กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกกรณีระบาด ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L2506-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ SRRT ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 ตุลาคม 2562 - 29 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมัซตูรา ฮะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.129316,101.775095place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อมาสู่คน โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอย ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย ซึม อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และตับโตร่วมด้วย ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงกับมีเลือดออกในอวัยวะต่างๆในร่างกาย ทำให้ช็อก และเสียชีวิตได้ ซึ่งโรคนี้สามารถเป็นได้ในทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 2 – 10 ปี โดยพบว่ามีการระบาดได้เกือบตลอดทั้งปี แต่มักจะมีการระบาดรุนแรงในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน - สิงหาคม ของทุกปี จากการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยไข้เลือดออก อำเภอระแงะ ปี พ.ศ.๒๕๖๒ เทียบกับมัธยฐานย้อนหลัง ๕ ปี (พ.ศ.๒๕๕๗-๒๕๖๑) พบว่าอำเภอระแงะมีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ในเดือนพฤษภาคม จำนวน ๑๐ ราย เดือนมิถุนายน จำนวน ๓๒ ราย และเดือนกรกฎาคม จำนวน ๔๕ ราย และเดือนสิงหาคม ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๒ จำนวน ๔๔ ราย เมื่อแยกรายตำบล พื้นที่ระบาดไข้เลือดออก ในช่วงสัปดาห์ที่ ๓๐-๓๓ ปี พ.ศ.๒๕๖๒ วันที่ ๒๘ กรกฎาคม –วันที่ ๒๔ สิงหาคม ) พบผู้ป่วยในพื้นที่ ตำบลบองอ จำนวน ๓ หมู่บ้าน จึงถือได้ว่าตำบลบองอเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออก จึงต้องมีการเตรียมการเฝ้าระวังและควบคุมโรคอย่างเข้มข้น โดยใช้มาตรการที่หลากหลาย ได้แก่การกำจัดพาหะนำโรค ปรับปรุงสภาพแวดล้อม และป้องกันไม่ให้ยุงกัด ซึ่งการควบคุมโรคนั้นจำเป็นจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง และอาศัยการมีส่วนร่วมจากหลายฝ่ายทั้งภาครัฐ และเอกชนจึงจะควบคุมโรคได้       ดังนั้นกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบองอ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะดำเนินโครงการโครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกกรณีระบาด ปีงบประมาณ ๒๕๖๒ขึ้นโดยหวังว่าโครงการนี้จะช่วยลดการระบาดของโรคไข้เลือดออก และส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ และเอกชน ซึ่งจะนำมาสู่การแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ลดอัตราป่วยและไม่มีผู้ป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง ระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก 2.สนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์น้ำมันเชื้อเพลิง ให้พร้อมใช้ เพียงพอ ทันเวลาภายหลังได้รับแจ้ง โดยการกำจัดยุงพาหะนำโรคอ่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

1.การควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออกมีความจริงจัง และต่อเนื่องมากขึ้น 2. มีการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนมากขึ้น 3. กระตุ้นให้ชุมชนเห็นความสำคัญในการควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออกร่วมกัน 4. เกิดมาตรการระดับหมู่บ้านในการควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 117,550.00 0 0.00
4 พ.ย. 62 กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน 0 8,250.00 -
4 พ.ย. 62 กิจกรรมจัดหาวัสดุอุปกรณ์ เพื่อควบคุมโรค 0 57,700.00 -
4 พ.ย. 62 กิจกรรมพ่นเคมีทำลายยุงพาหะนำโรคเพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน 0 38,000.00 -
4 พ.ย. 62 กิจกรรมอบรมฟื้นฟูความรู้คณะทำงานเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วตำบลบองอ 0 13,600.00 -

๑. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ภาคีเครือข่ายในพื้นที่รับทราบการดำเนินโครงการ ๒. ร่วมกันสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชนโดยแกนนำนักเรียน อสม. และประชาชน ๓.รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจ สร้างความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ๔. ควบคุมการระบาดโดยกำจัดยุงพาหะ ด้วยวิธีพ่นหมอกควัน ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายและทุกครั้งเมื่อมีการรายงานผู้ป่วย ๕. รวบรวมข้อมูลสรุปและประเมินผลหลังเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.การควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออกมีความจริงจัง และต่อเนื่องมากขึ้น 2. มีการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนมากขึ้น 3. กระตุ้นให้ชุมชนเห็นความสำคัญในการควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออกร่วมกัน 4. เกิดมาตรการระดับหมู่บ้านในการควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2562 00:00 น.