กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด
วันที่อนุมัติ 26 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 113,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวิภาดา เต็มยอด กรรมการและเลขานุการกองทุน
พี่เลี้ยงโครงการ นางกชกานต์ คงชู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 18 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)
2.00
2 จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่สามารถรับงบประมาณ (กลุ่ม/หน่วยงาน)
1.00
3 จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 ข้อ 6 กำหนดให้องค์กรปกครองส่่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยให้มีกองทุนหลักประกันสุขภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานอื้น องค์กรหรือกลุ่มประชาชน เพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ ในประเด็นต่าง ๆ คือ (1) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข (2) เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมสร้างเสริมสขภาพและการป้องกันโรคขององค์กรหรือกลุ่มประชาชนและหน่วยงานอื้น (3) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของศูนย์พัฒนาเด็กเล้ก หรือศูนย์ที่ดำเนินการกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือศูนย์ที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน หรือการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุหรือคนพิการในชุมชน (4) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการกองทุน (5) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุข และนอกเหนือจากการพิจารณาอนุมัติโครงการแล้ว คณะกรรมการกองทุน ยังมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาอนุมัติแผนการเงินประจำปี การออกระเบียบที่จำเป็นเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารกองทุน สนับสนุนให้บุคคลในท้องถิ่นสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขทั้งในที่บ้าน ในใชุมชน หรือหน่วยบริการให้คำแนะนำในการจัดทำข้อมูลและโครงการหรือกิจกรรมที่เกียวกับงานสาธารณสุขของกลุ่มเป้าหมาย แก่หน่วยงาน องค์กรหรือกลุ่มประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนพิจารณาให้ความเห็นชอบรายงานผลการดำเนินงาน รายงานการรับเงิน การจ่ายเงิน และเงินคงเหลือกองทุน และการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงานอื้น ๆ ตามความเหมาะสม
จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว คณะกรรมการกองทุน และการดำเนินงานของสำนักงานเลขานุการกองทุนจึงเป็นกลไกสำคัญในความสำเร็จของการดำเนินงานของกองทุน การพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการ ให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ มีความเข้าใจในระเบียบของกองทุน จะสามารถทำให้การดำเนินงานของกองทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การพิจารณาอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มีความถูกต้อง ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์และได้รับการดูแลด้านสุขภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องจัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด ประจำปี 2563 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ จำนวน 20 คน

2.00 20.00
2 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล

จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ อย่างน้อย 5 หน่วยงาน

1.00 5.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่รายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ

จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ ร้อยละ 80 ของโครงการ

1.00 80.00
4 เพื่อให้คณะอนุกรรมการคณะต่าง ๆ ได้มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานของกองทุน

คณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ร้อยละ 90 มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้ง

2.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 33 26,500.00 3 6,300.00
4 ก.พ. 63 ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 10 22,000.00 2,275.00
19 มิ.ย. 63 ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 12 2,250.00 2,025.00
3 ส.ค. 63 ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 11 2,250.00 2,000.00
2 กิจกรรมการประชุมคณะกรรมการกองทุน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 18 4,225.00 1 4,225.00
30 ก.ย. 63 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการกองทุน 18 4,225.00 4,225.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 80 56,590.00 3 26,850.00
??/??/???? การบริหารจัดการกองทุน 0 11,500.00 -
??/??/???? ประชุมคณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ 0 7,750.00 -
6 - 17 มี.ค. 63 จัดซื้อวัสดุสำนักงาน 0 1,040.00 1,040.00
1 ก.ย. 63 อบรมเพ่ิมศักยภาพคณะกรรมการกองทุน/คณะอนุกรรมการ 40 20,400.00 25,810.00
1 ก.ย. 63 กิจกรรมจัดทำแผนสุขภาพชุมชนกองทุนตำบล 40 15,900.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

คณะกรรมการได้รับการพัฒนาศักยภาพ ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินงานกองทุน สามารถดำเนินงานกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โครงการต่าง ๆ ดำเนินการถูกต้อง สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุน
หน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ตำบลนาโหนด ได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการในเรื่องของสุขภาพไม่น้อยกว่า 5 หน่วยงาน
สามารถติดตาม และรายงานผลการดำเนินการตามโครงการได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติงบประมาณทั้งหมด คณะอนุกรรมการ มีความเข้าใจในบทบาทและอำนาจหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้ง ทำให้การดำเนินงานกองทุนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2562 00:00 น.