กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการส่งเสริมและป้องกันการเกิดโรคติดต่อทางอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย เทศบาลตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จ.ปัตตานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมและป้องกันการเกิดโรคติดต่อทางอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย เทศบาลตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จ.ปัตตานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
รหัสโครงการ 60L30540203
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลเตราะบอน
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 เมษายน 2560 - 28 เมษายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 78,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนูรีย๊ะมะลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.688,101.543place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย เป็นแนวปฏิบัติของมุสลิมเพื่อการรักษาความสะอาดรวมทั้งช่วยป้องกันและลดปัญหาการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส โรคมะเร็ง โรคมะเร็งปากมดลูกของฝ่ายหญิงลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV หรือโรคเอดส์ได้กว่าร้อยละ๕๐-๖๐
นพ.อนุพงศ์ ชิตวรากร นายแพทย์ทรงคุณวุฒิด้านเวชกรรมป้องกัน กรมควบคุมโรค กล่าวในงานสัมมนาระดับชาติเรื่องโรคเอดส์ครั้งที่๑๒ ระหว่างที่ ๒๗-๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ที่จัดขึ้น ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี เปิดเผยถึงผลการวิจัยที่ทำร่วมกับสหรัฐอเมริกาพบการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายสามารถลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV ได้ร้อยละ ๕๐-๖๐ เนื่องจากผิวหนังบริเวณนี้ จะมีต่อมซึ่งจะสร้างสารที่เรียกว่า smegma หรือขี้เปียก หากมีหนังหุ้มไม่สามารถเปิดออกล้างได้ จะทำให้สารดังกล่าวคั่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดกลิ่น การติดเชื้อ รวมเกิดมะเร็งที่องคชาติได้ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ผู้ขลิบจะลดโอกาสเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส แผลริมอ่อน และลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาติและถ้าหากขลิบในเด็กทารกก็จะลดโอกาสเกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะในเด็กได้ด้วย ผู้หญิงที่เป็นคู่ของผู้ชายที่ขลิบจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพสสัมพันธ์และลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกด้วย โดยสรุปแล้วการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรื“คีตาลในภาษาอาหรับ”หรือ“ทำสุนัตที่ใช้ในภาษามลายู”มีประโยชน์หลายอย่างเช่นลดอัตราการเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (URINARY TRACE INFECTION) ในเด็กเล็กลดอัตราการเกิดมะเร็งองคชาติลดอัตราการเกิดมะเร็ง ๑ ต่อ ๑๐๐,๐๐๐ ลดอัตราการติดเชื้อทางระบบสืบพันธุ์ (SEXUAL TRANSMITTED DISEASE) บางชนิด เนื่องจากลดผิวหนังด้านในที่จะ รับเชื้อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับหนังหุ้มปลายเชิงภาวะพาราไพโมซิสป้องกันภาวะหนังหุ้มปลายตีบตัน ง่ายต่อการทำความสะอาดอวัยวะเพศลดอัตราการเป็นมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง การขลิบช่วยลดอัตราการติดเชื้อ HPV ซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดมะเร็งปากมดลูกในเพศหญิง เด็กและเยาวชนมุสลิมภาคใต้ มักจะทำสุนัตกับหมอบ้าน หรือโต๊ะมูเด็ง เป็นเพราะความเชื่อและประเพณีของชุมชน โดยผู้ปกครองเด็กเชื่อว่า “การทำกับแพทย์จะทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งแรง”การทำกับ โต๊ะมูเด็งเป็นประเพณีที่คนเฒ่าคนแก่เคยทำกัน”เป็นต้นซึ่งที่ผ่านมาพบว่าการทำสุนัตกับโต๊ะมูเด็งมักมีเหตุการณ์เลือดออกมา(bleeding) ทำให้เกิดภาวะช็อค หรือการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อตับอักเสบ เชื้อHIVจากการใช้เครื่องมือร่วมกันโดยไม่ได้ล้างทำความสะอาดอย่างถูกวิธี
ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยบรรลุตามวัตถุประสงค์จึงอาศัยอำนาจตามประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจัดบริการสาธารณสุขของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2557ตามเอกสารแนบท้ายประกาศ ข้อ 7.1.2 การป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่อง สารเสพติด โรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในชุมชน และตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และแก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2552 มาตรา 50 (4) ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเทศบาลตำบลมีหน้าที่ป้องกันและระงับโรคติดต่อ และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๑๖ ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง (๑๙) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล เทศบาลตำบลเตราะบอน ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการทำสุนัตโดยทีมแพทย์พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อความสะอาด ถูกหลักอนามัยของผู้เข้าทำสุนัตจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมและป้องกันการเกิดโรคติดต่อทางอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย เทศบาลตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคโดยเฉพาะ โรคติดเชื้อ

 

2 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้สามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริม และป้องกันโรค

 

3 บริการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชนมุสลิม โดยแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะเลือดออกมาก (bleed)

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชาสัมพันธ์และรับสมัครเด็กเข้าร่วมโครงการ
  2. จัดทำโครงการเสนอเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาล ตำบลเตราะบอน
  3. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ
  4. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ (การป้องกันโรคติดต่อ) แก่เด็กและประชาชนกลุ่ม เป้าหมายรวมทั้งผู้ปกครองเพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรค
  5. จัดกิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision)
  6. สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กและเยาวชนมุสลิมได้รับการทำสุนัต (ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย) จากแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่มีความชำนาญสามารถลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด(bleeding) ภาวะแทรกซ้อน (การอักเสบ รุนแรง) และการติดเชื้อ รวมทั้งผู้ปกครองมีความตระหนักและมีความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและสามารถป้องกันโรคติดเชื้อทางอวัยวะเพศและเพศสัมพันธ์ได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2560 14:01 น.