว่างกลไกจังหวัด กับกลไกในระดับตำบล
2.ข้อมูลและการนำส่งผลงาน คือ
2.1.ขาดข้อมูลพื้นฐานกลุ่มอาชีพเสี่ยงที่เป็นกลุ่มเป้าหมายการดำเนินงานโครงการ จำนวน 146ตำบล ซึ่งยังไม่ได้ดำเนินการ แนวทางแก้ไขคณะทำงานเขตจะมีการประสานงานไปยังคณะทำงานในระดับจังหวัดในการคีย์ข้อมูลในกูเกิ้ลฟอร์ม
2.2.รายงานฉบับสมบรูณ์ในรูปแบบเล่ม และไฟล์ข้อมูล (ปรับล่าสุดตามกรอบของแผนงานกลาง) และรายงานการเงิน (เอ็กเซล) ยังไม่มีการส่ง แนวทางแก้ไข ปรับตามกรอบแผนงานกลางดำเนินงานให้เสร็จภายในเดือน กพ.63

 

5 0

3. ประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง ผ่านกลไก กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ เขต 12 สงขลา(ส่วนแผนงานกลาง)

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.มีเกณฑ์คุณสมบัติของ อสอช.ในระดับพื้นที่ ที่ประกอบด้วย

  • มีองค์ประกอบที่มาจากผู้นำ /เครือข่ายที่หลากหลาย เช่น อสม. ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น ผู้นำศาสนา แกนนำชุมชน แกนนำกลุ่มอาชีพ

  • อสอช. มีศักยภาพในการเก็บข้อมูลและสามารถวิเคราะห์ข้อมูลJSA

  • รู้จักแก้ปัญหา และปฎิบัติการในพื้นที่ได้

2.มีพื้นที่ต้นแบบ จำนวน 11 ตำบลๆละ1กลุ่มอาชีพ ดังนี้

-จังหวัดสงขลา กองทุนตำบลแค ,ตำบลท่าหมอไทร

-จังหวัดพัทลุง กองทุนตำบลโคกม่วง

-จังหวัดปัตตานี (จำนวน 2ตำบล ขอกลับไปหารือในระดับพื้นที่ก่อน)

-จังหวัดยะลา กองทุนตำบลบาละ

-จังหวัดนราธิวาส กองทุนตำบลโคกเคียน ,กองทุนตำบลแว้ง

-จังหวัดตรัง กองทุนตำบลเขากอบ

-จังหวัดสตูล กองทุนตำบลปากน้ำ,กองทุนตำบลกำแพง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมประชุมติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ประกอบอาชีพเสี่ยงผ่านกลไกกองทุนสุขภาพระดับพื้นที่เขต12สงขลา เวลา 09.30 -15.30 น ณ ห้องประชุม สปสช.เขต12สงขลา

1.วัตถุประสงค์ 1.1.เพื่อสรุปผลการดำเนินงานในระยะที่1 (สค.-ธค.62) 1.2.เพื่อทบทวนงานและวางแนวทางในการทำงานในระยะที่2 (มีค.-มิย.63)

2.สาระสำคัญในการดำเนินกิจกรรม/การประชุม 2.1.การจัดตั้งกลไก อสอช.ในระดับพื้นที่ 2.1.1. พื้นที่การทำงานของเขต12สงขลา ยังไม่มี อสอช.ในพื้นที่ / อสอช.ขาดศักยภาพ
2.1.2. ขาดหลักสูตร อสอช. 2.1.3.แนวทางแก้ไข
-กองทุนสุขภาพตำบลนำร่องมีการเพิ่มกิจกรรมจัดตั้งทีม อสอช.และพัฒนาศักยภาพ โดยใช้เงินกองทุนตำบล -หลักสูตร อสอช. ที่มีเนื้อหา 3วัน ใช้เวลามากเกินไปไม่เหมาะกับพื้นที่ จึงให้มีการปรับหลักสูตรอย่างง่ายสามารถนำไปใช้ได้เลย ระยะเวลา 1-2วัน

2.1.4.เป้าหมาย
-อสอช. มีศักยภาพในการเก็บข้อมูลและสามารถวิเคราะห์ข้อมูลJSA
-อสอช.สามารถสนับสนุนปฎิบัติการในระดับพื้นที่ในการส่งเสริมป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยง/วิธีลดความเสี่ยงจากการทำงาน
-จัดอบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช.ตามที่พื้นที่จังหวัดเป็นคนออกแบบตามบริบทของพื้นที่ เช่น การอบรมรวมในระดับอำเภอ หรือระดับจังหวัด
-อสอช.มีการเก็บข้อมูลกลุ่มเสี่ยง วิเคราะห์ข้อมูลJSA เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการปรับสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน
-อสอช.สามารถขยายและเปิดโอกาสให้กับกลุ่ม/เครือข่ายที่ขาดโอกาส กลุ่มอาชีพที่มีปัญหา กลุ่มด้อยโอกาสในพื้นที่
-ข้อมูลสามารถวัดได้ (ก่อนและหลัง)เพื่อชี้ให้เห็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง

2.2.แผนสุขภาพประเด็นแรงงานนอกระบบ ให้มีการออกแบบพัฒนาข้อเสนอโครงการ ให้ครอบคลุมในประเด็น คือ -จัดตั้งทีมอสอช. ที่มีองค์ประกอบจากกลุ่ม /เครือข่าย เช่น อสม.,แกนนำกลุ่มอาชีพเสี่ยง,ผู้นำศาสนา,ผู้นำชุมชน ,ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) -มีการวิเคราะห์ข้อมูลJSA -การคืนข้อมูล/การวิเคราะห์ความเสี่ยงของกลุ่มร่วมกัน -การจัดทำกติกา ข้อตกลงร่วม
-พื้นที่กองทุนบางตำบลที่ไม่มีงบประมาณ งบประมาณมีการจัดสรรไปหมดแล้วในปี63 ให้กองทุนมีการทำแผนไว้ในระบบเพื่อรองรับงบประมาณปี64

2.3.กระบวนการประเมินภายใน -ประเมินโดยกูเกิ้ลฟอร์ม ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมิน (ทีมพี่เลี้ยงเขต ประเมินพี่เลี้ยงจังหวัด) ประกอบด้วย นายเจ๊ะอับดุลล่าห์ ,นส.ยุรี ,อาจารย์แสงอรุณ,อาจารย์ไพฑูรย์,อาจารย์เพ็ญ โดยทำการประเมินสมรรถนะพี่เลี้ยงระดับจังหวัด ในเรื่องการจัดการข้อมูล,การจัดการเครือข่าย,การทำงานเป็นทีม,การสนับสนุนทีมในการทำงานร่วมกัน -ประเมิน อสอช. ผู้ทำหน้าที่ประเมิน (พี่เลี้ยงจังหวัด) ประเมินผลลัพธ์ การมีอสอช.เกิดขึ้นหรือไม่ เกิดโดยใช้กลไกอะไร,การประเมินความเสี่ยงด้านการประกอบอาชีพ คว่ามรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย -ประเมินตนเอง (พี่เลี้ยงจังหวัดประเมินตนเอง)

 

15 0

4. ส่งรายงานฉบับสมบูรณ์งวดที่ 1

วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ส่งรายงานฉบับสมบูรณ์งวดที่ 1

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ส่งรายงานฉบับสมบูรณ์งวดที่ 1

 

1 0

5. ค่าตอบแทนประจำเดือนมีนาคม 2563

วันที่ 30 มีนาคม 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ค่าตอบแทนประจำเดือนมีนาคม2563

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ค่าตอบแทนประจำเดือนมีนาคม2563

 

2 0

6. เคลียร์เงินปัตตานี

วันที่ 31 มีนาคม 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คืนเงินยืมเพื่อจัดกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

คืนเงินยืมเพื่อจัดกิจกรรม

 

1 0

7. ึคืนเงินยืมค่าตอบแทนเงินประจำเดือนธันวาคม

วันที่ 31 มีนาคม 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คืนเงินยืมค่าตอบแทนประจำเดือนธันวาคม 2562

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

คืนเงินยืมค่าตอบแทนประจำเดือนธันวาคม 2562

 

2 0

8. ประชุมการจัดทำโครงการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ โดยบูรณาการงานร่วมกับโครงการพัฒนานโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ พื้นที่เขต12 สงขลา

วันที่ 2 เมษายน 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เกิดข้อเสนอโครงการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ

2.เกิดการบูรณาการแผนระหว่างโครงการถอดบทเรียน โครงการการติดตามประเมิน และโครงการพัฒนานโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ พื้นที่เขต12 สงขลาเพื่อนำไปสู่การสังเคราะห์ชุดความรู้ และการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.พิจารณาโครงการถอดบทเรียนพื้นที่ค้นแบบ โดยที่ประชุมคณะทำงานระดับเขตได้มีมติให้ อ.อะหมัด หลีขาหรี เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งโครงการถอดบทเรียนมีงบในการบริหารจัดการส่วนหนึงในการจัดทำเวทีถอดบทเรียนเป็นรายจังหวัด และค่าตอบแทนชุดสังเคราะห์ความรู้พื้นที่ต้นแบบ (งานเขียน)ให้กับทีมพี่เลี้ยงcsd

2.เรื่องหลักสูตร อสอช. ผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย จะมีการปรับหลักสูตรให้สั้นลง เพื่อให้เหมาะกับพื้นที่ จากเดิมใช้เวลา 2-3วัน ปรับระยะเวลาเหลือ 1½ วัน
วันแรก โค้ทพี่เลี้ยง เพื่อให้พี่เลี้ยงสามารถเป็นนักจัดกระบวนการ วิทยากรกลุ่มย่อย ช่วยในการวิเคราะห์JSA ร่วมกับ อสอช.ที่เข้าอบรม

วันที่สอง อบรม อสอช แต่ละตำบลให้มีความรู้เรื่องอาชีวอนามัย และวิเคราะห์JSA การจัดทำแผนปฎิบัติการลดเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ

3.วางแผนการลงพื้นที่พัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงและ อสอช.เป็นรายจังหวัด 7จังหวัดของ สปสช.เขต12สงขลา

 

6 0

9. ค่าตอบแทนประจำเดือนพฤษภาคม 2563

วันที่ 30 พฤษภาคม 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ค่าตอบแทนประจำเดือนพฤษภาคม 2563

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ค่าตอบแทนประจำเดือนพฤษภาคม 2563

 

2 0

10. ประชุมคณะทำงานระดับเขต(ทีมบริหารโครงการ)

วันที่ 2 มิถุนายน 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เกิดข้อเสนอโครงการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบโดยนายอะหมัด หรีขาหลี เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

2.เกิดการบูรณาการแผน

ระหว่างโครงการถอดบทเรียน โครงการการติดตามประเมินและโครงการพัฒนานโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่นสำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ

พื้นที่เขต12 สงขลา เพื่อนำไปสู่การสังเคราะห์ชุดความรู้ และการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.พิจารณาข้อเสนอโครงการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ โดยมติที่ประชุมมอบหมายให้ นายอะหมัด หลีขาหรี เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งโครงการถอดบทเรียน จะช่วยในการ สังเคราะห์ชุดความรู้พื้นที่ต้นแบบและนวัตกรรม ด้านงบในการบริหารจัดการส่วนหนึ่งเพื่อใช้ในการจัดทำเวทีถอดบทเรียนเป็นรายจังหวัด และค่าตอบแทนชุดสังเคราะห์ความรู้พื้นที่ต้นแบบ(งานเขียน)ให้กับทีมพี่เลี้ยงcsd

2.การจัดทำหลักสูตรอบรม อสอช. ผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย จะมีการปรับหลักสูตรให้สั้นลง เพื่อให้เหมาะกับพื้นที่ จากเดิมใช้เวลา 2-3วัน ปรับระยะเวลาเหลือ 1½ วัน
วันแรก โค้ทพี่เลี้ยง เพื่อให้พี่เลี้ยงสามารถเป็นนักจัดกระบวนการ วิทยากรกลุ่มย่อย ช่วยในการวิเคราะห์JSA ร่วมกับ อสอช.ที่เข้าอบรม วันที่สอง อบรม อสอช แต่ละตำบลให้มีความรู้เรื่องอาชีวอนามัย การวิเคราะห์JSA การจัดทำแผนปฎิบัติการลดเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ

3.การลงพื้นที่พัฒนาศักยภาพคณะทำงานระดับจังหวัด(พี่เลี้ยง)และ อสอช.เป็นรายจังหวัด 7จังหวัดของสปสช.เขต12สงขลา

 

10 0

11. ประชุมพัฒนาหลักสูตรอาสาสมัครอาชีวอนามัยและเตรียมการสอนหลักสูตรอบรม อสอช.

วันที่ 16 มิถุนายน 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เกิดแผนการทำงานในระดับพื้นที่ โดยให้คณะทำงานระดับจังหวัด(พี่เลี้ยง) มีการคัดเลือกพื้นที่ตำบลเป้าหมาย อย่างน้อย5ตำบล ต่อจังหวัด รวม35แห่ง และ กลุ่มเป้าหมายแกนนำ อสอช 5คนต่อตำบล รวม 175คน.

2.มีข้อมูลสถานการณ์ความเสี่ยงผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง ใน5 ตำบลนำร่อง

3.มีหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพ อสอช.

4.มีการติดตามประเมินผลความรอบรู้อาชีวอนามัย
ของอสอช.และคณะทำงานระดับจังหวัด (พี่เลี้ยง) เพื่อนำไปสู่การหนุนเสริมศักยภาพ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.การเตรียมข้อมูลสถานการณ์แรงงานนอกระบบ ผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงในตำบลเป้าหมาย 7จังหวัดๆละ5ตำบลเป็นอย่างน้อย กลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูล 10-20 ราย เป็นเบื้องต้นเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ในเวทีอบรม อสอช. การเก็บข้อมูลจะใช้แบบสอบถามจากส่วนกลาง

(อ.อรุณ) ข้อมูลที่เก็บได้ให้มีการบันทึกในระบบฐานข้อมูลแรงงานนอกระบบ iw.in.th . ค่าตอบแทนในการเก็บข้อมูลโครงการฯเขต12 เป็นผู้ดำเนินการให้กับจังหวัดๆละ5,000บาท 2.การเตรียมผู้เข้าอบรม ประกอบด้วย คณะทำงานระดับจังหวัด (พี่เลี้ยง) ตัวแทนกรรมการกองทุน หรือเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานกองทุนฯ แกนนำกลุ่มอาชีพเสี่ยง แกนนำชุมชนและอสม.

3.การประเมินใช้กูเกิ้ลฟอร์มในการประเมินพี่เลี้ยงและอสอช.

 

8 0

12. ประชุมคณะทำงานระดับจังหวัด(พี่เลี้ยง)โซนใต้ล่าง จังหวัดปัตตานี ,ยะลา,นราธิวาส

วันที่ 18 มิถุนายน 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานระดับจังหวัด(พี่เลี้ยง)มีการรายงานความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนงานกองทุนฯในประเด็นแรงงานนอกระบบ ดังนี้ -จังหวัดปัตตานีใช้กลไกท้องถิ่นและ พชอ.ขับเคลื่อนงานกองทุนฯ มีกองทุนฯที่อนุมัติงบประมาณสนับสนุนการดำเนินการโครงการ 15 ตำบล ส่วนอีก5ตำบล คือ ต.บ่อทอง ,ต.ทรายขาว,ต.ป่าไร่,ต.แม่ลาน,ต.ม่วงเตี้ย มีการทำแผนกองทุนฯรอไว้ในระบบของ สปสช.เขต12 เพื่องบประมาณในปี2564 -จังหวัดยะลา อปท.มีขนาดเล็ก งบประมาณมีจำกัด มีการอนุมัติให้กับแผนงานไปก่อนที่โครงการเขต12ฯเข้ามามีเพียงตำบลบาละ1พื้นที่ ที่กองทุนฯได้อนุมัติมีการดำเนินการในระดับพื้นที่ -จังหวัดนราธิวาส ตำบลแว้งมีการทำโครงการแล้วแต่กิจกรรมมีเพียงเจาะเลือดในกลุ่มทำนา ดังนั้นจะผลักดันให้ตำบลโคกเคียนมีการทำโครงการกลุ่มสื่อกระจูดในปีที่2 มีการออกแบบกิจกรรมให้ครอบคลุมในด้านการเก็บข้อมูลความเสี่ยง จัดตั้งทีม อสอช. กิจกรรมออกกำลังกาย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.เพื่อติดความก้าวหน้าของกลไกจังหวัดในการจัดทำแผน/ข้อเสนอโครงการกองทุนฯประเด็นแรงงานนอกระบบในระดับจังหวัด 3จังหวัด นราธิวาส ยะลา ปัตตานี

2.การจัดเก็บข้อมูลและเตรียมการอบรม อสอช.ในพื้นที่ (การเตรียมคน เตรียมวัน เวลา สถานที่ในการจัดอบรม)

3.เพื่อทำความเข้าใจและชี้แจงโครงการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ csd

 

18 0

13. ประชุมเตรียมความพร้อมจัดอบรม อสอช.จังหวัดสงขลา(ประชุมเตรียมร่วมกับพี่เลี้ยง)

วันที่ 22 มิถุนายน 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย อาจารย์กนกวรรณ หวนศรี อาจารย์ฐากรู ปราบปรี นักวิชาการสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ให้ความรู้อาชีวอนามัยและการใช้ฐานข้อมูลแรงนอกระบบในการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ และการเข้าใจในบทบาทการเป็นพี่เลี้ยงของคณะทำงานระดับจังหวัด ในกระบวนการกลุ่มที่ต้องช่วย อสอช.ในการวิเคราะห์JSAและการออกแบบกิจกรรมลดเสี่ยง

2.คณะทำงานระดับจังหวัด (พี่เลี้ยง) ได้นำเสนอการเก็บ

ข้อมูลกลุ่มแรงงานนอกระบบในระดับตำบลเป้าหมาย ดังนี้ 1.จ.สงขลา 7ตำบล 271ชุด 2.จ.สตูล 5ตำบล 99ชุด 3.จ.ปัตตานี 15ตำบล 476ชุด 4.จ.ยะลา 6ตำบล 82ชุด 5.จ.นราธิวาส 4ตำบล 80ชุด 6.จ.พัทลุง 5ตำบล 277ชุด 7.จ.ตรัง 6ตำบล 246ชุด

3.กระบวนการการเก็บและคีย์ข้อมูล 1) บางพื้นที่กองทุนฯจะมีการประสานให้ อสม.และแกนนำชุมชน เป็นผู้เก็บข้อมูล 2) ขั้นตอนการคีย์ในระบบฐานข้อมูลแรงงานเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานกองทุนฯเป็นคนดำเนินการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพคณะทำงานระดับจังหวัด (พี่เลี้ยง) เจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานกองทุนฯในการเตรียมก่อนการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีว อนามัยเป็นการเตรียมพี่เลี้ยงให้เข้าใจการวิเคราะห์ข้อมูลในเว้ปไซต์แรงงาน การวิเคราะห์JSA และการออกแบบกิจกรรมลดเสี่ยงจากการทำงาน/การประกอบอาชีพ ซึ่งในวันอบรมแกนนำ อสอช.พี่เลี้ยงจะต้องเป็นfa ในการทำกระบวนการแบ่งกลุ่มอาชีพในตำบลเป้าหมายที่เข้าอบรม ในหลักสูตรการเตรียมพี่เลี้ยงใช้ระยะเวลา ½ วัน

 

50 0

14. จัดเวทีอบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช.จังหวัดสงขลา

วันที่ 23 มิถุนายน 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.กองทุนฯ จำนวน 49แห่ง(อปท) ส่งตัวแทนอสอช.จำนวน 230คน เข้ารับการอบรม อสอช.ล้วนมาจากตัวแทนกลุ่มอาชีพเสี่ยง และอสม. ในพื้นที่ 2.การวิเคราะห์ความเสี่ยงในระบบฐานข้อมูลแรงงาน พบว่า ความเสี่ยงเกิดจากท่าทางในการทำงาน เช่น การนั่ง การหิ้วของหนัก ส่งผลต่อ สุขภาพกลุ่มเสี่ยง คือ ปวดหลัง เอว เข่า บ่าและไหล่
3.กิจกรรมลดเสี่ยง เช่น ออกกำลังกาย การหยุดพัก การใช้อุปกรณ์ เช่น ผ้าปิดจมูก รองเท้าบูท ถุงมือ ฯ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.จัดอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครอาชีวอนามัย ระยะเวลา 1วัน โดยกองทุนฯจะมีการส่งตัวแทนแกนนำกลุ่มอาชีพ ผู้นำชุมชน อสม. ตำบลละ5คนเข้าร่วมอบรม

2.การแลกเปลี่ยนประสบการณ์กลุ่มคนขึ้นตาล ซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบ ตำบลคลองรี โดย ผอ.รพ.สต.คลองรี

3.คณะทำงานระดับจังหวัด(พี่เลี้ยง) และ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกองทุน แบ่งกลุ่มย่อยตามรายตำบลในการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพJSA และร่วมออกแบบกิจกรรมลดเสี่ยงในขั้นตอนการทำงาน
1.เพื่อติดความก้าวหน้าของกลไกจังหวัดในการจัดทำแผน/ข้อเสนอโครงการกองทุนฯประเด็นแรงงานนอกระบบในระดับจังหวัด 3จังหวัด นราธิวาส ยะลา ปัตตานี 2.การจัดเก็บข้อมูลและเตรียมการอบรม อสอช.ในพื้นที่ (การเตรียมคน เตรียมวัน เวลา สถานที่ในการจัดอบรม) 3.เพื่อทำความเข้าใจและชี้แจงโครงการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ csd

 

50 0

15. ประชุมพี่เลี้ยงจังหวัดยะลา

วันที่ 24 มิถุนายน 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จังหวัดยะลามีแผนการจัดกิจกรรมในวันที่11-12 กรกฎาคม 2563 มีกองทุนที่เข้าร่วมอบรมดังนี้
1.องค์การบริหารส่วนตำบลเนินงาม อำเภอ รามัน

2.องค์การบริหารส่วนตำบลตาแซะ อำเภอเมืองยะลา

3.องค์การบริหารส่วนตำบลบาละ อำเภอกาบัง

4.เทศบาลเมืองเบตง อำเภอเบตง

5.องค์การบริหารส่วนตำบลอัยยเยอร์เวง อำเภอเบตง

6.เทศบาลตำบล บาลอ อำเภอรามัน
เพือนำอสอช เข้าสู่กระบวนการอบรม อสอช ร่วมกับเขต 12 ซึ่งถือเป็นการติดอาวุธให้เหล่าพี่เลี้ยงและ อสอช.ได้ลงไปช่วยเหลือพี่น้องกลุ่มอาชีพในท้องถิ่นชุมชนของตนเอง
ซึ่งกิจกรรมการรวมตัวเพื่อประชุมหารือของพี่เลี้ยงในครั้งนี้ มีการนำความก้าวหน้าของการเก็บข้อมูลมาคุยกัน และ เลือกพื้นที่ต้นแบบเพื่อถอดบทเรียน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ทบทวนความก้าวหน้าการเก็บข้อมูล

2.การวางแแผนนัดวันจัดอบรมพี่เลี้ยง และ การอบรม อสอช.

3.การหารือเรื่องพื้นที่ต้นแบบ

 

10 0

16. ค่าตอบแทนประจำเดือนมิถุนายน2563

วันที่ 26 มิถุนายน 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ค่าตอบแทนประจำเดือนมิถุนายน2563

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ค่าตอบแทนประจำเดือนมิถุนายน2563

 

2 0

17. จัดเวทีอบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช. จังหวัดสตูล(ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง)

วันที่ 30 มิถุนายน 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช.เป็นรายจังหวัด
กิจกรรมอบรม อสอช. จัดเป็นรายจังหวัด7จังหวัด โดยเนื้อหาหลักสูตร 1½ วัน ในครึ่งวันแรกกลุ่มเป้าหมาย คือ คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด พี่เลี้ยงระดับตำบล (เจ้าหน้าที่กองทุน) เพื่อมาทำความเข้าใจเนื้อหาหลักสูตร และการเตรียมความพร้อมในการเป็น Fa ให้กับแกนนำ อสอช ที่เข้าอบรมในวันที่สอง โดยเนื้อหาการอบรมเพื่อให้ อสอช.ที่เข้าอบรมสามารถดึงข้อมูลที่มีการสำรวจกลุ่มอาชีพและบันทึกในเว้ป iw.in.th นำมาวิเคราะห์ JSA และการออกแบบกระบวนการในการทำงานเพื่อลดความเสี่ยง ใน3ขึ้นตอน คือ 1) ปรับกระบวนการ/วิธีการทำงาน 2) ปรับสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน 3) ปรับพฤติกรรมคนทำงาน
ตัวแทนตำบลที่เข้าร่วมอย่างน้อย5ตำบลนำร่องที่เลือกโดยคณะทำงานพี่เลี้ยงในระดับจังหวัด จึงมีจังหวัดที่จัดอบรมในช่วงเดือนกรกฎาคม ดังนี้

1.กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช.จังหวัดสตูล
1.1.กิจกรรมเตรียมความพร้อมการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัยจังหวัดสตูล วันที่ 30 มิย 63 ณ.ศูนย์ประสานงานสมาคมผู้บริโภคจังหวัดสตูล
1.2.กิจกรรมอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย จังหวัดสตูล วันที่ 1กค.63 ณ ห้องประชุมอบต.ปากน้ำ อ.ละงู  จ.สตูล
วัตถุประสงค์
1.เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด /พี่เลี้ยงระดับตำบลในการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสอช.ในการวิเคราะห์ข้อมูลในเว้ปไซต์แรงงาน iw.in.th /การวิเคราะห์JSA /และการออกแบบกิจกรรมลดความเสี่ยงในการทำงาน จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 48 คน ประกอบด้วย -คณะทำงานระดับเขต จำนวน 5 คน   -คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด จำนวน 12 คน -ตัวแทนแกนนำ อสอช.จำนวน 31 คน สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ) พื้นที่จังหวัดสตูลใน 5ตำบลนำร่อง ประกอบด้วย ตำบลนาทอน,ตำบลกำแพง,ตำบลละงู,ตำบลปากน้ำและตำบลบ้านควน ซึ่งตัวแทนแกนนำอสอช.และคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด พี่เลี้ยงระดับตำบล ได้ร่วมวิเคราะห์ JSA และออกแบบกิจกรรมลดความเสี่ยงจากการทำงาน ดังนี้

1.ตำบลนาทอน กลุ่มอาชีพจักสานจากต้นคลุ้ม มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 15 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : เสี่ยงในด้านกายภาพ ที่เกิดจากท่าทางในการทำงาน เช่น การนั่งเป็นเวลานาน นั่งราบกับพื้น และก้มๆเงยๆ /ความเสี่ยงในเรื่องอุบัติเหตุ เช่น การลื่นล้มในการจัดหาวัตถุดิบ มีดบาดนิ้วมือในช่วงที่เลาหรือการทำซี่ -ผลกระทบต่อสุขภาพ : เช่น ปวดหลัง ปวดเอว ปวดแขน บ่าไหล่ และสายตาพร่ามัว
-การออกแบบกิจกรรมลดตวามเสี่ยง : มีการออกแบบ 2 วิธี 1) จัดสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน เช่น การใช้โต๊ะ เก้าอี้ เพื่อลดไม่ให้นั่งราบกับพื้น 2) การปรับพฤติกรรม เช่น ท่านั่งในการทำงาน จัดอบรมให้ความรู้กลุ่มในการจัดท่านั่งอย่างถูกวิธี การออกกำลังกาย การหยุดพักยืดเหยียดกล้ามเนื่อ เช่น การบิดแขน บิดหลัง และบิดเอว เป็นระยะ เพื่อลดการนั่งทำงานในท่าเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน

2.ตำบลปากน้ำ กลุ่มอาชีพจักสานจากก้านจาก มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 10 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : เสี่ยงในด้านกายภาพ เช่น ฝุ่นละอองจากก้านจาก ท่าทางในการนั่งทำงาน /ความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมี เช่น ทินเนอร์ น้ำมันสน เลคเกอร์
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : เช่น ปวดหลัง บ่า ไหล่ และอาการนิ้วล็อก อาการมึนเวียนศรีษะ ปวดหัว และแสบจมูก -การออกแบบกิจกรรมลดตวามเสี่ยง: มีการออกแบบ 3 วิธี 1) การปรับกระบวนการในการทำงาน เช่น การใช้เครื่องจักรในขั้นตอนการเลาซี่  2) จัดสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การทำงานอยู่ในที่โล่ง อากาศท่ายเท เพื่อลดฝุ่นละออง 3) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การกำหนดเวลา การจัดทำข้อตกลงของกลุ่ม การบริหารร่างกาย

3.ตำบลกำแพง กลุ่มอาชีพก่อสร้าง มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 19 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ทำงานกลางแดด ฝุ่นละออง เสียงดีงของเครื่องยนต์ / ด้านอุบัติเหตุ เช่น ตกจากที่สูง ของมีคมบาด เช่น ตะปู เหล็ก / ด้านเคมี เช่น สีทาบ้าน
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : เช่น เป็นหวัด ภูมิแพ้ อาการหน้ามือ เป็นลม และปวดหลัง บ่า ไหล่ เข่า -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ2วิธี 1) การปรับสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน เช่น การใช้มาตรการ5ส. 2) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การใช้แมสป้องกันฝุ่น การยกของ หิ้วของ ใช้ท่าลุกนั่งที่ถูกวิธี
4.ตำบลละงู กลุ่มอาชีพประมง กลุ่มอาชีพก่อสร้าง มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 15 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ทำงานกลางแดด เสียงดังของเครื่องยนต์ ยกของหนัก(ลากอวนปลา) การผักผ่อนไม่เพียงพอ
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : เช่น ปวดหัว ปวดเอว ปวดบ่า ไหล่
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) กระบวนการในการทำงาน เช่น หลับให้เพียงพอก่อนออกเรือ การให้ความรู้นอนอย่างไรให้มีคุณภาพ การใช้ภาษามือในการสื่อสารขณะขับเรือ 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การปรับเรื่องที่นอน (เบาะ) การทำหลังคาเรือเพื่อลดแสงแดด 3) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การสวมหมวก หรือจัดหาอุปกรณ์ในการป้องกันแดด การหาอุปกรณ์ในการปิดหูขณะวิ่งเรือ 5.ตำบลบ้านควน กลุ่มอาชีพสวนยางพารา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 40 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ท่าทางในการทำงาน การกรียดยาง หน้ายางต่ำ หน้ายางสูง /ด้านอุบัติเหตุ เช่น สัตว์มีพิษ มีดกรีดยาง -ผลกระทบต่อสุขภาพ : เช่น ปวดหลัง เอว บ่า ไหล่ เข่า ศรีษะ การบาดเจ็บจากสัตว์มีพิษกัด ต่อย -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) กระบวนการในการทำงาน เช่น การหลับให้เพียงพอ (หลับแต่หัวค่ำ) ก่อนไปกรีดยาง การสวมใส่ถุงมือ รองเท้าบูธ ป้องกันสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ การใช้ถังไบเล็กเก็บน้ำยาง และถังใบใหญ่วางระหว่างแถว เพื่อถ่ายเทน้ำยาง 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น พื้นที่สวนยางไม่ปล่อยให้รก ให้พื้นที่โล่งเตียน และพื้นที่สวนใกล้เคียง 3) มีความระมัดระวัง ไม่ประมาท การผักผ่อนให้เพียงพอ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.การทบวนเรื่องข้อมูลและคีย์ข้อมูลลงระบบ

2.การอบรมพี่เลี้ยงเพื่อCocthing team

3.การประเมินพี่เลี้ยงจังหวัด

 

50 0

18. ประชุมพี่เลี้ยงจังหวัดนราธิวาส

วันที่ 30 มิถุนายน 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประชุมทีมงานพี่เลี้ยงจังหวัดนราธิวาส

1.ทบทวนความก้าวหน้าของการเก็บข้อมูล หลายพื้นเก็บข้อมูลอาชีพและลงในเว็ปไซต์แล้ว บางพื้นที่ยังไม่ลงเพราะ ยังขาดความเข้าใจ บางประเด็น

2.จังหวัดนราธิวาส มีแผนการจัดกิจกรรมในวันที่21-22 กรกฎาคม 2563 มีกองทุนที่เข้าร่วมอบรมดังนี้
1.องค์การบริหารส่วนตำบลผดุงมาตร อำเภอจะแนะ

2.องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง

3.องค์การบริหารส่วนตำบลสุไหงปาดี อำเภอแว้ง

4.เทศบาลตำบลแว้ง อำเภอแว้ง

5.องค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซา อำเภอยี่งอ
เพือนำอสอช เข้าสู่กระบวนการอบรม อสอช ร่วมกับเขต 12 ซึ่งถือเป็นการติดอาวุธให้เหล่าพี่เลี้ยงและ อสอช.ได้ลงไปช่วยเหลือพี่น้องกลุ่มอาชีพในท้องถิ่นชุมชนของตนเอง
ซึ่งกิจกรรมการรวมตัวเพื่อประชุมหารือของพี่เลี้ยงในครั้งนี้ มีการนำความก้าวหน้าของการเก็บข้อมูลมาคุยกัน และ เลือกพื้นที่ต้นแบบเพื่อถอดบทเรียน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมทีมงานพี่เลี้ยงจังหวัดนราธิวาส

1.ทวบทวนความก้าวหน้าของการเก็บข้อมูล

2.การหารือนัดวัดจัดอบรมพี่เลี้ยง และ อบรม อสอช.

3.การหารือเรื่องพื้นที่ต้นแบบ

 

7 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 84 0                    
การใช้จ่ายงบประมาณ 1,000,000.00 0.00                    
คุณภาพกิจกรรม 0                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี นางสาวยุรี แก้วชูช่วง และว่าที่ร้อยตรีคณิชา แซนโทส
ผู้รับผิดชอบโครงการ